Page 115 - ทักษะการเรียนรู้ ระดับประถมศึกษา
P. 115

105



                  คือ ศักยภาพของธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ ศักยภาพของศิลปวัฒนธรรม ประเพณี องค์ความรู้ ภูมิปัญญา
                  และวิถีชีวิตของแต่ละพื้นที่ และศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่



                  เรื่องที่ 2  การวิเคราะห์ศักยภาพหลักของพื้นที่ในการพัฒนาอาชีพ

                         1. ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ หมายถึง  สิ่งต่าง ๆ(สิ่งแวดล้อม) ที่เกิดขึ้นเอง
                  ตามธรรมชาติและมนุษย์ สามารถน ามาใช้ประโยชน์ได้ เช่น บรรยากาศ ดิน น ้า ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า

                  แร่ธาตุ พลังงาน และก าลังแรงงานมนุษย์ เป็ นต้น ดังนั้น การแยกแยะเพื่อน าเอาศักยภาพของ

                  ทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละพื้นที่เพื่อน ามาใช้ประโยชน์ในด้านการประกอบอาชีพต้องพิจารณาว่า

                  ทรัพยากรทางธรรมชาติที่จะต้องน ามาใช้ในการประกอบอาชีพในพื้นที่มีหรือไม่มีเพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่มี
                  ผู้ประกอบการต้องพิจารณาใหม่ว่าจะกอบอาชีพที่ตัดสินใจเลือกไว้หรือไม่ เช่น การผลิตน ้าแร่ธรรมชาติ

                  แต่ในพื้นที่ไม่มีตาน ้าไหลผ่านและไม่สามารถขุดน ้าบาดาลได้ ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาว่ายังจะ

                  ประกอบอาชีพนี้อีกหรือไม่ และถ้าต้องการประกอบอาชีพนี้จริง ๆ เนื่องจากตลาดมีความต้องการมา
                  ก็ต้องพิจารณาว่าการลุงทุนหาแร่ธาตุที่จะมาใช้ในการผลิตคุ้มหรือไม่

                         2. ศักยภาพของพื้นที่ตามหลักภูมิอากาศ หมายถึง ลักษณะของลมฟ้ าอากาศที่มีอยู่ประจ าท้องถิ่นใด

                  ท้องถิ่นหนึ่งโดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิประจ าเดือนและปริมาณน ้าฝนในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ
                  ของปี เช่น ภาคเหนือของประเทศไทยมีอากาศหนาวเย็น หรือเป็นแบบสะวันนา (Aw) คือ อากาศร้อนชื้น

                  สลับกับฤดูแล้งเกษตรกรรม กิจกรรมที่ท ารายได้ต่อประชากรในภาคเหนือ ได้แก่ การท าสวน  ท าไร่

                  ท านา และเลี้ยงสัตว์ ภาคใต้เป็นภาคที่มีฝนตกตลอดทั้งปี ท าให้เหมาะแก่การปลูกพืชเมืองร้อนที่ต้องการ
                  ความชุ่มชื้นสูง เช่น ยางพารา ปาล์มน ้ามัน เป็นต้น ดังนั้น การประกอบอาชีพอะไรก็ตามจ าเป็นพิจารณา

                  สภาพภูมิอากาศด้วย

                         3. ศักยภาพของภูมิประเทศและท าเลที่ตั้งของแต่ละพื้นที่ หมายถึง ลักษณะของพื้นที่และท าเล

                  ที่ตั้งในแต่ละจังหวัด ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น เป็นภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบลุ่ม ที่ราบชายฝั่ง สิ่งที่เราต้อง
                  ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศ เช่น ความกว้าง ความยาว ความลาดชัน และความสูงของพื้นที่ เป็นต้น

                  ซึ่งในการประกอบอาชีพใด ๆ ก็ตามไม่ว่าจะเป็นการผลิต การจ าหน่าย หรือการให้บริการก็ตาม

                  จ าเป็นต้องพิจารณาถึงท าเลที่ตั้งที่เหมาะสม

                         4. ศักยภาพของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของแต่ละพื้นที่ จากการที่ประเทศไทย
                  มีสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศและทรัพยากรธรรมชาติที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละภาค จึงมีความ

                  แตกต่างกันในการด ารงชีวิตของประชากรทั้งด้านวัฒนธรรม ประเพณีและการประกอบอาชีพ ระบบการ

                  เกษตรกรรม สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม (agrarian society) กล่าวคือ ประชากรร้อยละ 80 ประกอบ
                  อาชีพเกษตรกรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า คนไทยส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตผูกพันกับระบบการเกษตรกรรม
   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120