Page 99 - ทักษะการเรียนรู้ ระดับประถมศึกษา
P. 99

89


                                เมื่อผู้เรียนได้ร่วมท ากิจกรรม ความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษาผู้ใหญ่ ครบทั้ง 5 กิจกรรมแล้ว

                  ครูน ากระดาษปรู๊ฟที่สรุปกรณีตัวอย่างทั้ง 5 แผ่นติดผนังไว้ เชิญทุกคนเข้าร่วมประชุมกลุ่มใหญ่แล้วให้
                  ผู้เรียนบางคนอาสาสมัครสรุปความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษาผู้ใหญ่ให้เพื่อนฟัง จากนั้นครูสรุปสุดท้าย


                  ด้วยบทสรุป ตัวอย่างดังนี้
                                ความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษาผู้ใหญ่ เชื่อว่าคนทุกคนมีพื้นฐานที่แตกต่างกัน
                  ความต้องการก็ไม่เหมือนกันแต่ทุกคนก็มีจุดมุ่งหมายปลายทางของตนที่จะก้าวไปสู่ความส าเร็จ ซึ่งถ้า

                  บรรลุถึงสิ่งนั้นได้เขาก็จะมีความสุข ดังนั้น ความสุขเหล่านี้จึงเป็นเรื่องต่างจิตต่างใจที่ก าหนดตามสภาวะ

                  ของตน อย่างไรก็ตามการจะมีความสุขอยู่ได้ในสังคม จ าเป็นต้องปรับตัวเอง และสังคมให้ผสมกลมกลืน

                  กันจนเกิดความพอดีแก่เอกัตภาพ และบางครั้งหากเป็นการตัดสินใจที่ได้กระท าดีที่สุดตามก าลังของ
                  ตัวเองแล้ว ก็จะมีความพอใจกับการตัดสินใจนั้น อีกประการหนึ่งในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง

                  รวดเร็วนี้ การที่จะปรับตัวเองและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความพอดีนั้น จ าเป็นต้องรู้จักการคิด การแก้ปัญหา

                  การเรียนการสอนที่จะให้คนรู้จักแก้ปัญหาได้นั้น การสอนโดยการบอกอย่างเดียวคงไม่ได้ประโยชน์มาก

                  นัก การสอนให้รู้จักคิด รู้จักวิเคราะห์จึงเป็นวิธีที่ควรน ามาใช้ กระบวนการคิด การแก้ปัญหามีหลากหลาย
                  วิธีแตกต่างกันไป แต่กระบวนการคิด การแก้ปัญหาที่ต้องใช้ข้อมูลประกอบการคิด การวิเคราะห์อย่าง

                  น้อย 3 ประการ คือข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเอง และข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม

                  ซึ่งเมื่อน าผลการคิดนี้ไปปฏิบัติแล้วพอใจมีความสุข ก็จะเรียกการคิดเช่นนั้นว่า คิดเป็น

                  บทสรุป เรื่องความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษาผู้ใหญ่

                         เราได้เรียนรู้ถึงความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษาผู้ใหญ่ โดยการท ากิจกรรมร่วมกันทั้ง 5 กิจกรรม

                  แล้วดังบทสรุปที่ได้ร่วมกันเสนอไว้แล้ว ความเชื่อพื้นฐานที่สรุปไว้นี้คือ ความเชื่อพื้นฐานที่เป็นความจริง
                  ในชีวิตของคนที่ กศน. น ามาเป็นหลักให้คนท างาน กศน. ตลอดจนผู้เรียนได้ตระหนักและเข้าใจแล้ว

                  น าไปใช้ในการด ารงชีวิตเพื่อการคิด การแก้ปัญหา การท างานร่วมกับคนอื่น การบริหารจัดการในฐานะ

                  เป็นนายเป็นผู้น าหรือผู้ตาม ในฐานะผู้สอน ผู้เรียนในฐานะเป็นสมาชิกในครอบครัว สมาชิกในชุมชน

                  และสังคม เพื่อให้รู้จักตัวเอง รู้จักผู้อื่น รู้จักสภาวะสิ่งแวดล้อม การคิดการตัดสินใจต่าง ๆ ที่ค านึงถึง
                  ข้อมูลที่เพียงพออย่างน้อยประกอบด้วยข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและ

                  ข้อมูลเกี่ยวกับสังคม สิ่งแวดล้อม ด้วยความใจกว้าง มีอิสระ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นไม่เอาแต่ใจ

                  ตนเอง จะได้มีสติ รอบคอบ ละเอียดถี่ถ้วน ไม่ผิดพลาดจนเกินไป เราถือว่าความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษา
                  ผู้ใหญ่ ดังกล่าวนี้ คือ พื้นฐานเบื้องต้นของการน าไปสู่การคิดเป็น หรือเรียกตามภาษานักวิชาการว่า

                  ปฐมบทของกระบวนการคิดเป็น
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104