Page 193 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 193
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๑๖๕
ให้ถ่ายส าเนาค าฟ้อง ค าให้การ ใบแต่งทนายโจทก์และทนายจ าเลย บัญชีพยานโจทก์
ฉบับลงวันที่.... สัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.๓ (ระบุเอกสารต่าง ๆ ที่ต้องใช้ประกอบการ
สืบพยานประเด็น) และรายงานกระบวนพิจารณาฉบับนี้ จ านวน ๓ ชุด แยกส่งไปสืบพยาน
ประเด็นโจทก์แต่ละศาล โดยคู่ความขอให้นัดสืบพยานประเด็นโจทก์ที่ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีใน
วันที่.... ที่ศาลจังหวัดเลยในวันที่....และที่ศาลจังหวัดหนองคายในวันที่...หากแต่ละศาลนัดให้
ไม่ได้ และนัดใหม่วันเวลาใด ขอให้แจ้งศาลนี้ทราบ เพื่อแจ้งให้คู่ความทราบต่อไป เสร็จแล้ว
ขอให้ส่งประเด็นคืน โดยนัดฟังประเด็นกลับให้ด้วย และหากพยานย้ายที่อยู่ ก็ขอให้ส่งประเด็น
ต่อไป
ส าหรับการสืบพยานที่ศาลนี้ ให้นัดสืบพยานโจทก์ ..... นัด และนัดสืบพยานจ าเลย....นัด
......................................................................................................................................................
...........................................”
๓. ศาลที่รับประเด็น
ศาลที่รับประเด็นควรให้ความส าคัญในคดีประเด็นเช่นเดียวกับคดีในศาลของตน
และควรสืบพยานให้เสร็จสิ้นและส่งประเด็นคืนให้ทันก าหนดนัดสืบพยานที่ศาลเดิม
เมื่อศาลอื่นส่งประเด็นมาขอให้สืบพยานให้ โดยก าหนดวันมาด้วย สั่งในหนังสือน าส่ง
ว่า “นัดให้ตามขอ” หรือ “ลงนัดไว้”หากไม่ว่างตามวันเวลาที่ขอหรือไม่ได้ก าหนดวันนัดมาด้วย
สั่งว่า “นัดให้ แจ้งศาลเดิม”
ศาลรับประเด็นต้องดูรายงานกระบวนพิจารณาฉบับส่งประเด็นของศาลเจ้าของส านวน
ให้ดีว่า ถึงวันนัดแล้วกรณีใดสืบพยานไปได้กรณีใดสืบพยานไปไม่ได้ เช่น คู่ความฝ่ายหนึ่งไม่มาศาล
จะสืบพยานไปได้หรือต้องเลื่อนคดีไป
การเลื่อนคดีควรแจ้งศาลเจ้าของส านวน พร้อมทั้งเหตุผลที่เลื่อนทุกครั้งแม้คู่ความจะมาศาล
การขอเลื่อนคดีโดยยื่นค าร้องที่ศาลเจ้าของส านวน ศาลเจ้าของส านวนสั่งค าร้องว่า
“รีบโทรสาร ค าร้องจะส่งตามไป” ไม่ควรสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เลื่อน ควรเป็นหน้าที่
ของศาลรับประเด็นเป็นผู้สั่ง
ศาลรับประเด็นได้รับโทรสารแล้ว สั่งในโทรสารว่า “สั่งในรายงานกระบวนพิจารณา”
แล้วจดรายงานกระบวนพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี หรือถ้าสั่งเลื่อนไปแล้ว
ก่อนได้รับโทรสารก็สั่งว่า “ศาลสั่งเลื่อนคดีแล้ว” เมื่อค าร้องส่งตามมา สั่งว่า “รวม” เว้นแต่
ศาลจะเห็นเป็นอย่างอื่น