Page 194 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 194

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๑๖๖


                         กรณีที่โจทก์ขอถอนฟ้อง  เมื่อรับค าร้องและจดรายงานกระบวนพิจารณาแล้วรีบส่ง

                  ส านวนคืนศาลเจ้าของส านวนเพื่อสั่ง  หรือโจทก์จ าเลยตกลงประนีประนอมยอมความกัน

                   ให้บันทึกข้อตกลงของโจทก์จ าเลยโดยละเอียดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา  หรือถ้ามีสัญญา

                  ประนีประนอมยอมความด้วยให้คู่ความลงชื่อไว้ต่อหน้าศาล  แล้วส่งส านวนคืนศาลเจ้าของส านวน

                  เพื่อด าเนินการต่อไป

                         การส่งประเด็นคืน จดรายงานกระบวนพิจารณาว่า

                         “นัดสืบพยานประเด็นโจทก์ (หรือจ าเลย) ทนายโจทก์ ทนายจ าเลยมาศาล

                         สืบพยานประเด็นโจทก์(หรือจ าเลย)ได้ ๓ ปาก (ถ้าไม่ติดใจสืบพยานทั้งหมดหรือบางส่วน

                  ต่อไป  ให้บันทึกไว้ด้วย ) แล้วทนายโจทก์ (หรือทนายจ าเลย)  แถลงขอให้ส่งประเด็นคืน

                         คู่ความขอให้นัดฟังประเด็นกลับวันที่ . . . .

                         ให้รวบรวมถ้อยค าส านวนส่งคืนศาลเดิม”


                                   ข้อสังเกต

                                   ๑. ศาลที่รับประเด็นมีอ านาจออกหมายเรียกพยานบุคคล และค าสั่งเรียกพยาน

                  เอกสาร

                                   ๒. ศาลที่รับประเด็นมีอ านาจรับและสั่งใบแต่งทนายความได้

                                   ๓. ศาลที่รับประเด็นจะรับและอนุญาตให้คู่ความระบุพยานเพิ่มเติม

                  ไม่ได้ เพราะได้รับแต่งตั้งเฉพาะให้สืบพยานตามที่ขอเท่านั้น

                                   ๔. ศาลที่รับประเด็นไม่ควรสั่งงดสืบพยานของฝ่ายใด  เช่น  อ้างว่าพยาน

                  ประเด็นนั้น ฟุ่มเฟือยหรือไม่เกี่ยวแก่ประเด็น  หรือพยานไม่มาศาลในวันนัด ๓ - ๔ ครั้ง ก็ไม่ควร

                  งดสืบพยานนั้น ควรจดรายงานกระบวนพิจารณาแล้วส่งคืนไปให้ศาลเดิมสั่ง

                                   ๕. ศาลที่รับประเด็นจะสั่งคดีประเด็นว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดนัด

                  พิจารณาไม่ได้ เพราะอ านาจในการสั่งว่าคู่ความฝ่ายใดขาดนัดพิจารณา เป็นอ านาจของศาล

                  เจ้าของส านวนเท่านั้น  (ฎีกาที่  ๘๖๓/๒๕๐๔  ประชุมใหญ่)

                                   ๖. ศาลที่รับประเด็นส่งประเด็นต่อไปอีกได้ตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสอง

                                   ๗. การส่งประเด็นไปสืบจะต้องเป็นการสืบพยานตามที่เกี่ยวกับประเด็น

                  ข้อพิพาทเท่านั้น (ฎีกาที่ ๒๘๐๘/๒๕๓๗)

                                   ๘. การที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ส่งประเด็นไปสืบเป็นอ านาจของศาล

                  ที่จะสั่งได้ว่า สมควรที่ให้สืบพยานหลักฐานใดในศาลหรือนอกศาลตามความจ าเป็นแห่งสภาพ

                  ของพยานหลักฐานหรือจะให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนก็ได้  หากศาลเห็นเป็นการจ าเป็น

                  (ฎีกาที่ ๒๖๐๗/๒๕๒๖)
   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199