Page 236 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 236
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๒๐๘
ท าการเก็บตัวอย่างเส้นขนและเลือดจากจ าเลยไปตรวจพิสูจน์เปรียบเทียบกับวัตถุพยาน
หมาย วจ. ๑ และ วจ. ๒ ว่าเป็นของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่
สอบทนายจ าเลยแล้ว แถลงว่า ผลการตรวจพิสูจน์เส้นขนและเลือดน่าจะยังสามารถ
โต้แย้งได้ ประกอบกับจ าเลยเดินทางไปท างานต่างประเทศ จึงไม่ประสงค์ให้ตรวจเส้นขน
และเลือดของจ าเลย
พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า เมื่อจ าเลยไม่ยินยอมให้เก็บตัวอย่างเส้นขนและเลือดจากจ าเลย
จึงไม่อาจให้ผู้เชี่ยวชาญท าการตรวจพิสูจน์เส้นขนและสารพันธุกรรมได้ และกรณีต้องด้วย
ป.วิ.พ. มาตรา ๑๒๘/๑ วรรคสี่ ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ข้อเท็จจริงในประเด็นข้อแรกเป็นไป
ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง เมื่อโจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนี้ จึงให้ก าหนดภาระการ
พิสูจน์เฉพาะประเด็นข้อแรกเสียใหม่เป็นว่า ภาระการพิสูจน์ในประเด็นดังกล่าวตกแก่จ าเลย
และเมื่อประเด็นข้อแรกเป็นประเด็นส าคัญ จึงก าหนดให้จ าเลยน าพยานหลักฐานมาสืบก่อนใน
ทุกประเด็น เสร็จแล้วให้โจทก์สืบแก้ โดยให้นัดสืบพยานจ าเลย...นัด และนัดสืบพยานโจทก์....
นัด......................................”
ข้อสังเกต
๑. แม้ว่าตามมาตรา ๑๒๘/๑ วรรคสาม คู่ความหรือบุคคลที่จะรับการตรวจพิสูจน์
มีสิทธิที่จะยินยอมให้เก็บตัวอย่างส่วนประกอบของร่างกายหรือไม่ก็ได้ แต่ในการสอบถาม
ความยินยอม ศาลควรแจ้งให้คู่ความฝ่ายนั้นทราบถึงผลแห่งการไม่ให้ความยินยอมตามมาตรา
๑๒๘/๑ วรรคสี่ ด้วย
๒. เมื่อคู่ความฝ่ายหนึ่งได้ยื่นค าร้องขอให้ศาลสั่งให้ท าการตรวจพิสูจน์บุคคลโดยวิธีการ
ทางวิทยาศาสตร์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๒๘/๑ ศาลจะต้องใช้ดุลพินิจโดยพิจารณา
จากพยานหลักฐานที่คู่ความน าสืบและข้อเท็จจริงแวดล้อมว่ามีความจ าเป็นและสมควรที่จะต้อง
ท าการตรวจพิสูจน์บุคคลโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ตามค าร้องหรือไม่ หากคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
คัดค้านไม่ยินยอมให้ท าการตรวจพิสูจน์ และศาลสั่งยกค าร้อง ค าสั่งศาลในกรณีดังกล่าวจึงเป็น
กรณีที่ศาลไม่อนุญาตให้ท าการตรวจพิสูจน์บุคคลตามมาตรา ๑๒๘/๑ ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาล
กรณีดังกล่าวจึงมิใช่การที่ศาลเห็นสมควรให้ท าการตรวจพิสูจน์บุคคลตามมาตรา ๑๒๘/๑
วรรคหนึ่งและวรรคสอง การที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมหรือไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจ
พิสูจน์ดังกล่าว จึงไม่เข้าข้อสันนิษฐานตามมาตรา ๑๒๘/๑ วรรคสี่ ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า
ข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่คู่ความอีกฝ่ายกล่าวอ้าง (ฎีกาที่ ๑๓๖๘๙/๒๕๕๕)