Page 239 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 239

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๒๑๑


                                                         บทที่  ๑๗



                                                            ค าท้า



                  ๑.  ความหมายของค าท้า


                            ค าท้า  คือ  การแถลงร่วมกันของคู่ความ  ให้ศาลตัดสินชี้ขาดคดีตามที่ตกลงกันอันเป็นข้อแพ้

                  ข้อชนะ  เช่น


                            ๑.๑  ตกลงกันให้โจทก์สาบานว่า  จ าเลยเป็นหนี้โจทก์ ถ้าโจทก์สาบานได้  โจทก์เป็นฝ่ายชนะ

                  แต่ถ้าโจทก์ไม่สาบาน จ าเลยเป็นฝ่ายชนะ  เมื่อถึงเวลานัดโจทก์ไม่ยอมสาบาน  ศาลจะต้องพิพากษา

                  ยกฟ้องโจทก์ (ฎีกาที่ ๓๙๙/๒๔๙๒)


                            ๑.๒  ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่ง แล้วโจทก์จ าเลยตกลงกันให้ศาล

                  ถือเอาผลของค าพิพากษาคดีอาญาว่าโจทก์ถูกกระสุนปืนของจ าเลยหรือไม่  ถ้าถูกกระสุนปืน

                  ที่จ าเลยยิง จ าเลยยอมแพ้  หากตรงกันข้ามโจทก์ยอมแพ้  ต่อมาศาลในคดีอาญาฟังว่า โจทก์ถูก

                  กระสุนปื นที่จ าเลยยิง  ดังนี้ จ าเลยย่อมต้องแพ้  ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามฟ้อง

                  แม้จะปรากฏตามค าพิพากษาในคดีอาญาว่า  จ าเลยกระท าการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ

                  ไม่มีความผิดตามฟ้องก็ตาม ก็เป็นเรื่องนอกเหนือค าท้า ไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยได้ (ฎีกาที่

                  ๗๓๖/๒๕๐๗)


                            ๑.๓  ผู้ทรงเช็คเงินสดฟ้องผู้สั่งจ่ายมีอายุความ ๑ ปี นับตั้งแต่วันที่ลงในเช็คตาม ป.พ.พ.

                  มาตรา ๑๐๐๒ โจทก์จ าเลยขอให้ศาลพิจารณาประเด็นเรื่องอายุความข้อเดียว ไม่ติดใจสืบพยาน

                  ขอให้วินิจฉัยจากค าฟ้องและค าให้การ  เมื่อยังไม่พอฟังว่าโจทก์ได้รับสลักหลังไล่เบี้ยกันเอง ตาม

                  มาตรา ๑๐๐๓ คดีจึงขาดอายุความ (ฎีกาที่ ๕๔๕/๒๕๒๑)


                            ๑.๔ ศาลชี้สองสถานกะประเด็นไว้ ๒ ข้อว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องให้เพิกถอนการอายัดที่ดิน

                  หรือไม่  และฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่  แล้วโจทก์จ าเลยแถลงรับข้อเท็จจริงกัน  และตกลงให้ศาล

                  ชี้ขาดประเด็นเดียวว่าจ าเลยมีสิทธิที่จะไปขออายัดที่ดินหรือไม่  ถือว่าสละประเด็นข้อพิพาทที่

                  ศาลกะไว้เดิม  เมื่อจ าเลยมีส่วนได้เสียในที่ดินโดยอ้างว่าโจทก์ปลอมหนังสือมอบอ านาจของ

                  จ าเลยโอนขายที่ดินแก่โจทก์  จ าเลยจึงอายัดที่ดินได้ตาม ป. ที่ดิน มาตรา ๘๓ (ฎีกาที่ ๖๔๐/

                  ๒๕๒๒)


                            ๑.๕  น. เป็นผู้ปลูกสร้างอาคารในที่ดินของจ าเลยโดยจ าเลยยินยอม  แต่ไม่ปรากฏว่า น.

                  มีสิทธิในที่ดินของจ าเลยที่จะใช้สิทธิปลูกสร้างอาคารลงในที่ดินของจ าเลย  ตามที่บัญญัติไว้ใน
   234   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244