Page 242 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 242

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๒๑๔


                  พิจารณา กล่าวคือ ในเรื่องท้าสาบานนั้นเท่ากับโจทก์ จ าเลยตกลงกันว่า  ถ้าโจทก์กล้าเบิกความ

                  ยืนยันว่าจ าเลยเป็นหนี้  จ าเลยยอมแพ้  ถ้าโจทก์ไม่กล้าสาบานโจทก์ยอมแพ้  จึงเป็นข้อตกลง

                  ที่ให้สืบตัวโจทก์เป็นพยานปากเดียวเป็นแต่เพียงว่าก่อนที่โจทก์จะเบิกความโจทก์จะต้องสาบาน

                  ซึ่งการสาบานก็เป็นส่วนหนึ่งของการด าเนินกระบวนพิจารณาและมีกฎหมายบังคับให้พยานต้อง

                  สาบานตัวอยู่แล้ว (มาตรา ๑๑๒)  หรือกรณีที่ตกลงกันให้ถือเอาผลการรังวัดของเจ้าพนักงาน

                  ที่ดินเป็นข้อแพ้ชนะก็เท่ากับคู่ความอ้างเจ้าพนักงาน ที่ดินเป็นพยานร่วมปากเดียว ไม่ติดใจ

                  สืบพยานอื่น ๆ ต่อไป


                            ๒.๑  กรณีที่ถือว่าเป็นค าท้า


                                      ๒.๑.๑  คู่ความแถลงร่วมกันว่า คดีนี้เกี่ยวเนื่องกับคดีแพ่งอีกคดีหนึ่ง โดย จ. เป็นโจทก์

                  ฟ้องโจทก์คดีนี้และ พ. เป็นจ าเลย และจ าเลยร่วมคดีนี้เป็นโจทก์ร่วม อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดิน

                  ของราชพัสดุ  ข้อเท็จจริงอย่างเดียวกัน  หากผลของคดีดังกล่าวปรากฏว่า จ. เป็นฝ่ายชนะคดี

                  โจทก์จะถอนฟ้องจ าเลยคดีนี้  เป็นค าแถลงที่ไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย   คู่ความจึงต้องผูกพันตาม

                  ค าแถลงดังกล่าว  ถือได้ว่าเป็นค าท้าว่าหาก จ. ชนะคดีโจทก์ในคดีนั้น โจทก์ก็จะถอนฟ้องคดีนี้

                  เมื่อคดีดังกล่าวถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้ จ. ชนะคดี  โจทก์ยังแถลงขอถอนข้อหาส่วนอาญา

                  ให้ตัดสินตามค าท้าโดยมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างว่า ค าพิพากษาของศาลฎีกาในคดีดังกล่าวมิได้

                  ครอบคลุมถึงที่พิพาทในคดีนี้ทั้งหมด  โจทก์จึงต้องแพ้คดีตามค าท้า (ฎีกาที่ ๕๑๗๓/๒๕๓๑)

                                      ๒.๑.๒ ในกรณีที่โจทก์จ าเลยตกลงท้ากันว่า  ถ้า ก. กับ พ. สาบานตัวตามที่จ าเลย

                  ทั้งสองเป็นผู้กล่าวน าสาบานตามค าท้าได้ จ าเลยทั้งสองยอมแพ้  ถ้าไม่กล้าสาบานโจทก์ยอมแพ้

                  การสาบานของคนทั้งสองจึงเป็นเงื่อนไขที่คู่กรณีก าหนดขึ้นเพื่อให้ศาลวินิจฉัยข้อแพ้ชนะในคดี

                  แม้ ก. และ พ. จะมิใช่โจทก์  แต่เป็นบุคคลที่จ าเลยอ้างว่าเป็นผู้รับช าระหนี้จากจ าเลย  ข้อตกลง

                  ดังกล่าวจึงมีผลบังคับระหว่างคู่ความ (ฎีกาที่ ๑๑๘๖/๒๕๓๓)


                                      ๒.๑.๓ โจทก์ฟ้องขับไล่จ าเลยให้รื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินตามฟ้อง จ าเลย
                  ให้การว่า บ้านพิพาทปลูกอยู่บนที่สาธารณะชายทะเลห่างจากแนวเขตที่ดินตามฟ้องประมาณ


                  ๑๐ วา โจทก์จ าเลยตกลงท้ากันว่า ให้เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดแนวเขตที่ดินตามฟ้อง  หากปรากฏว่า
                  บ้านพิพาทอยู่ในแนวเขตที่ดินดังกล่าว จ าเลยยอมแพ้  หากอยู่นอกเขตโจทก์ยอมแพ้  ต่อมา


                  เจ้าพนักงานที่ดินได้รังวัดและท าแผนที่พิพาทตามที่โจทก์จ าเลยน าชี้แนวเขตที่ดินตามฟ้องตรงกัน

                  โดยมีเจ้าของที่ดินข้างเคียงยืนยันแนวเขตถูกต้อง ได้ความว่าบ้านพิพาทอยู่ในที่ดินตามฟ้อง

                  จึงท าหนังสือพร้อมแนบแผนที่พิพาทส่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์จ าเลยตรวจดู  จ าเลย

                  ตรวจดูเอกสารดังกล่าวแล้วลงลายมือชื่อ โดยไม่ได้โต้แย้งข้อความในหนังสือและแผนที่พิพาทว่า
   237   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247