Page 330 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 330
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๓๐๒
ช าระหนี้ให้โจทก์ เป็นการร้องขอให้ศาลมีค าสั่งก าหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์
ในระหว่างการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๔๖ แต่โจทก์ฟ้องให้จ าเลยช าระเงินซึ่งเป็นค่า
ขาดประโยชน์ มิใช่พิพาทกันด้วยทรัพย์สินหรือสิทธิหรือประโยชน์ โจทก์จะขอให้จ าเลย
น าทรัพย์สินหรือเงินมาวางตามมาตรานี้ไม่ได้
๗. ขอให้ยึดที่ดินตามมาตรา ๒๕๔ (๑) ศาลอาจใช้ดุลพินิจเพียงสั่งห้ามท านิติกรรม
ใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินนั้นก็ได้ตามมาตรา ๒๕๔ (๓) โดยไม่ต้องออกหมายยึด เพียงแต่ออกหมายห้าม
กรณีเช่นนี้ เมื่อยกเลิกค าสั่งไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลจะสั่งอายัดที่ดิน
โดยใช้หมายอายัดไม่ได้ แม้โจทก์จะขอให้อายัดก็ตาม
๘. มาตรา ๒๕๔ มิใช่บทบัญญัติให้ใช้เฉพาะเกี่ยวกับทรัพย์เท่านั้น โจทก์ขอให้ศาล
สั่งให้จ าเลยส่งบุตรให้โจทก์ก่อนศาลพิพากษาได้ในกรณีที่จ าเลยผิดสัญญาให้บุตรอยู่ในความ
อุปการะของโจทก์ (ฎีกาที่ ๑๕๐๙/๒๕๑๔)
๙. การยึดทรัพย์ในวิธีการชั่วคราวตามมาตรา ๒๕๔ (๑) กับการยึดทรัพย์ในชั้นบังคับ
คดีตามมาตรา ๓๐๓ (๒) นั้น กฎหมายบัญญัติข้อความไว้แตกต่างกันในเรื่องว่าให้บุคคลใด
เป็นผู้รักษาทรัพย์ที่ยึดนั้น
๑๐. ในกรณีร้องขอเพิกถอนการเป็นผู้จัดการมรดก ถ้ามีค าร้องขอให้ระงับการ
เบิกถอนเงินจากธนาคารของผู้จัดการมรดกก็ให้สั่งคุ้มครองชั่วคราวตามมาตรา ๒๕๔ (ค าสั่ง
ค าร้องศาลฎีกาที่ ๕๑๗/๒๕๔๑)
๑๑. ในการสั่งค าร้องขอคุ้มครองชั่วคราวพึงจะไม่ก้าวล่วงไปสั่งในเนื้อหาของคดี
อันจะท าให้เห็นข้อแพ้ชนะ
๑๒. ค าสั่งศาลที่อนุญาตตามมาตรา ๒๕๔(๑) (๒) และ(๓) บางประการใช้บังคับ
แก่จ าเลยได้ทันทีตามมาตรา ๒๕๘ วรรคหนึ่ง วรรคสองและวรรคสาม
๑๓. การยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนพิพากษามิใช่เรื่องการบังคับคดีหลังพิพากษา ดังนั้น
ผู้ร้องซึ่งมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ยึดยังไม่มีสิทธิอ้างบุริมสิทธิตามค าร้องเพื่อร้องขอให้บังคับ
เหนือทรัพย์ที่ยึดตามมาตรา ๒๘๗ ในชั้นนี้ได้ (ฎีกาที่ ๙๗๔/๒๕๒๙)
๑๔. ค าร้องขอของโจทก์ตามมาตรา ๒๕๔ (๒) ศาลจะมีค าสั่งคุ้มครองสิทธิให้กระทบ
กระเทือนถึงบุคคลภายนอกและไม่มีโอกาสต่อสู้คดีไม่ได้ (ฎีกาที่ ๓๗๔๐/๒๕๔๙)
๑๕. ค าสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จ าเลยท านิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินก่อนพิพากษา
ไม่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ตามค าพิพากษาอื่นที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินพิพาทนั้น (ฎีกาที่ ๖๙๒/๒๕๔๔)