Page 333 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 333

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๓๐๕


                             เอกสารที่โจทก์อ้างหมาย จ.๑ ถึง จ.๕ รวมไว้ในส านวน และให้เสียค่าอ้าง  คดีเป็นอันเสร็จ

                  การไต่สวนฉุกเฉิน รอฟังค าสั่งวันนี้ เวลา . . . น.


                        ๓.๔  ค าสั่งห้ามในเหตุฉุกเฉิน

                             ตัวอย่าง “ทางไต่สวน  ปรากฏว่า ฟ้องของโจทก์มี เหตุผลเพียงพอ  พฤติการณ์ที่

                  จ าเลยที่ ๑ น ารถไปจ าน าไว้กับจ าเลยที่ ๒ และจ าเลยที่ ๒ ได้ยักย้ายรถหลบหนีไปจากอู่ซ่อมรถนั้น

                  ส่อความไม่สุจริตขัดขวางการบังคับคดี  กรณีมีเหตุฉุกเฉิน

                             จึงมีค าสั่งห้ามมิให้จ าเลยทั้งสองโอนขาย  จ าหน่าย  หรือยักย้ายรถยนต์เก๋งคันหมายเลข

                  ทะเบียน . . . จนกว่าศาลจะมีค าสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น”

                             หรือ“ศาลได้เดินเผชิญสืบตรวจสถานที่และสืบพยานบุคคลแล้ว  เห็นว่า  ค าขอของโจทก์

                  มีเหตุสมควรและกรณีมีเหตุฉุกเฉิน  โดยจ าเลยใช้ลวดหนามท ารั้วปิดกั้นทางเดินเข้าออกโรงเรียนของโจทก์

                  จนโจทก์และเด็กนักเรียนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้

                             จึงมีค าสั่งให้จ าเลยรื้อรั้วลวดหนามที่กั้นออกชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีค าสั่งเป็นอย่างอื่น

                  ให้โจทก์วางเงินประกันค่าเสียหาย ๑๐,๐๐๐ บาท ก่อนออกหมาย”

                             เสร็จแล้วศาลจึงออกหมายห้ามชั่วคราว แบบ (๒๗)


                        ข้อสังเกต

                             ๑. โดยนัยมาตรา ๒๖๖ นี้  ประกอบมาตรา ๒๕๔ วรรคท้าย  ถ้าคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา

                  ของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาโจทก์อาจยื่นค าร้องขอในเหตุฉุกเฉินตามมาตรา ๒๖๖ นี้ได้

                  หากศาลชั้นต้นยังไม่ได้ส่งส านวนไปที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา  อ านาจในการสั่งยังเป็นของ

                  ศาลชั้นต้นและปฏิบัติอย่างเดียวกับข้างต้น

                              ๒.  ค าสั่งอนุญาตตามค าขอในเหตุฉุกเฉินไม่เป็นที่สุด จ าเลยมีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกา

                  ได้ตามมาตรา ๒๒๘ (๒) ประกอบมาตรา ๒๔๗ แต่ค าสั่งให้ยกเลิกค าสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวใน

                  เหตุฉุกเฉินนั้นย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา ๒๖๗ วรรคสอง ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นค าสั่งของศาลชั้นต้น

                  หรือศาลอุทธรณ์ (ฎีกาที่ ๑๑๑๒/๒๕๓๖)

                             ๓. มาตรา ๒๘๘ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ค าสั่งอันเกี่ยวด้วยค าขอคุ้มครองประโยชน์

                  ของคู่ความในระหว่างการพิจารณา คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่มีค าสั่ง

                  เป็นต้นไป และวรรคสาม บัญญัติว่า แม้ถึงว่าจะมีอุทธรณ์ในระหว่างพิจารณา ให้ศาลด าเนินคดี

                  ต่อไปและมีค าพิพากษาหรือค าสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น ดังนั้น หากมีการอุทธรณ์ค าสั่งอันเกี่ยวด้วย


                  ค าขอคุ้มครองชั่วคราวของคู่ความในระหว่างการพิจารณา ศาลชั้นต้นควรถ่ายส าเนาค าฟ้อง
                  ค าให้การ ค าร้องขอคุ้มครองชั่วคราว และสรรพเอกสารที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการไต่สวนและการ
   328   329   330   331   332   333   334   335   336   337   338