Page 335 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 335
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๓๐๗
จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา ๒๖๔ ที่โจทก์จะขอให้ห้ามจ าเลยเก็บค่าเช่าและขอให้ศาลตั้ง
บุคคลอื่นไปเก็บค่าเช่าและดูแลกิจการแทน (ฎีกาที่ ๖๑๐/๒๕๔๓)
๔.๔ กรณีโจทก์ยื่นค าร้องขอให้ตั้งผู้จัดการทรัพย์ที่พิพาท และน าเงินที่ได้มาวางศาล
หากเห็น สมควรอนุญาต สั่งว่า“โจทก์ จ าเลย เป็นสามีภรรยากันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และ
อยู่อาศัยที่โรงแรมและบ้านเช่าอันเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์ที่พิพาท ทรัพย์ที่พิพาทปลูกอยู่
บนที่ดินที่โจทก์ถือกรรมสิทธิ์สมควรน าวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณา
มาใช้เกี่ยวกับรายได้ในกิจการโรงแรมและบ้านเช่า
จึงมีค าสั่งตั้งนาย ก. เป็นผู้จัดการทรัพย์พิพาท ให้น าเงินที่ได้จากกิจการดังกล่าว
มาวางศาลทุกเดือน”
หากเห็นสมควรยกค าร้อง สั่งว่า “ตามค าร้องของโจทก์และค าคัดค้านของผู้คัดค้าน
มีประเด็นที่ศาลจะต้องชี้ขาดว่า ผู้คัดค้านเป็นบริวารจ าเลยหรือไม่ หากโจทก์ชนะคดี โจทก์ก็มี
สิทธิให้ บังคับผู้คัดค้านออกไปจากทรัพย์ที่พิพาท หามีสิทธิบังคับให้ ผู้คัดค้านช าระค่าเช่าหรือ
ค่าเสียหายแก่โจทก์ไม่ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลใช้วิธีการคุ้มครองโจทก์ตาม ป.วิ.พ.
มาตรา ๒๖๔ จึงให้ยกค าร้องของโจทก์ ” (ฎีกาที่ ๑๑๗๗/๒๕๒๔)
๔.๕ ในคดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า ผู้ร้องหรือผู้คัดค้าน
สมควรเป็นผู้จัดการมรดก ไม่เป็นคดีที่จะร้องขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาหรือบังคับ
ตามค าพิพากษาตามมาตรา ๒๖๔ (ค าสั่งค าร้องศาลฎีกาที่ ๗๐๒/ ๒๕๒๙, ๖๐๙/๒๕๓๑)
๔.๖ มาตรา ๒๖๔ มิได้บัญญัติให้น ามาตรา ๒๕๔ วรรคสอง มาใช้บังคับ ดังนั้น เมื่อศาล
ชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์หรือฎีกาแล้ว คดีย่อมอยู่ในอ านาจของศาลอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วแต่กรณี
อ านาจในการพิจารณาสั่งค าขอตามมาตรา ๒๖๔ จึงเป็นอ านาจของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา
โดยไม่ต้องค านึงว่าศาลชั้นต้นจะได้ส่งส านวนไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วหรือไม่ ทั้งนี้
ศาลชั้นต้นจะท าหน้าที่เพียงไต่สวนเท่านั้น แล้วส่งค าขอไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาพิจารณาสั่ง
(เทียบฎีกาที่ ๑๕๗๘/๒๕๑๔, ๓๗๔๙/๒๕๓๓, ๒๕๗๓/๒๕๓๖)
ข้อสังเกต
๑. ต้องดูค าขอท้ายฟ้องของโจทก์ด้วยว่าเมื่อโจทก์ชนะคดีแล้วจะบังคับตามค าขอ
คุ้มครองประโยชน์นั้นได้หรือไม่ ถ้าบังคับไม่ได้ก็ไม่สมควรจะน าวิธีการชั่วคราวมาใช้บังคับ
(ฎีกาที่ ๔๖๑/๒๕๐๗, ๑๒๒/๒๕๑๒, ๑๒๘๗/๒๕๑๓, ๑๖๗๘/๒๕๒๕)
๒. การขอทุเลาการบังคับ ตามมาตรา ๒๓๑ นั้น ถ้าศาลเห็นว่าเข้ามาตรา ๒๖๔
ก็คุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาได้ เช่น ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ขับไล่จ าเลย