Page 43 - องค์ความรู้สู่การบริหารจัดการเมืองยั่งย
P. 43

40





             2.4 การจัดการมลพิษทางอากาศ

              ชื่อเรื่อง (องค์ความรู้) การตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป
              ผู้เขียน/ผู้จัดท า

                     1. นายศิรพงศ์ สุขทวี  นักวิชาการสิ่งแวดล้อมช านาญการ
                        สังกัด ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม
                     2. นายอดุลย์เดช ปัดภัย  นักวิชาการสิ่งแวดล้อม

                        สังกัด ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม

              สาระส าคัญ
                         สารมลพิษ CO, NO2, SO2, O3, และฝุ่น PM10, PM2.5, TSP เป็นกลุ่มของมลพิษทางอากาศที่ได้มีการ

              ประกาศค่ามาตรฐานในบรรยากาศโดยทั่วไป การติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศเป็นส่วนส าคัญส่วนหนึ่ง
              เพื่อทราบถึงสถานการณ์คุณภาพอากาศในพื้นที่ต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ของการตรวจวัดที่แตกต่างกัน เช่น:
                         - ประเมินระดับ สถานการณ์ และแนวโน้มของมลพิษในพื้นที่
                         - ให้ข้อมูลมลพิษทางอากาศแก่ประชาชน

                         - สนับสนุนการปฏิบัติงาน มาตรการ นโยบาย เพื่อรักษาระดับมลพิษให้อยู่ในมาตรฐานคุณภาพอากาศ
                         - ประเมินประสิทธิภาพของการควบคุมการปล่อยมลพิษ
                         - เป็นข้อมูลสนับสนุนการวิจัยที่เกี่ยวข้องทางด้านต่าง ๆ เช่น สุขภาพของประชาชน


              วัตถุประสงค์
                     เพื่อจัดท ารายงานสถานการณ์ของสารมลพิษทางอากาศ และสนับสนุนข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์แปลผล
              เพื่อสนับสนุนการจัดการและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ


              ขั้นตอน/กระบวนการท างาน
                     1. การเลือกพื้นที่ติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ควรมีระยะห่างระหว่างสถานีตรวจวัดกับสิ่งบดบังการ
              ไหลวนของอากาศ เช่น ตึก อาคาร และควรมีระยะห่างมากกว่าสองเท่าความสูงของสิ่งบดบัง ส าหรับปลายท่อชัก

              ตัวอย่างอากาศบนหลังคาสถานีตรวจวัดควรสูงจากพื้นดินประมาณ 2-7 เมตร  ระยะห่างระหว่างปลายท่อชักตัวอย่าง
              กับอุปกรณ์ตรวจวัดอื่น ๆ มากกว่า 1 เมตร ระยะห่างจากต้นไม้ถึงท่อชักตัวอย่างอากาศมากกว่า 10 เมตร  รายละเอียด
              เพิ่มเติม CFR-2012-title40-vol6-part58-appE  ส าหรับการวัดความเร็วและทิศทางลมควรวัดที่ระดับความสูงจาก

              พื้นดิน 10 เมตร ตามเกณฑ์ของ WMO
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48