Page 47 - องค์ความรู้สู่การบริหารจัดการเมืองยั่งย
P. 47

44





                     วิธีตรวจวัดระดับเสียงทั่วไป
                     1. ควรศึกษาข้อมูลเบื้องต้นและศึกษารายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น แหล่งก าเนิดเสียงและลักษณะเสียงที่
              เกิดขึ้นในบริเวณที่ต้องการตรวจวัด ระยะเวลาที่เกิดเสียง สภาพแวดล้อมในพื้นที่ที่ต้องการตรวจวัดระดับเสียง


                     2. ตรวจสอบการท างานของเครื่องวัดระดับเสียง แบตเตอรี่ที่เพียงพอต่อการใช้งานและอุปกรณ์ประกอบทั้งหมด

              (เครื่องวัดระดับเสียงที่ได้มาตรฐานและสามารถใช้ในการตรวจวัดเสียงจะมี 2 ประเภท คือ ประเภท Type 1 จะมีราคา

              เครื่องค่อนข้างข้างสูงเหมาะกับการใช้งานที่ต้องการค่าที่มีความแม่นย าสูง และประเภท Type 2 จะมีราคาเดรื่องต่ ากว่า
              ประเภท Type 1 มากเหมาะกับการวัดเสียงทั่วไป)


                     3. เมื่อถึงสถานที่ตรวจวัดระดับเสียง ให้พิจารณาพื้นที่ติดตั้งเครื่องวัดระดับเสียงว่าเป็นการติดตั้งไมโครโฟน

              บริเวณภายในหรือภายนอกอาคาร จากนั้นติดตั้งเครื่องวัดเสียงเข้ากับขาตั้งเครื่องวัดระดับเสียง (Tripod) และเลือกจุด
              วางเครื่องวัดระดับเสียงให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ข้างต้น


                     4. ก่อนการตรวจวัดระดับเสียงทุกครั้งต้องท าการปรับเทียบความถูกต้องของเครื่องวัดระดับเสียงก่อน โดยใช้

              เครื่องปรับเทียบระดับเสียง (Sound Calibrator) เพื่อค่าระดับเสียงที่วัดได้มีความถูกต้อง และใส่อุปกรณ์ป้องกันลมเพื่อ
              ป้องกันเสียงลมไม่ให้เข้าไมโครโฟนทุกครั้งที่วัดระดับเสียง


                     5. เมื่อปรับเทียบค่าระดับเสียงเสร็จแล้วให้ตั้งค่าการตรวจวัดระดับเสียงของเครื่องวัดระดับเสียง ดังนี้


                       ตั้งวันที่ เดือน ปี และเวลาในเครื่องวัดระดับเสียงให้เป็นปัจจุบัน


                       เลือกวงจรถ่วงน้ าหนัก เป็นแบบ A


                       ตั้งความไวในการตอบสนองต่อสัญญาณเสียงเป็นแบบ Fast


                       เลือกช่วงของการตรวจวัดระดับเสียง (Level range) ให้ครอบคลุมระดับเสียงโดยทั่วไปที่จะท าการตรวจวัด

              (ปัจจุบันเครื่องวัดระดับเสียงส่วนใหญ่สามารถปรับช่วงของการวัดระดับเสียงได้อัตโนมัติ (Dynamic range) จึงไม่

              จ าเป็นต้องเลือกช่วงของการตรวจวัดระดับเสียง)


                       ตั้งค่าการตรวจวัดระดับเสียงเป็นแบบ Leq 24 ชั่วโมง (มาตรฐานเสียงโดยทั่วไปของประเทศไทยก าหนดไว้
              ว่า ค่าระดับเสียง Leq 24 ชั่วโมง ต้องไม่เกิน 70 เดซิเบลเอ)


                     6. เมื่อเริ่มตรวจวัดระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง แล้วจะต้องมีการบันทึกวันที่และเวลาที่เริ่มตรวจวัดระดับเสียง ที่

              อยู่ของสถานที่ตรวจวัด ข้อมูลอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ (ถ้ามี) ณ บริเวณพื้นที่ที่ตรวจวัดระดับเสียง (ถ้าไม่มีเครื่องวัด
              สามารถสอบถามได้ที่สถานีอุตุนิยมวิทยาที่ตั้งอยู่ใกล้พื้นที่ตรวจวัดเสียง) บันทึกข้อมูลสภาพแวดล้อมระหว่างแหล่งก าเนิด
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52