Page 49 - องค์ความรู้สู่การบริหารจัดการเมืองยั่งย
P. 49
46
ชื่อเรื่อง (องค์ความรู้) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหามลภาวะ : ฝุ่นละออง (หมอกควันไฟป่า)
ภาคเหนือ
ผู้เขียน/ผู้จัดท า
1. นางสาวอุมา ศรีสุข ผู้อ านวยการกองอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สังกัด กองอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. นายวรพจน์ จิ้วไม้แดง นักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ
สังกัด กองอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สาระส าคัญ
วิกฤติปัญหาหมอกควันไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือ กลายเป็นปัญหามาอย่างต่อเนื่อง เป็นภัยคุกคาม
รุนแรงและความถี่ในการเกิดนับเป็นปัญหาสำคัญที่เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน ซึ่งภาครัฐไม่สามารถดำเนินการ
เพียงลำพัง ซึ่งที่ผ่านมาหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง กระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในฐานะหน่วยงานโดยทำงานกับภาคประชาชน
และมีหลายกลุ่มทำงานอย่างเข้มแข็ง เล็งเห็นว่า ในการดูแลเรื่องหมอกควันไฟป่า ไม่ได้เกี่ยวเรื่องไฟป่าอย่างเดียว
แต่เกี่ยวข้องกับการจัดการฐานทรัพยากรต่างโดยได้ขับเคลื่อนกลไกประชารัฐแก้ไขๆด้วย ปัญหาหมอกควัน
ในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ 9 จังหวัด (จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน และตาก)
และบูรณาการการทำงานในระดับพื้นที่ สื่อสารการดำเนินงานระหว่างชุมชนในพื้นที่ทั้งหน่วยงานภาครัฐ
และสังคมภายนอกสร้างความเข้มแข็งในชุมชนท้องถิ่นประสานพลังสู่การปฏิบัติในพื้นที่ อย่างต่อเนื่องเพื่อทำ
ให้ทุกภาคส่วนเกิดทัศนคติและความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังไฟป่า ลดหมอกควัน รวมถึง ทำให้สถานการณ์
ไฟป่า หมอกควัน ในพื้นที่ดำเนินการ มีปริมาณจุดความร้อนสะสม (Hotspot) ลดลงซึ่งถือเป็นกลไกส าคัญในการ
ด าเนินงานเฝ้าระวังและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580)
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ . ศ . 2560 - 2564)
แผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคำแถลงนโยบายของ คณะรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแถลงต่อรัฐสภานโยบายสำคัญของรัฐบาลและนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับเครือข่าย
อาสาสมัครของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ให้ความสำคัญ สนับสนุนให้ภาคประชาชนและท้องถิ่น
เข้ามามีส่วนร่วมและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน อย่างบูรณาการ
วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างจิตส านึก กระตุ้นให้เกิดความตระหนัก พัฒนากลไกและเสริมสร้างให้เครือข่ายและภาคีทุกภาคส่วนเข้า
มามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันอย่างบูรณาการ