Page 53 - องค์ความรู้สู่การบริหารจัดการเมืองยั่งย
P. 53
50
2.5 การอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สีเขียว
ชื่อเรื่อง (องค์ความรู้) ป่านิเวศ
ผู้เขียน/ผู้จัดท า
ดร.อนงค์ ชานะมูล ผู้อ านวยการศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม
สังกัด ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม
สาระส าคัญ
หลักการปลูกป่านิเวศนั้นมีมากมายหลายทฤษฎีส าหรับประเทศไทยนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา
ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงตระหนักถึงผลกระทบจากการบุกรุกท าลายป่าไม้ของประเทศไทย พระองค์ทรงมี
พระราชด าริในการพัฒนาฟื้นฟูสภาพป่าไม้ ให้คืนกลับสู่สภาพธรรมชาติด้วยแนวทางผสมผสาน โดยการปลูกไม้ทดแทน
ควบคู่กับการพัฒนาอาชีพราษฎร ด้วยการวางแผนร่วมมือกันของทุกส่วนราชการ ในการด าเนินการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่
ให้สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์และสภาวะแวดล้อม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานพระราชด าริ การปลูกไม้ 3 อย่าง ให้ประโยชน์ 4
ประการ ตามแนวพระราชด ารินั้น ว่าการปลูกไม้ 3 อย่าง คือ ไม้ผล ไม้โตเร็ว และไม้เศรษฐกิจ จะท าให้เกิดป่าไม้แบบ
ผสมผสานและสร้างความสมดุลแก่ธรรมชาติอย่างยั่งยืน สามารถตอบสนองความต้องการของรัฐและวิถีประชาในชุมชน
อันเป็นทฤษฎีการปลูกต้นไม้ลงในใจคน โดยการปลูกฝังจิตส านึกแก่ประชาชนให้ปลูกต้นไม้ลงแผ่นดินและรักษาต้นไม้ด้วย
ตนเอง และในการฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ าตามแนวพระราชด าริ ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ พระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัว ทรงเน้นให้ใช้พันธุ์ไม้ที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น เพราะเป็นไม้ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดี มีลักษณะที่เหมาะสมกับ
สภาพพื้นที่อยู่แล้วไม่เป็นการเสี่ยงต่อภาวะการรอดตายและการเจริญเติบโต เป็นและที่รู้จักของราษฎรในท้องถิ่นอย่างดี
พื้นที่ที่เหมาะสมแก่การปลูกไม้ป่าดังกล่าว ควรเป็นพื้นที่ที่มีสภาพเสื่อมโทรม หรือเป็นบริเวณป่าเพื่อการพึ่งพิงของราษฎร
ที่อยู่บริเวณใกล้ๆหมู่บ้าน วิธีการปลูกก็ให้ปลูกเสริมในลักษณะธรรมชาติ โดยไม่จับต้นไม้เข้าแถว ซึ่งการปลูกเสริมตาม
ลักษณะธรรมชาตินี้ เมื่อต้นไม้โตขึ้นก็จะมีสภาพเป็นป่าตามธรรมชาติ โดยจะไม่มีลักษณะเป็นสวนป่าที่มีต้นไม้เรียงเป็น
แถว
ป่านิเวศ ตามทฤษฎีของ ศาสตราจารย์ ดร.อาคิระ มิยาวากิ
การปลูกป่านิเวศ ตามทฤษฎีของ ศาสตราจารย์ ดร.อาคิระ มิยาวากิ โดยการปลูกป่าด้วยพันธุ์ไม้พื้นเมือง (Native
species) ซึ่งช่วยร่นระยะเวลาการเจริญเติบโตของป่าธรรมชาติจาก 100 ปี เหลือ 10 ปี โดยปลูกเลียนแบบโครงสร้างป่า
ธรรมชาติ ด้วยการปลูกป่าด้วยพันธุ์ไม้พื้นเมืองหลากหลายชนิดปลูกอย่างหนาแน่นเพื่อเร่งให้เกิดการแข่งขันตาม
ธรรมชาติส่งผลให้ผืนป่าที่มนุษย์สร้างขึ้นกลายเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เป็นการปลูกป่าที่
ได้ผลดีที่สุดส าหรับการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ และปล่อยก๊าซออกซิเจนกลับคืนสู่ชั้นบรรยากาศได้อย่างเต็ม
ประสิทธิภาพ
หลักการปลูกป่านิเวศ
1. คัดเลือกพันธุ์ไม้พื้นเมือง (Native species) ในบริเวณที่จะปลูก เพราะจะทนต่อสภาพภูมิอากาศ
เจริญเติบโตได้ดี ทนต่อโรคและแมลง และง่ายต่อการดูแลรักษา