Page 55 - องค์ความรู้สู่การบริหารจัดการเมืองยั่งย
P. 55

52





                     6.  การปลูก ดังรายละเอียดต่อไปนี้
                          การขนต้นกล้าไม้ไปยังบริเวณแปลงปลูกป่า จะต้องมีภาชนะรองรับ ถ้าหากไม่มีภาชนะรองรับกล้าไม้
                            ให้ใช้มือประคองที่ถุงกล้าไม้ เพื่อเป็นการถนอมระบบราก

                          ตรวจสอบอุปกรณ์ที่จะใช้ในการปลูกป่า เช่น จอบ เสียม พลั่วปลูก กระถางน้ า ฟางข้าวที่ใช้ คลุมดิน
                            ไม้ไผ่ปัก เชือก เป็นต้น

                          การขุดหลุมส าหรับปลูกต้นกล้าซึ่งจะต้องมีขนาดใหญ่กว่าถุงต้นกล้าประมาณ 1 เท่าครึ่ง (1.5 เท่า)
                            โดยระยะห่างของการปลูก 3-4 ต้นต่อตารางเมตร โดยคละชนิดพันธุ์มีทั้งไม้เรือนยอดสูง กลาง และไม้
                            พุ่ม ปลูกแบบสุ่ม ไม่เป็นแถวเป็นแนว

                          จุ่มกล้าไม้ลงในกระถางน้ า โดยน ากล้าไม้จุ่มทั้งถุงพลาสติก และจุ่มให้ท่วมถุงพลาสติก รอจนไม่มี
                            ฟองอากาศผุด เพื่อเป็นการให้น้ าเข้าไปแทนที่ในอนุภาคของดิน ท าให้ดินอุ้มน้ าไว้ได้นาน

                          ใช้มือจับถุงกล้าไม้ บีบที่ถุง เพื่อให้ดินเกาะติดกับระบบรากได้ดี (เพื่อไม่ให้ดินแตกออกจากระบบ
                            รากเวลาดึงถุงพลาสติกออก) ส าหรับเทคนิคการดึงถุงพลาสติกออกให้จับ ถุงกล้าไม้คว่ าลง โดยให้ส่วน
                            ของล าต้นอยู่ระหว่างนิ้วกลางหรือนิ้วชี้ และใช้มืออีกข้างหนึ่งค่อยๆ ดึงถุงพลาสติกออกอย่างระมัดระวัง
                            เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนระบบราก

                          น าต้นกล้าใส่ลงในหลุมอย่างระมัดระวัง (ไม่ควรปลูกกล้าไม้ลึกเกินไป) ใช้พลั่วโกยดินที่อยู่ โดยรอบหลุม
                            ต้นกล้า กลบดินแล้วใช้มือกดเบาๆ โดยไม่กดดินแน่นเกินไป

                          ใช้ฟางข้าวคลุมบริเวณรอบๆ โคนต้น จากนั้นใช้ไม้ไผ่ปักห่างจากล าต้นหนึ่งคืบ แล้วผูกเชือกติดกับล าต้น
                            บริเวณเหนือใบแรกหรือกิ่งแรกของล าต้น เพื่อไม่ให้เชือกเลื่อนลงไปที่โคนต้นไม้และยึดล าต้นไม่ให้ล้ม
                            เมื่อเกิดลมพัด

                          น าถุงด าที่ดึงออกจากกล้าไม้ที่เราปลูกสวมไว้ที่ไม้ไผ่ที่ใช้ปักพยุงล าต้น เพื่อให้แน่ใจว่าได้น าถุงด าออก
                            จากต้นกล้าที่ปลูกในหลุม และเป็นการง่ายต่อการจัดเก็บถุงพลาสติกเมื่อปลูกต้นกล้าเสร็จ

              ผลลัพธ์ (Output)

                     การปลูกป่านิเวศนั้น ท าให้เมืองและชุมชน ได้รับประโยชน์มากมายท าให้พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นที่อยู่ของ
              สัตว์นานาชนิด เป็นแหล่งอาหารให้ชุมชน  ท าให้เกิดการอนุรักษ์พันธุ์พืชต่าง ๆ ในท้องถิ่น เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
              นอกจากนี้ยังสามารถเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของพื้นที่ได้

                     ตัวอย่าง ป่านิเวศภายในบริเวณศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย แปลงป่านิเวศดั้งเดิมที่ปลูก

              เมื่อปีพ.ศ. 2539 และ ป่านิเวศแปลงใหม่ จ านวน 7 แปลง มีต้นไม้ทั้งหมดจ านวน  4,476  ต้น จากการส ารวจฐานข้อมูล
              ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้และชนิดสัตว์ของป่านิเวศ ในปี  2561 พบว่า มีจ านวนพันธุ์ไม้ 119 ชนิดพันธุ์ และ
              มีความหลากหลายของชนิดนกและสัตว์ จ านวน 39 ชนิดพันธุ์ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อมได้มีการศึกษา
              ค านวณปริมาณการดูดซับคาร์บอนในบริเวณป่านิเวศโดยรอบ พบว่า ป่านิเวศสามารถกักเก็บคาร์บอนจากมวลชีวภาพ
              เหนือพื้นดิน (ล าต้น กิ่ง ก้าน ใบ) ปริมาณ 86,971 กิโลกรัมคาร์บอน หรือ คิดเป็นการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

              318,893.67 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งเป็นคุณประโยชน์ของป่านิเวศต่อระบบนิเวศในการเป็นแหล่ง
              รักษาสมดุลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ นอกจากนี้ ผลผลิตจากป่านิเวศที่ส าคัญศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้าน
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60