Page 67 - องค์ความรู้สู่การบริหารจัดการเมืองยั่งย
P. 67
64
แล้ว ควรมีการติดตาม พัฒนา และปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจะสามารถรักษามาตรฐานส านักงานสีเขียวของหน่วยงานให้คง
อยู่ตลอดไป รวมถึงจะมีหน่วยงานอื่นเข้ามาขอศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่องจึงควรรักษามาตรฐานส านักงานสีเขียวของตนเอง
ให้คงอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดไป
การส่งเสริมการออกบุ๊ทแสดงสินค้าของผู้ประกอบการ
ชื่อเรื่อง (องค์ความรู้) ส่งเสริมบัตรเดียวเขียวทั่วไทย (Green card application)
ผู้เขียน/ผู้จัดท า
นายกิตติภูมิ พุ่มแดง นักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ
สังกัด ส านักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
สาระส าคัญ
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม
ส่งผลให้วิถีชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมเมือง มีพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรอย่างไม่ค านึงถึงความสมดุลของ
สิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานและเผาไหม้เชื้อเพลิงอย่างมหาศาลเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม การคมนาคมขนส่ง
ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ และการบริโภคในระดับบุคคลในปัจจุบันท าให้เกิดอุณหภูมิโลกสูงขึ้นและส่งผลกระทบด้าน
สิ่งแวดล้อมอื่นๆตามมา การเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นต้องลดผลกระทบจากการบริโภคของ
มนุษย์โดยเร็วที่สุดโดยการเปลี่ยนวิธีการผลิตและการบริโภคสินค้าและทรัพยากร ซึ่งเป็นเป้าหมายของการพัฒนาที่
ยั่งยืน (Sustainable Development Goals; SDGs) เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
(พ.ศ. 2560 - 2564) ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศระยะ 20 ปีและแผนขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙ (Sustainable Consumption and Production Roadmap 2017-2036: SCP Roadmap
2017-2036) ที่กล่าวถึงการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสนับสนุนและส่งเสริมการผลิตและ
การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง การน าแนวคิด "เศรษฐกิจสีเขียว" (Green Economy) มาปรับเปลี่ยน
แนวทางการผลิตและการบริโภคของโลกสู่สังคมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน (Sustainable Consumption
and Production: SCP) เน้นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจรในทุกขั้นตอนของผลิตภัณฑ์
ตั้งแต่เริ่มผลิตจนการส่งไปก าจัดซากผลิตภัณฑ์มุ่งสู่การขยายตัวของเศรษฐกิจคาร์บอนต่ า เพื่อเพิ่มความสามารถในการ
รองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในการสนับสนุนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
มีการด าเนินงานส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Production) การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) ซึ่งหน่วยงานภาครัฐมีการก าหนดนโยบายเพื่อผลักดันให้ผู้บริโภคเกิด
ความตระหนักและมีส่วนร่วมในการเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะน าไปสู่การผลิตและการบริโภคที่เป็น
มิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนต่อไป
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มียุทธศาสตร์และนโยบายในการสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนมีการ
บริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เป็นการเพิ่มขีดความสามารถและสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคประชาชนใน