Page 65 - องค์ความรู้สู่การบริหารจัดการเมืองยั่งย
P. 65
62
ชื่อเรื่อง (องค์ความรู้) ส านักงานสีเขียว (Green Office)
ผู้เขียน/ผู้จัดท า
นางสาวงามนิจ อนุศาสนี นักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ
สังกัด ส านักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
สาระส าคัญ
ส านักงานสีเขียว หมายถึง ส านักงานและกิจกรรมต่างๆ ภายในส านักงานที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
โดยการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างรู้คุณค่า มีแนวทางในการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการ
เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้ส านักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และที่ส าคัญจะต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาใน
ปริมาณต่ า การด าเนินงานส านักงานสีเขียว (Green Office) ให้ความส าคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยเฉพาะในกลุ่ม
ส านักงาน เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของบุคลากรในส านักงาน เพื่อลดการใช้พลังงานและทรัพยากร
ลดการเกิดของเสีย และด าเนินกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ลดปริมาณขยะโดยการลดการใช้ การใช้ซ้ า การ
น ากลับมาใช้ใหม่ การลดและเลิกใช้สารเคมีอันตราย มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green
Procurement) ในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา และเอกชน ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อลดการ
ปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gases: GHG) ออกสู่บรรยากาศในทุกภาคส่วน และยังเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์
ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในเรื่องของการ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วิธีคิดและวิถีชีวิต การลดขยะเป็นศูนย์ น าไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development
Goals; SDGs)
แนวทางการด าเนินงานเพื่อน าไปสู่ส านักงานสีเขียว
การด าเนินงานส านักงานสีเขียว จะเห็นได้ว่ากิจกรรมต่าง ๆ ภายในส านักงาน เช่น การประชุม การพิมพ์เอกสาร การเดินทาง
มีส่วนส าคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศซึ่งมีผลท าให้เกิดภาวะโลกร้อนที่ทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกัน
หน่วยงานที่สนใจเกี่ยวกับการด าเนินงานส านักงานสีเขียวนั้น ผู้บริหารและพนักงานจะต้องประชุมหารือกันและท าความ
เข้าใจในรายละเอียดข้อก าหนดแนวทางส านักงานสีเขียว ประกอบด้วย การก าหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม ก าหนด
คณะท างานผู้รับผิดชอบในแต่ละเรื่อง การอบรมให้ความรู้พัฒนาศักยภาพ การสื่อสารประชาสัมพันธ์สร้างจิตส านึก
กิจกรรมรณรงค์ต่าง ๆ การก าหนดเป้าหมายและบันทึกข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า น้ า ทรัพยากรต่าง ๆ และก๊าซเรือน
กระจก มีการจัดการของเสียที่ดี การดูแลสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกส านักงาน ได้แก่ อากาศ เสียง แสงสว่าง
พื้นที่สีเขียว ๕ส การปรับปรุงภูมิทัศน์ การจัดการสัตว์พาหะน าเชื้อ รวมถึงการจัดซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์
1. ลดค่าใช้จ่ายในส านักงานจากการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ให้เกิดความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
2. มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพอนามัยของพนักงาน
3. สร้างการสื่อสารและการมีส่วนร่วมภายในองค์กร
4. เป็นการยกระดับมาตรฐานส านักงานให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
5. ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดโลกร้อน