Page 10 - การวางแผนงานวิจัย โครงร่างงานวิจัย
P. 10
มักจะก าหนด กฎเกณฑ์ในการคัดเลือก (diagnostic criteria) พร้อมทั้งมีเหตุผล ประกอบชัดเจน
ในหลักเกณฑ์แต่ละข้อ ซึ่งรวมทั้ง กฎเกณฑ์ในการคัดเลือกเข้ามาศึกษา (inclusion criteria)
และกฎเกณฑ์ในการ ตัดออกจากการศึกษา (exclusion criteria) โดยกฎเกณฑ์เหล่านี้ จะมีผล
ต่อการขยายผล (generalize) การวิจัยไปใช้ ถ้ากฎเกณฑ์มีการจ าเพาะมาก เช่น มีกฎเกณฑ์ใน
่
้
การตัดผู้ปวย ออกจากการศึกษามากมาย การขยายผลการศึกษา ไปยังประชากรเปาหมาย จะ
เป็นไปอย่างจ ากัด แต่ผลการศึกษา จะมีความไว ในการตอบค าถามได้ดี
ii. วิธีการให้ได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง (Sampling) หมายถึงกระบวนการเลือก
้
ส่วนของประชากรเพื่อเป็นตัวแทนของประชากรที่สนใจทั้งหมด(ประชากรเปาหมาย) ต้องมีการ
ระบุถึง วิธีการในการสุ่มตัวอย่าง ควรมีการก าหนด หน่วยตัวอย่าง (sampling unit) และกรอบ
ตัวอย่าง (sampling frame) ให้ชัดเจนก่อน วิธีการคัดเลือกตัวอย่างเข้ามาในการวิจัยมี 2 วิธีการ
หลักๆได้แก่
การสุ่มตัวอย่างโดยอาศัย ทฤษฏีความน่าจะเป็น (Probability Sampling) ท าให้ทราบ
ถึง โอกาสของแต่ละหน่วยตัวอย่าง ที่จะถูกเลือกเข้ามาศึกษา เช่น
การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย(Simple Random Sampling)
การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบบ(Systematic Random Sampling)
การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม(Cluster Sampling)
การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Muti - stage Random Sampling)
การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ได้อาศัย ทฤษฏีความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) การ
เลือกตัวอย่างแบบนี้ โอกาสที่ตัวอย่างแต่ละหน่วยที่ถูกเลือกเข้ามา อาจจะมีโอกาสถูกเลือกไม่
เท่ากัน อาจเกิดอคติจากการเลือกตัวอย่าง (selection bias) ดังนั้นตัวอย่างที่ได้อาจจะไม่เป็นตัว
แทนที่ดี ของประชากร วิธีนี้จึงมีข้อจ ากัดในการขยายผลสู่ประชากร เช่น
เลือกตามความสะดวก (Convenient Sampling)
เลือกโดยความบังเอิญ (Accidental Sampling)
เลือกโดยการก าหนดจ านวนไว้ก่อน (Quota Sampling)
เลือกโดยความจงใจ (Purposive Sampling)
กุญแจสู่ความส าเร็จ
พรรณนาประชากรของการศึกษาอย่างชัดเจน
มีเกณฑ์คัดเข้า/ออกที่เหมาะสม
แสดงให้เห็นถึงความเหมาะสมของประชากรของการศึกษาและวิธีการเลือกตัวอย่าง
พรรณนาวิธีการเลือกตัวอย่างอย่างชัดเจน
iii. แผนการรวบรวมผู้ป่วย (Recruitment plans)
ในส่วนนี้ผู้วิจัยต้องอธิบายอย่างชัดเจนว่าวิธีการใดที่จะใช้ในการน าเข้ากลุ่มตัวอย่าง
ั
ผู้วิจัยควรจะเน้นถึงความเป็นไปได้และการน าเข้ากลุ่มตัวอย่างนั้นไม่ก่อให้เกิดปญหาในทาง
10