Page 155 - หลักการตลาด 3200-1003
P. 155
วิธีการกําหนดราคา (Price Determination)
ในการกําหนดราคาสินค้านั้น มีสิ่งที่กิจการจะต้องพิจารณาเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ
เช่น กําไร จากการขาย การยอมรับของผู้ซื้อ การเปรียบเทียบกับราคาของคู่แข่งขัน เป็นต้น ซึ่งต้อง
คํานึงถึงอนาคต หากกิจการต้องลดราคาสินค้าลงไปอีก ก็สามารถกระทําได้โดยไม่ขาดทุน
1. การกําหนดราคาจากต้นทุน (Cost Based Pricing) เป็นวิธีกําหนดราคาที่ง่ายและสะดวก ที่สุด โดย
ใช้ต้นทุนต่อหน่วยมาเป็นพื้นฐาน ซึ่งมีวิธีการกําหนดราคา ดังนี้
1.1 วิธีกําหนดราคาแบบ Cost-Plus การกําหนดราคาวิธีนี้นํามาใช้ในกรณีที่กิจการ ไม่สามารถ
คาดการณ์ต้นทุนของผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าได้ หรือต้นทุนของผลิตภัณฑ์ไม่แน่นอน กิจการ จึงต้องกําหนด
กําไรที่แน่นอนขึ้นมาก่อน และเมื่อทราบต้นทุนต่อหน่วยแล้วจึงนําต้นทุนนั้นไปบวกกับ กําไรที่ต้องการ
ดังนั้นถ้าต้นทุนต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์เปลี่ยนแปลงไป ราคาก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย สมการที่ใช้ในการ
กําหนดราคาแบบ Cost-Plus มีดังนี้
ราคาขาย = กําไรต่อหน่วยที่ต้องการ + ต้นทุนต่อหน่วย
ตัวอย่างที่ 1 กิจการจําหน่ายเครื่องเขียนแห่งหนึ่ง ต้องการกําไรจากการขายร้อยละ 30 ของต้นทุนต่อ
หน่วย โดยได้ซื้อปากกามาในราคาด้ามละ 10 บาท ดังนั้นกิจการจะต้องกําหนด ราคาขายดังนี้
30
กําไรที่ต้องการ =
100
= 0.3 บาท
ต้นทุนต่อหน่วย = 10 บาท
ดังนั้น กําไรที่ต้องการของต้นทุนต่อหน่วยเท่ากับ 3 บาท (0.3 x 10)
จากสมการ ราคาขาย = กําไรต่อหน่วยที่ต้องการ + ต้นทุนต่อหน่วย
แทนค่า ราคาขาย = 3 + 10
กิจการจะต้องกําหนดราคาขาย = 13 บาท
1.2 วิธีกําหนดราคาแบบ Mark up เป็นการบวกส่วนเพิ่มโดยใช้สมการ ดังนี้
Price = Cost + Mark up หรือ ราคา = ทุน + ส่วนเพิ่ม
วิธีการคํานวณ Mark up มีดังนี้
1) Mark up on Cost หรือ Mark on คือ การกําหนดเป็นร้อยละจากราคาทุน
2) Mark up on Seling Price หรือ Mark up คือ การกําหนดเป็นร้อยละจากราคาขาย วิธีนี้
ใช้มากในธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง โดยมีพื้นฐานการคํานวณมาจากต้นทุนเช่นเดียวกัน
148