Page 68 - หลักการตลาด 3200-1003
P. 68
2. การเลือกส่วนตลาด (Selecting the Market Segment)
หลังจากที่ประเมินค่าส่วนตลาดแล้วอาจพบว่ามีส่วนตลาดที่ควรกําหนดเป็นตลาดเป้าหมาย
มากกว่าหนึ่งส่วนตลาด จึงเลือกตลาดส่วนที่มีความเหมาะสมเป็นตลาดเป้าหมายโดยมีวิธีเลือกดังนี้
2.1 การตลาดแบบไม่แตกต่าง หรือการตลาดที่เหมือนกัน (Undifferentiated Marketing)
การตลาดแบบไม่แตกต่าง หรือการ เป็นกรณีที่ธุรกิจมองว่าตลาดมีความต้องการเหมือนกัน แล้วเสนอ
ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีความแตกต่างกันเพียงหนึ่งรูปแบบ หรือเป็นการเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานเดียวกัน
แล้วเข้าสู่ตลาดโดยไม่มีการแบ่งส่วนตลาด เพื่อให้สนองความต้องการของผู้บริโภคส่วนมาก
การเลือกตลาดแบบไม่แตกต่างนี้ จะสามารถช่วยประหยัดต้นทุนการดําเนินงานเนื่องจากใช้
หลักการผลิตสินค้ารูปแบบเดียวกันในปริมาณมาก ทําให้ลดต้นทุนการผลิต ลดค่าโฆษณา และค่าใช้จ่าย
ในการวางแผนการตลาด สรุปกลยุทธ์ที่ใช้มีดังนี้
(1) การเลือกตลาดรวมเป็นตลาดเป้าหมายเพียงตลาดเดียว โดยถือว่าตลาดมีความ ต้องการที่
คล้ายกันหรือไม่แตกต่างกัน
(2) ใช้ส่วนประสมทางการตลาด 1 ชุด ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า จํานวนมาก
(3) มุ่งความสําคัญที่การผลิต ทําให้เกิดการประหยัดจากขนาดของการผลิต นิยม ใช้ในการแบ่ง
ส่วนตลาดสําหรับสินค้าหรือบริการขั้นพื้นฐานในการครองชีพของผู้บริโภค เช่น ข้าวสาร เกลือ น้ำตาล
เป็นต้น
4 P’s ตลาดเดียวเท่านั้น
2.2 การตลาดแบบแตกต่าง หรือการตลาดมุ่งต่างส่วน (Differentiated Marketing) เป็น
กรณีที่ ธุรกิจเลือกตลาดเป้าหมายที่มีความแตกต่างกันมากกว่าหนึ่งกลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีความ
ต้องการ ที่ไม่เหมือนกัน จึงต้องออกแบบผลิตภัณฑ์และพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดที่มีความ
หลากหลาย เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายในแต่ละส่วน
การเลือกตลาดแบบแตกต่างนี้จะสามารถสร้างความพึงพอใจและสนองความต้องการ ของ
ผู้บริโภคได้มาก ส่งผลให้ธุรกิจสามารถสร้างยอดขายได้มากในทุกๆส่วนของตลาด แต่ขณะเดียวกัน ก็มี
ข้อจํากัดคือ ต้องใช้ต้นทุนค่าใช้จ่ายสูง เช่น ต้นทุนเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง และต้นทุนการส่งเสริม
การตลาด เป็นต้น สรุปกลยุทธ์ที่ใช้มีดังนี้
(1) ใช้กลยุทธ์การตลาดมุ่งหลายส่วน
(2) เป็นการเลือกกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการที่แตกต่างกันสองกลุ่มขึ้นไป
(3) พัฒนาส่วนประสมทางการตลาดที่แตกต่างกัน เพื่อสนองความต้องการใน แต่ละส่วนตลาด
ที่เลือกเป็นเป้าหมาย
61