Page 119 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 119
ส่วนที่ ๓ หน้า ๑๐๗
ซึ่งมีใจความหลักว่า ระบบโสเภณีนั้นขัดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รัฐสมาชิกมีหน้าที่ด าเนินการกับบุคคลที่สาม
ที่ก่อให้เกิดการค้าประเวณี และช่วยเหลือหญิงที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ แนวคิด Abolitionism มีการใช้
อย่างแพร่หลายในประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศอังกฤษ แคนาดา อินเดีย รวมถึงประเทศไทย อย่างไรก็ตาม
หลักการดังกล่าวได้ถูกวิจารณ์ว่า มองเห็นผู้หญิงค้าประเวณีเป็นเหยื่อไปหมดแล้ว ทั้ง ๆ ที่ผู้หญิงบางคนได้เลือก
อาชีพโสเภณีด้วยตนเองเพราะเป็นอาชีพที่มีรายได้สูง อย่างไรก็ดี แนวคิดลักษณะนี้จะท าให้ผู้หญิง เด็ก และ
สังคมมีความปลอดภัยทางเพศมากขึ้น
๕. แนวคิดนอร์ดิกส์ (The Nordic)
ั
นอร์ดิกส์พฒนามาจากแนวคิดยกเลิกการค้าประเวณี (Abolitionism) ซึ่งมีบทลงโทษ
ส าหรับบุคคลที่เกี่ยวข้องที่ก่อให้เกิดการค้าประเวณี อาทิ เจ้าของสถานบริการ ผู้จัดหา หญิงผู้ให้บริการ
รวมทั้งลูกค้า แต่ในความเป็นจริงแล้วต ารวจไม่มีการด าเนินคดีใด ๆ กับลูกค้าที่ซื้อบริการทางเพศ และผู้ที่
ถูกด าเนินคดีส่วนใหญ่คือหญิงและเด็กที่ให้บริการทางเพศ และจากความล้มเหลวของแนวคิดการยกเลิก
การค้าประเวณีนี้ ท าให้เกิดแนวคิดนอร์ดิกส์ขึ้นมาและมีการเริ่มต้นจากประเทศสวีเดน โดยเน้นมุ่งแก้ไข
ด้านความต้องการหรืออุปสงค์ของการซื้อบริการทางเพศ (demand approach) โดยจะมีการลงโทษผู้ซื้อ
บริการทางเพศแต่จะไม่เอาผิดกับหญิงค้าบริการ โดยถือปรัชญาที่ว่าผู้ที่ขายบริการทางเพศคือเหยื่อและถูก
เอาเปรียบจากผู้เป็นธุระจัดหาหญิงมาค้าประเวณีและผู้ซื้อบริการ นอกจากการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย
ื่
แล้ว นอร์ดิกส์ยังมีโครงการการศึกษาเพอกีดกันการซื้อขายการบริการทางเพศและครอบคลุมถึงการ
สนับสนุนทางด้านสังคมและเศรษฐกิจที่ส าคัญเพื่อช่วยเหลือผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะออกจากธุรกิจการค้าประเวณี
แนวทางนี้ประสบผลส าเร็จอย่างมากในประเทศสวีเดน และในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย
เช่น ประเทศนอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และฟนแลนด์ โดยประเทศดังกล่าวได้น าแนวคิดนอร์ดิกส์มาปรับใช้ด้วย
ิ
ยกเว้นประเทศเดนมาร์กซึ่งเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคนี้ที่ไม่ได้ใช้แนวคิดนอร์ดิกส์ อนึ่ง ผลของการส ารวจ
พบว่า มีอัตราโสเภณีที่เพมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศเดนมาร์กเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ใน
ิ่
เครือนอร์ดิกส์
ส าหรับประเทศที่ให้การค้าประเวณีเป็นเรื่องถูกกฎหมาย จ าแนกได้ ดังนี้
กลุ่มประเทศเอเชีย – ออสเตรเลีย
๑. สิงคโปร์ ผู้ค้าประเวณีไม่มีความผิด เนื่องจากประเทศสิงคโปร์มีแนวคิดว่า หากการค้าประเวณี
ี
เป็นการผิดกฎหมายแล้วก็จะส่งผลกระทบในเชิงลบ เช่น ก่อให้เกิดแก๊งมาเฟย การก่ออาชญากรรม การค้ามนุษย์
และความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าการค้าประเวณีถูกต้องตามกฎหมาย
อย่างเต็มที่ เนื่องจากผู้ค้าประเวณีชาวต่างชาติจะถูกควบคุมโดยกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและกิจกรรม
การท างานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณีมีความผิดทางอาญา เช่น การใช้สถานที่สาธารณะเพอ
ื่
การค้าประเวณี การแสวงหาประโยชน์จากหญิงบริการ การเป็นเจ้าของสถานที่ค้าประเวณี
๒. อินเดีย ถือว่าการค้าประเวณีโดยตนเองไม่ถือว่าผิดกฎหมาย แต่มีบทลงโทษการค้าประเวณี
ที่กระท าในลักษณะเป็นการรบกวนและก่อความร าคาญแก่ผู้อื่น มีการลงโทษการค้าหญิงและเด็ก การเปิด
สถานค้าประเวณี การเป็นธุระจัดหา และการให้เช่าสถานที่เพื่อการค้าประเวณี
๓. บังคลาเทศ การขายบริการและธุรกิจการค้าประเวณี ในประเทศบังคลาเทศถือว่าถูกกฎหมาย
แต่จ ากัดให้กระท าได้เฉพาะเพศหญิงเท่านั้น