Page 118 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 118
หน้า ๑๐๖ ส่วนที่ ๓
และถูกเอารัดเอาเปรียบจากเพศชายหรือระบบชายเป็นใหญ่เหมือนกัน แนวคิดนี้ใช้ในสหรัฐอเมริกา
(ยกเว้นรัฐเนวาดา) ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศญี่ปุ่น
๒. แนวคิดการค้าประเวณีไม่ใช่อาชญากรรม (Decriminalization)
ส าหรับระบบลักษณะนี้มีแนวคิดที่ว่าในสมัยก่อนสังคมอาจถือว่าการค้าประเวณีเป็นสิ่งที่
ผิดกฎหมาย แต่เมื่อได้มีการพิจารณาแนวทางอื่นในการรับมือกับปัญหาดังกล่าวแล้วพบว่า ควรมีการเสนอ
ให้ยกเลิกกฎหมายที่จะจับกุมลงโทษผู้ค้าประเวณี และให้ใช้กฎหมายอาญาและกฎหมายอื่น ๆ ด าเนินการ
กับผู้แสวงหาผลประโยชน์บังคับค้าผู้หญิง แต่ในขณะเดียวกันให้ผู้หญิงสามารถค้าประเวณีได้โดยไม่ต้องถูก
จับกุมลงโทษ แนวคิดนี้ส่งเสริมให้หญิงค้าประเวณีไม่ถูกแสวงหาผลประโยชน์จากร่างกายของตน มีการรับรอง
คุ้มครอง และให้สิทธิแก่ผู้ค้าประเวณีในฐานะพลเมืองคนหนึ่ง มีการจัดระเบียบด้านสาธารณสุข แนวคิด
เช่นนี้เองที่มิได้ถือว่าผู้ค้าประเวณีเป็นอาชญากรเหมือนกับอาชญากรอื่นนั้น เป็นผลให้เกิดการยกระดับ
คุณภาพชีวิตการท างานของหญิงค้าประเวณีเป็นอย่างมาก ซึ่งประเทศที่ใช้แนวคิดลักษณะนี้ได้แก่ประเทศ
ออสเตรเลีย (ยกเว้นรัฐวิกตอเรีย) และนิวซีแลนด์
๓. แนวคิดการค้าประเวณีเป็นสิ่งถูกกฎหมาย (Legalization)
แนวคิดนี้ยอมรับว่าการค้าประเวณีเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย มีการก าหนดให้โสเภณีและสถาน
บริการค้าประเวณีต้องจดทะเบียนให้เป็นกิจจะลักษณะ โดยถือว่าโสเภณีเป็นอาชีพที่ถูกกฎหมาย
และอนุญาตให้มีการเปิดสถานบริการ โดยมีเจ้าของของสถานบริการและแม่เล้าซึ่งเป็นตัวแทนจากรัฐให้เป็น
ผู้ควบคุมดูแล และอนุญาตให้โสเภณีท าการค้าประเวณีในสถานบริการการค้าประเวณีที่ได้รับการจดทะเบียน
ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น ซึ่งสถานประกอบการค้าประเวณีจะถูกก าหนดอยู่ในบริเวณเฉพาะห่างไกล
จากโรงเรียน หมู่บ้าน เป็นต้น โดยภายใต้ระบบดังกล่าว จะมีการน ากฎหมายอาญา กฎหมายแรงงาน
คุ้มครองโสเภณี รวมทั้งมีการควบคุมด้านสุขอนามัย การตรวจสุขภาพโสเภณีตามระยะเวลาที่ก าหนด
โดยเฉพาะการป้องกันและการแพร่เชื้อโรคมาใช้ก ากับดูแลหญิงค้าบริการอีกด้วย
แนวคิดแบบ Legalization นี้มีประโยชน์ในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ
ทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก นอกจากนั้น รัฐก็ยังได้รับประโยชน์จากการจัดเก็บภาษีจากการค้าประเวณีอีกด้วย
แนวคิดนี้อาจช่วยลดการประพฤติโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ต ารวจ และการเอารัดเอาเปรียบหญิงค้าบริการ
โดยผู้เป็นธุระจัดหา แต่ผลที่ตามมาจากการด าเนินนโยบายในลักษณะนี้จะท าให้การค้าประเวณีกลายเป็น
สถาบันที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งขัดต่อหลักอนุสัญญาขององค์การสหประชาชาติที่หลาย ๆ ประเทศเป็นภาคี
แนวคิดนี้มีการใช้ในรัฐเนวาดา สหรัฐอเมริกา รัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย ประเทศเนเธอร์แลนด์
และประเทศเยอรมนี
๔. แนวคิดยกเลิกการค้าประเวณี (Abolitionism)
แนวคิดนี้เป็นการผสมผสานระหว่างแนวคิดการค้าประเวณีเป็นสิ่งถูกกฎหมาย (Legalization)
และแนวคิดห้ามการค้าประเวณี (Prohibitionism) โดยมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการขจัดการค้าประเวณีให้หมดไป
ถือว่าการค้าประเวณีโดยตัวมันเองไม่ผิดกฎหมาย แต่กฎหมายังคงมีการลงโทษการค้าผู้หญิงและเด็ก ตลอดจน
การเป็นธุระจัดหา โดยมีการใช้มาตรการการช่วยเหลือผู้ที่ถูกค้าและจัดการลงโทษนักค้ามนุษย์ เป็นต้น
โดยแนวคิดดังกล่าวได้รับอิทธิพลส่วนหนึ่งจากอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการปราบปรามการค้าบุคคล
และการแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีของบุคคลอื่น (United Nations Convention for the
Suppression of the Traffic in Persons and the Exploitation of the Prostitution of Others 1949)