Page 168 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 168

หน้า ๑๕๖                                                                             ส่วนที่ ๓



                           เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ประธานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

               มอบหมายผู้แทนจากส านักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการแจ้งว่า
               กฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค ที่บังคับใช้ในปัจจุบัน คือ กฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งมีการก าหนดโรค

               ที่เป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการพลเรือนไว้ ๕ โรค คือ (๑) วัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ
                                                                                                        ิ
               (๒) โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม (๓) โรคติดยาเสพติดให้โทษ (๔) โรคพษสุรา
               เรื้อรัง และ (๕) โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและเป็นอุปสรรคต่อการ

               ปฏิบัติงานในหน้าที่ตามที่ ก.พ. ก าหนด
                                                 ิ
                           การด าเนินการเมื่อได้พจารณาให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. ๒๕๕๓
               ที่มีการใช้มาเป็นเวลาพอสมควรแล้ว ประกอบกับมีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้นเป็นจ านวนมากนั้น ส านักงาน ก.พ.
                                                                                ื่
               ได้มีหนังสือแจ้งไปยังส่วนราชการ จ านวนทั้งสิ้น ๒๒๐ หน่วยงาน เพอส ารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับ
               เรื่องโรคและน าข้อมูลทั้งหมดที่หน่วยงานได้ตอบกลับมาเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ.

               ที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งมีปลัดกระทรวงสาธารณสุข
                             ื่
                                ิ
               เป็นประธาน เพอพจารณา โดยที่ประชุมคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. ได้พจารณาให้ยกเลิก “วัณโรคในระยะ
                                                                                ิ
               แพร่กระจายเชื้อ” ออกจากโรคที่เป็นลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะเข้ารับราชการพลเรือน เนื่องจากเห็นว่า
                                                                 ิ่
               น่าจะรักษาได้ในระยะเวลาอันสั้น และได้พจารณาให้เพม “โรคจิต (Psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ
                                                      ิ
               (Mood Disorders) ที่ปรากฏอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรังและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่”
                                              ิ่
                                                                                                            ์
               เป็นลักษณะต้องห้าม พร้อมทั้งเพม วิธีการตรวจโรคทางร่างกาย และจิตใจ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ
               และวิธีการที่คณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. ก าหนด จากนั้นส านักงาน ก.พ. ได้น าร่างกฎ ก.พ. ฉบับนี้ เสนอต่อ
               ที่ประชุมคณะอนุกรรมการวิสามัญ (อ.ก.พ. วิสามัญ) เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบของส านักงาน ก.พ.
               ซึ่งมีเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นประธาน และมีผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย อดีตรองประธาน

               ศาลปกครองสูงสุด อาจารย์มหาวิทยาลัย อัยการ และผู้แทนศาลยุติธรรม โดยที่ประชุมได้มีการพจารณา
                                                                                                      ิ
               กลั่นกรองถ้อยค าตามกฎหมาย และจึงได้เสนอต่อคณะกรรมการ ก.พ. และคณะรัฐมนตรี ตามล าดับ
                           ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... เมื่อวันที่ ๒๐

               กันยายน ๒๕๖๕ ท าให้หลายภาคส่วนได้มีข้อเสนอแนะในเรื่องโรค เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
               แห่งชาติเห็นควรให้ตัดถ้อยค าที่ได้มีการเพมเข้าไปในร่างกฎ ก.พ. ฉบับใหม่นี้ออกทั้งหมด และให้กลับไปใช้
                                                    ิ่
                                                                      ั
               ถ้อยค าตามกฎ ก.พ. ฉบับเดิม และคณะกรรมาธิการการพฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี
               ผู้สูงอายุ คนพการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ที่ได้มีการเชิญผู้แทนส านักงาน ก.พ. ไปชี้แจงและให้ข้อมูล
                            ิ
                                                                                             ิ่
               รวมทั้งองค์กรภาคประชาสังคมหลายองค์กร ได้มีความเห็นว่าควรตัดถ้อยค าที่มีการเพมเข้าไปในร่างกฎ
               ก.พ. ฉบับใหม่นี้ออกทั้งหมด เป็นต้น โดยในประเด็นนี้ นายวิษณุ  เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้
               ส านักงาน ก.พ. ไปหารือร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และหน่วยงาน

               ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
                           ทั้งนี้ การก าหนดเรื่องโรคจิตเป็นลักษณะต้องห้ามที่มีการใช้ก่อนหน้านี้แล้ว คือ ๑) กฎ ก.ตร.
               ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการต ารวจ พ.ศ. ๒๕๔๗ และ ๒) กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยโรค

               ที่มีลักษณะต้องห้ามเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งจากการประสานสอบถาม
               ไปยังหน่วยงานที่ใช้กฎทั้งสอง ได้แก่ ส านักงานต ารวจแห่งชาติ มหาวิทยาลัยรามค าแหง มหาวิทยาลัยทักษิณ

               และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเบื้องต้นไม่ปรากฏว่ามีปัญหาแต่อย่างใด
   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173