Page 52 - Psychology
P. 52

หน้ า  | 49

               กัน เช่น บทบาทการเป็นนิสิต เป็นเพื่อน หรือลูกค้า ฯลฯ เราอาจแยกบทบาททางสังคมออกได้อย่างเป็นระบบ
               โดยใช้โครงสร้างทางสังคมและกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นตัวชี้บทบาท นักสังคมวิทยากล่าวว่า

               สังคมปรากฏอยู่ในโลกนี้มานานก่อนที่ปัจเจกบุคคลจะก้าวเข้ามาแสดงบทบาทบนเวทีแห่งนี้ และสังคมยัง
               กําหนดกฎเกณฑ์ทางสังคมมากมายเพื่อกํากับพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งเรียกกันว่าเป็นบรรทัดฐานทางสังคม (Social
               Norms) แต่บางครั้งกฎเกณฑ์บางอย่างกําหนดไว้สําหรับบังคับต่อคนที่อยู่ในตําแหน่งเท่านั้น เช่น อาจารย์ถูก
               คาดหวังว่าจะเข้าสอนในชั้นเรียนตรงเวลา เตรียมสอน นําการอภิปราย ออกข้อสอบ ตักเกรด ทํางานวิจัย เขียน

               บทความ และเป็นกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่มหาวิทยาลัยมอบหมาย เป็นต้น ขณะที่นิสิตมี
               บทบาทในการเรียนในชั้นเรียน ศึกษาทําความเข้าใจเพื่อสอบ ค้นคว้า ทํารายงาน เป็นต้น ดังนั้น บทบาททาง
               สังคม (Social Role) จึงหมายถึง กลุ่มของบรรทัดฐาน (Set of Norms) ที่เหมาะสมกับผู้คนในตําแหน่งต่าง ๆ
               เช่น อาจารย์ นิสิต ฯลฯ ซึ่งมีบทบาทเบ็ดเสร็จอยู่แล้วในสังคมที่เมื่อผู้ใดสวมบทบาทนั้นก็สามารถแสดง

               พฤติกรรมนั้น ๆ ได้เลย แล้วยังเรียนรู้บทบาทของคนอื่น ๆ ไปด้วยในการปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน  หรือที่เห็น
               ทั่วไปในสังคม และแม้แต่อาชญากรก็เรียนรู้ที่จะสวมบทบาทอาชญากรจากที่เคยเห็นมาก่อน
   47   48   49   50   51   52   53   54