Page 50 - Psychology
P. 50
หน้ า | 47
1) ศึกษาวิธีการที่ผู้คนรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสังคม เช่น ทําไมคนบางคนจึงสนใจเรื่องบางเรื่องแต่
ไม่สนใจเรื่องบางเรื่อง ตัวอย่างเช่น ทําไมคนจึงไม่สนใจคนอื่นที่ยกมือเกาคางให้เห็น แต่ถ้าเขาร้องตะโกนเรา
จึงจะสนใจ เป็นต้น
2) ศึกษาอิทธิพลของสังคมที่มีต่อผู้คนในการประมวลข่าวสารเข้าด้วยกันเพื่อสร้างความประทับใจ
และเพื่อการตัดสินใจ ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กกําลังเลือกตัดสินใจเรียนมหาวิทยาลัยหนึ่งในสองแห่งได้เดินทางไป
เยี่ยมมหาวิทยาลัยนั้นเพื่อดูว่ามหาวิทยาลัยแห่งใดน่าสนใจกว่ากัน เด็กอาจพูดคุยได้รับข้อมูลข่าวสารสั้น ๆ
ประมวลข่าวสารข้อมูลเข้าด้วยกันและได้ข้อสรุป เขาสรุปได้อย่างไรว่ามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งอบอุ่นและเป็น
มิตรมากกว่าอีกแห่งหนึ่ง
3) ศึกษาการตรวจสอบความทรงจําทางสังคมว่าปัจเจกบุคคลจดจําและลําดับข้อมูลข่าวสารได้
อย่างไร ตัวอย่างเช่น ประจักษ์พยานที่เห็นการฆาตกรรมด้วยตนเองจดจําเหตุการณ์ได้อย่างไร และพนักงาน
อัยการช่วยเหลือพยานบุคคลให้จดจํารายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นต้น
แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้แตกต่างจากแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ 2 ประการ คือ
1) การรับรู้เน้นที่การรับรู้ ณ สถานการณ์ปัจจุบัน มากกว่าการเรียนรู้ที่ผ่านมาในอดีต
2) การรับรู้เน้นที่ความสําคัญของการรับรู้ส่วนบุคคล หรือ กระบวนการแปลความหมายสถานการณ์
ที่เกิดของแต่ละบุคคลมากกว่า “สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง” ซึ่งมีบุคคลที่สามที่เป็นกลางเห็นเหตุการณ์และ
อธิบายตามที่เกิดขึ้นจริง
3. ทฤษฎีแรงจูงใจ (Motivational Theories)
แนวคิดอีกลักษณะหนึ่งที่จะกล่าวถึงคือ แนวคิดเกี่ยวกับความต้องการและแรงจูงใจของปัจเจกบุคคล
ทั้งประสบการณ์ในชีวิตประจําวันและงานวิจัยทางจิตวิทยาสังคม ล้วนแสดงให้เห็นตัวอย่างของความต้องการที่
มีอิทธิพลต่อการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของบุคคล ตัวอย่างเช่น ในการเพิ่มพูนความเคารพนับถือตนเอง
(Self-Esteem) ความพึงพอใจในตนเอง และคงความรู้สึกดี ๆ ต่อตนเองให้อยู่ต่อไป เราอาจตําหนิ
ติเตียนผู้อื่นแทนการยอมรับความผิดพลาดของเรา ทีวีก็ใช้ความรู้สึกกลัวของผู้คนเพื่อประโยชน์ในการโฆษณา
สินค้าต่าง ๆ
กลุ่มแนวคิดฟรอยด์เดียนหรือกลุ่มจิตวิเคราะห์เชื่อว่าแรงจูงใจของมนุษย์เกิดจากปัจจัยที่มีบทบาท
สําคัญสองสามประการ คือ แรงขับ (Drive) หรือพลังอํานาจที่เร่งเร้ามาตั้งแต่เกิด โดยเฉพาะแรงขับประเภท
แรงขับทางเพศ (Sex Drive) และความก้าวร้าว (Aggressive) ในทางตรงกันข้าม นักจิตวิทยาสังคมได้เน้น
วิธีการที่อธิบายสถานการณ์เฉพาะ และสัมพันธภาพทางสังคมว่าสามารถสร้างความต้องการ (Needs) และ
แรงจูงใจ (Motivation) ได้มากกว่าแรงับตามแนวคิดของฟรอยด์ ตัวอย่างเช่น การออกจากบ้านมาพักที่หอพัก
ได้สร้างความรู้สึกเงียบเหงา ว้าเหว่ และโดดเดี่ยวให้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในกลุ่มหนุ่มสาวชาวมหาวิทยาลัย ทําให้
เกิดความพยายามแสวงหาเพื่อนกลุ่มใหม่ ๆ สร้างให้เกิดชมรมต่าง ๆ ขึ้นเพื่อรวมกลุ่มทํากิจกรรมกัน หรือไป
งานเลี้ยงสังสรรค์ หรือพูดคุยกับคนแปลกหน้าที่ห้องอาหาร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความต้องการที่ต้องการ
เพื่อน ต้องการรวมกลุ่มยังชักนําให้ผู้คนเข้ารวมกลุ่มดื่มสุราและเสพยาเสพติดอีกด้วย ซึ่งสถานการณ์เหล่านั้น
เพียงแต่นําไปสู่พฤติกรรมที่แสดงออกเพื่อลดระดับความต้องการของบุคคลลงเท่านั้น