Page 49 - Psychology
P. 49
หน้ า | 46
บุคคลไม่เพียงแต่สังเกตเท่านั้นแต่ลอกเลียนแบบอย่างพฤติกรรมอย่างจงใจจากตัวแบบนั้นการเรียนรู้ด้วยการ
สังเกตสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่จําเป็นต้องมีแรงเสริมพฤติกรรมใดๆ อย่างไรก็ตามเห็นแบบจะเลียนแบบ
พฤติกรรมที่มีอิทธิพลต่อเขาหรือไม่ยังขึ้นอยู่กับว่าพฤติกรรมนั้นก่อให้เกิดผลบางอย่างตามมาแก่เขาหรือไม่เช่น
เด็กชายเล็กๆอาจเรียนรู้สิ่งต่างๆมากมายจากการสังเกตพฤติกรรมการเล่นตุ๊กตาของน้องสาวแต่เขาไม่กล้าเล่น
ตุ๊กตาเช่นเดียวกับที่เห็นน้องสาวเล่น เพราะบิดามารดาจะว่ากล่าวตอกย้ําบ่อยครั้งว่า “ตุ๊กตาไม่ใช่ของเล่น
ของเด็กผู้ชาย” เป็นต้น
หลักการเรียนรู้ มีลักษณะพิเศษ 3 ประการคือ
1. สาเหตุพฤติกรรมเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเรียนรู้ตามภูมิหลังของแต่ละบุคคล ตัวอย่างเช่น
อาชญากรยิงตํารวจอาจเป็นเพราะเขาเคยประสบกับตํารวจที่หยาบคาย ก้าวร้าว และไม่เห็นอกเห็นใจผู้อื่นมา
ก่อนบางทีอาชญากรอาจเคยได้รับแรงเสริมพฤติกรรมจากการตอบโต้สถานการณ์ความขัดแย้งด้วยความรุนแรง
แล้วแก้ปัญหาได้ ขณะที่เมื่อไม่ใช้ความรุนแรงในสถานการณ์ทํานองเดียวกันแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาได้หรือ
บางทีบิดาของเขาอาจจะทําต่อเขาด้วยวิธีการที่รุนแรงเขาจึงเรียนรู้ที่จะเรียนแบบและกระทําพฤติกรรมตาม
อย่างตัวแบบที่ก้าวร้าวรุนแรงก็เป็นได้ นักจิตวิทยาการเรียนรู้ให้ความสนใจกับร่องรอยของประสบการณ์ใน
อดีตอย่างมากขณะที่สนใจทราบรายละเอียดเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันน้อยกว่า
2. หลักการเรียนรู้มีแนวโน้มที่จะสนใจสาเหตุพฤติกรรมที่เกิดจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายนอก
มากกว่าการแปลความหมายเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล และเชื่อในวิธีการที่ผู้คนตอบสนองต่อการกระทําของ
คนอื่นๆๆและการเรียนแบบตัวแบบซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยภายนอกของแต่ละบุคคล
3. หลักการเรียนรู้มีเป้าหมายที่จะอธิบายพฤติกรรมที่แสดงออก (overt behavior) มากกว่าที่จะ
อธิบายถึงเรื่องของจิตใจ หรือผู้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ (คือพยายามอธิบายว่าทําไมอาชญากรจึงยิงตํารวจ)มากกว่า
สนใจว่าเป็นเพราะสาเหตุจากอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ (คือเป็นเพราะเขารับรู้ว่าตํารวจกําลังจะยิงเขาเขาจึงป้องกัน
ตนเอง)หรือสนใจอารมณ์ความรู้สึกที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรม (คืออาชญากรกําลังโกรธหรือกลัว) เป็นต้น
2. ทฤษฎีการรับรู้ (Cognitive Theories)
แนวคิดสําคัญสําหรับทฤษฎีการรับรู้คือเชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์ขั้นกับวิธีการที่เขารับรู้สถานการณ์ทาง
สังคม โดยบุคคลจะจัดระบบการรับรู้ ความคิด ความเชื่อของตนเองโดยอัตโนมัติเกี่ยวกับสถานการณ์ทั่วไป
และสถานการณ์ที่มีความหมาย ไม่ว่าสถานการณ์จะยุ่งเหยิงแค่ไหน ผู้คนจะสามารถสั่งการและจัดระบบ
การรับรู้ ความคิด และความเชื่อของตนได้ ซึ่งการจัดระบบ การรับรู้ และการตีความความเป็นไปของโลก
เหล่านี้ล้วนมีนัยสําคัญเป็นผลกระทบต่อพฤติกรรมของบุคคลนั้นในสถานการณ์ต่าง ๆ
เลวิน อธิบายการรับรู้ตามแนวคิดของกลุ่มเกสตอลท์ในเชิงจิตวิทยาสังคมว่าเป็น “สนามทางจิตวิทยา
ของบุคคล” (Person’s Psychological Field) ซึ่งพฤติกรมของบุคคลนั้นได้รับผลกระทบจากบุคลิกภาพ
ส่วนตัว (เช่น ความสามารถ บุคลิกภาพ พันธุกรรม) และสังคมแวดล้อมตามที่เขารับรู้
นอกจากนี้ ผู้คนยังรับรู้บางสิ่งโดดเด่นออกมาเป็นภาพ (Figure) และบางส่วนเป็นเพียงพื้นหรือฉาก
หลัง (Ground)
งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า สาเหตุของการให้เหตุผล (Attribution) และวิธีการที่ผู้คนใช้ข้อมูลข่าวสารใน
การพิจารณาสาเหตุของพฤติกรรมสังคมต่าง ๆ เช่น ในกลุ่ม ในสถานการณ์สังคม ฯลฯ เพื่อศึกษาแง่มุมต่าง ๆ
เป็นเรื่องที่น่าสนใจยิ่ง ซึ่งได้แก่