Page 44 - Psychology
P. 44

หน้ า  | 41

               การวัดบุคลิกภาพ (Personality Characteristics Subject to Appraisal)
                      บุคลิกภาพของบุคคลเป็นผลของพัฒนาการ ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นลักษณะรวมที่บุคคลแสดงพฤติกรรม

               ต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น บุคลิกภาพจึงเป็นผลของพัฒนาการและผลของการ เข้าเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
               ผสมผสานกัน การจะเข้าใจบุคลิกภาพจําเป็นจะต้องรู้ เกี่ยวกับประวัติพัฒนาการของบุคคล แต่การวัด
               บุคลิกภาพ เราวัดจากการเข้าเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน เราคํานึงถึงว่า ปัจจุบัน บุคคลเข้ากับคนอื่นได้ดี
               เพียงใด บุคลิกภาพแสดงออกได้หลายทาง ฉะนั้น จิตวิทยาจึงแบ่งบุคลิกภาพไว้แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความ

               คิดเห็นของแต่ละบุคคล แต่ก็มีบางอย่างที่ซ้อนกันอยู่ ซึ่งพอจะสรุปลักษณะของบุคลิกภาพของบุคคลได้ดังนี้
                      ลักษณะทางร่างกายและอารมณ์ (Physique and Temperament) ซึ่งได้แก่ ขนาดของรูปร่าง ความ
               สมบูรณ์แข็งแรง ท่าทาง ตลอดจนหน้าตา นอกจากนั้นยังมีลักษณะอารมณ์ของบุคคล เป็นคนมีความมั่นคง
               อ่อนไหวแค่ไหน สิ่งเหล่านี้เป็นลักษณะหนึ่งของบุคลิกภาพของบุคคลซึ่งมี ผลต่อคนอื่น และมีผลต่อตนเองด้วย

                      1.  เชาวน์ปัญญาและความสามารถอื่น ๆ (Intellectual and Other Abilities) บุคลิกภาพรวมไป
               ถึงสิ่งที่ทําให้บุคคลแตกต่างกันด้วย
                      2.  ค่านิยมและความสนใจ (Interests and Values) บุคลิกภาพจะสะท้อนให้เห็นถึงความสนใจ
               ตลอดจนค่านิยมที่บุคคลยึดถือ

                      3.  ทัศนคติทางสังคม (Social Attitudes) ทัศนคติเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพ เช่น แบบนิยมใช้
               อํานาจ จะเป็นคนที่ชอบบังคับ ใช้อํานาจ ไม่เชื่อใครง่ายๆ และมีอคติ พวก Dogmatism คิดว่าความเห็นของ
               ตนถูกต้องเสมอ หรือพวก Equalitarianism ที่เชื่อในเรื่องความเสมอภาค เท่าเทียมกัน

                      4.  แรงจูงใจ (Motivational Disposition) บางครั้งบุคคลทําสิ่งใด เพราะมีแรงจูงใจซึ่งอาจมีทั้ง
               จิตสํานึก (Conscious) และจิตใต้สํานึก(Unconscious) ทําให้แต่ละคนมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน
                      5.  ลักษณะการแสดงออก (Expressive and Stylistic Traits) บางครั้งเราแบ่งบุคคลเป็น style
               เช่น เป็นคนสุภาพ ชอบสังคม มีเหตุผล และวิจารณญาณ
                      6.  แนวโน้มของความผิดปกติทางจิต (Pathological Trends) โดยพิจารณาจากโรคจิตว่าบุคคลมี

               ลักษณะจิตใจแตกต่างจากบุคคลอื่นแค่ไหน
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49