Page 41 - Psychology
P. 41
หน้ า | 38
3.3 ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ (Primary Reinforcer) เป็นสิ่งเร้าที่จะสนองความต้องการทางอินทรีย์
โดยตรง ซึ่งเปรียบได้กับ UCS. ในทฤษฎีของพาฟลอฟ เช่น เมื่อเกิดความต้องการอาหาร อาหารก็จะเป็นตัว
เสริมแรงปฐมภูมิที่จะลดความหิวลง เป็นต้น ลําดับขั้นของการลดแรงขับของตัวเสริมแรงปฐมภูมิดังนี้
1. ความไม่สมดุลย์ในอินทรีย์ ก่อให้เกิดความต้องการ
2. ความต้องการจะทําให้เกิดพลังหรือแรงขับ (drive) ที่จะก่อให้เกิดพฤติกรรม
3. มีพฤติกรรมเพื่อจะมุ่งสู่เป้าหมาย เพื่อให้ความต้องการได้รับการตอบสนอง
4. ถึงเป้าหมาย หรือได้รับสิ่งที่ต้องการ สิ่งที่ได้รับที่เป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิ ตัวเสริมแรงที่จะ
เป็นรางวัลที่จะมีผลให้อยากทําซ้ํา และมีพฤติกรรมที่เข้มข้นในกิจกรรมซ้ํา ๆ นั้น
3.4 ตัวเสริมแรงทุติยภูมิ โดยปกติแล้วตัวเสริมแรงประเภทนี้เป็นสิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Natural
Stimulus) สิ่งเร้าที่เป็นกลางนี้ เมื่อนําเข้าคู่กับตัวเสริมแรงปฐมภูมิบ่อย ๆ เข้า สิ่งเร้าซึ่งแต่เดิมเป็นกลางก็
กลายเป็นตัวเสริมแรง และจะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับตัวเสริมแรงปฐมภูมิ เราเรียกตัวเสริมแรงชนิดนี้ว่า ตัว
เสริมแรงทุติยภูมิ ตัวอย่างเช่น การทดลองของสกินเนอร์ โดยจะปรากฎว่า เมื่อหนูกดคานจะมีแสงไฟสว่างขึ้น
และมีอาหารตกลงมา แสงไฟซึ่งแต่เดิมเป็นสิ่งเร้าที่เป็นกลาง ต่อมาเมื่อนําเข้าคู่กับอาหาร (ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ)
บ่อย ๆ แสงไฟก็จะกลายเป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิเช่นเดียวกับอาหาร แสงไฟจึงเป็นตัวเสริมแรงทุติยภูมิ
ตารางกําหนดการเสริมแรง (SCHEDULES OF REINFARCEMENT)
ตัวอย่างการให้การเสริมแรง
ตารางการเสริมแรง ลักษณะ ตัวอย่าง
ก า รเสริ มแรงทุ กครั้ ง เป็นการเสริมแรงทุกครั้งที่ ทุกครั้งที่เปิดโทรทัศน์แล้ว
(Continuous) แสดงพฤติกรรม เห็นภาพ
การเสริมแรงตามจํานวนครั้ง ให้การเสริมแรงโดยดูจาก การจ่ายค่าแรงตามจํานวน
ของการตอบสนองที่แน่นอน จํานวนครั้งของการตอบสนอง ครั้งที่ขายของได้
(Fixed - Ratio) ที่ถูกต้องด้วยอัตราที่แน่นอน
การเสริมแรงตามจํานวนครั้ง ให้การเสริมแรงตามจํานวนครั้ง การได้รับรางวัลจากเครื่อง
ของการตอบสนองที่ไม่แน่นอน ของการตอบสนองแบบไม่แน่นอน เล่นสล๊อตมาชีน
(Variable - Ratio)
การเสริมแรงความช่วงเวลาที่ ให้การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่ ทุก ๆ สัปดาห์ผู้สอนจะทํา
แน่นอน (Fixed - Interval) กําหนด การทดสอบ
การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่ ให้การเสริมแรงตามระยะเวลา ผู้สอนสุ่มทดสอบตามช่วงเวลา
ไม่แน่นอน ที่ไม่แน่นอน ที่ต้องการ
(Variable - Interval)
ลักษณะของตัวเสริมแรง
1. Material Reinforcers คือ ตัวเสริมแรงที่เป็นวัตถุสิ่งของ เช่น มือถือ ขนม
2. Social Reinforcers เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม