Page 37 - Psychology
P. 37

หน้ า  | 34

                      คาร์ล โรเจอร์ส (Carl Rogers) มีความเห็นว่า ธรรมชาติของมนุษย์เป็นสิ่งที่ดีและมีความสําคัญมาก
               โดยมีความพยายามที่จะพัฒนาร่างกายให้มีความเจริญเติบโตอย่างมีศักยภาพสูงสุด โรเจอร์ส ตั้งทฤษฏีขึ้นมา

               จากการศึกษาปัญหาพฤติกรรมของคนไข้จากคลินิกการักษาคนไข้ของเขา และได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับ
               บุคลิกภาพที่เกิดจากสุขภาพเป็นอย่างมาก ทฤษฏีของโรเจอร์เน้นถึงเกียรติของบุคคล ซึ่งบุคคลมีความสามารถ
               ที่จะทําการปรับปรุงชีวิตของตนเองเมื่อมีโอกาสเข้ามิใช่จะเป็นเพียงแต่เหยื่อในขณะที่มีประสบการณ์ในสมัยที่
               เป็นเด็ก หรือจากแรงขับของจิตใต้สํานึก แต่ละบุคคลจะรู้จักการสังเกตสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา โดยมี

               แนวทางเฉพาะของบุคคล กล่าวได้ว่า เป็นการับรู้สภาพสิ่งแวดล้อมซึ่งมีความสําคัญมาก โรเจอร์ เชื่อว่า มนุษย์
               ทุกคนมีตัวตน 3 แบบ
                      1.  ตนที่ตนมองเห็น (Self Concept) ภาพที่ตนเห็นเองว่าตนเป็นอย่างไร มีความรู้ความสามารถ
               ลักษณะเพราะตนอย่างไร เช่น สวย รวย เก่ง ต่ําต้อย ขี้อายฯลฯ การมองเห็นอาจจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริงหรือ

               ภาพที่คนอื่นเห็น
                      2.  ตนตามที่เป็นจริง (Real Self) ตัวตนตามข้อเท็จจริง แต่บ่อยครั้งที่ตนมองไม่เห็นข้อเท็จจริง
               เพราะอาจเป็นสิ่งที่ทํา ให้รู้สึกเสียใจ ไม่เท่าเทียมกับบุคคลอื่น เป็นต้น
                      3.  ตนตามอุดมคติ (Ideal Self) ตัวตนที่อยากมีอยากเป็น แต่ยังไม่มีไม่เป็นในสภาวะปัจจุบัน เช่น

               ชอบเก็บตัว แต่อยากเก่งเข้าสังคม เป็นต้น
                      ถ้าตัวตนทั้ง 3 ลักษณะ ค่อนข้างตรงกันมาก จะทําให้มีบุคลิกภาพมั่นคง แต่ถ้าแตกต่างกันสูง จะมี
               ความสับสนและอ่อนแอด้านบุคลิกภาพ

                      โรเจอร์วางหลักไว้ว่า บุคคลถูกกระตุ้นโดยความต้องการสําหรับการยอมรับนับถือทางบวก นั่นคือ
               ความต้องการความรัก การยอมรับและความมีคุณค่า บุคคลเกิดมาพร้อมกับความต้องการการยอมรับนับถือใน
               ทางบวก และจะได้รับการยอมรับนับถือ โดยอาศัยการศึกษาจากการดําเนินชีวิตตามมาตรฐานของบุคคลอื่น
                      ทฤษฏีของโรเจอร์กล่าวว่า “ตนเอง” (Self) คือการรวมกันของรูปแบบค่านิยม เจตคติการรับรู้และ
               ความรู้สึก ซึ่งแต่ละบุคคลมีอยู่และเชื่อว่าเป็นลักษณะเฉพาะของเขาเอง ตนเองหมายถึงฉันและตัวฉัน เป็น

               ศูนย์กลางที่รวมประสบการณ์ทั้งหมดของแต่ละบุคคล ภาพพจน์นี้เกิดจากการที่แต่ละบุคคลมีการเรียนรู้ตั้งแต่
               วัยเริ่มแรกชีวิต ภาพพจน์นั่นเองสําหรับบุคคลที่มีการปรับตัวดีก็จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างคงที่และมี
               การปรับตัวตามประสบการณ์ที่แต่ละคนมีอยู่

                      การสังเกตและการรับรู้เป็นเรื่องของตนเองที่ปรับให้เข้ากับสภาพสิ่งแวดล้อมในการทํางาน ตัวอย่าง
               เช่น พนักงานบางคนมีการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพต่อสภาพสิ่งแวดล้อมในการทํางานและการเป็นผู้นํา

               7.  ทฤษฎีการเรียนรู้แบบลงมือกระทําของ สกินเนอร์

                      สกินเนอร์มีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของ Pavlov นั้น จํากัดอยู่กับพฤติกรรม
               การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจํานวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิด
               จากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov  สกินเนอร์ได้แบ่ง พฤติกรรมของ
               สิ่งมีชีวิตไว้ 2 แบบ คือ

                      1.  Respondent Behavior คือพฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ หรือเป็น
               ปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) ซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เช่น การกระพริบตา น้ําลายไหล
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42