Page 33 - Psychology
P. 33
หน้ า | 30
อิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลเกือบทุกด้าน จนกระทั่งเมื่อเอ่ยถึงบุคคลใดขึ้นมาจะทําให้นึกถึงอุปนิสัยของเขา
ทันที
ข. อุปนิสัยร่วม (central traits) หมายถึง กลุ่มลักษณะอุปนิสัยที่บุคคลแสดงออกมาใน
สถานการณ์ต่าง ๆ เพียง 5-10 ลักษณะเท่านั้น ไม่ได้แสดงออกมาทั้งหมด แต่จะสามารถอธิบายถึงบุคลิกภาพ
ของบุคคลนั้นได้ใกล้เคียงมากที่สุด
ค. อุปนิสัยทุติยภูมิ (secondary traits) หมายถึง อุปนิสัยทั่วไปหลาย ๆ อย่างที่มีอยู่มากมาย
ในตัวบุคคลแต่เป็นอุปนิสัยแบบกว้างๆ ซึ่งโดยทั่วไปมักจะเกี่ยวกับความคิดเห็น ทัศนคติ รสนิยมในเรื่องใดเรื่อง
หนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ในการอธิบายบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลนั้น อัลล์พอร์ตจึงนิยมใช้อุปนิสัยส่วนบุคคลทั้งสามระดับ
มาเป็นปัจจัยในการพิจารณา ทั้งนี้เพราะอัลล์พอร์ตเชื่อว่าเมื่อมีสิ่งเร้าหรือมีสถานการณ์ใดเกิดขึ้น อุปนิสัย
เหล่านี้จะทําหน้าที่สร้างแรงจูงใจให้เกิดการแสดงพฤติกรรมเพื่อตอบสนองสถานการณ์หรือสิ่งเร้านั้น ๆ ใน
หลายรูปแบบ
สิ่งเร้า อุปนิสัย บุคลิกภาพ
คนถือของหนัก มีน้ําใจ - วิ่งเข้าไปช่วยถือ
- ซื้อน้ํามาให้ดื่ม
- วิ่งไปเอารถเข็นมารับ
รูปที่ 13 แผนภูมิแสดงให้เห็นว่าบุคลิกภาพเป็นไปตามอุปนิสัยของแต่ละบุคคลตามทฤษฎีของอัลล์พอร์ต
4.2 ทฤษฎีลักษณะเฉพาะของแคตเตลล์ (Cattell’s Traits Theory) เรมอนด์ บี. แคตเตลล์
(Raymond B. Cattell; 1905) นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ มีชื่อเสียงเกี่ยวกับทฤษฎีบุคลิกภาพท่านหนึ่ง ระหว่าง
ที่เขาศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยคิง (King University) ในกรุงลอนดอน เขาได้มีโอกาสเป็นผู้ช่วยนักจิตวิทยาที่มี
ชื่อเสียงหลายท่าน ทําให้แคตเตลล์ได้รับแนวคิดจากการใช้วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor analysis) และ
วิธีการทางสถิติมาช่วยในการอธิบายทฤษฎีบุคลิกภาพของเขา ดังนั้นทฤษฎีลักษณะเฉพาะของแคตเตลล์จึงมี
ชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าทฤษฎีวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor-analytic theory)
หลังจากจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยคิงแล้ว แคตเตลล์จึงได้มีโอกาสร่วมงานกับธอร์นไดก์
(Thorndike) ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) ในกรุงนิวยอร์ก จากนั้นจึงย้ายไปเป็น
อาจารย์สอนวิชาจิตวิทยาในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงหลายแห่งของประเทศอังกฤษ เช่น มหาวิทยาลัยคลาร์ก
(Clark University) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ในที่สุดจึงย้ายกลับมาสอนที่มหาวิทยาลัย
อิลินอยส์ (Illinois University) ในปี ค.ศ. 1944 แคตเตลล์ ได้สร้างผลงานที่มีชื่อเสียงไว้มากมายโดยเฉพาะ
เกี่ยวกับแบบทดสอบบุคลิกภาพที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ 16PF, IPAT, PTB เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ
วงการจิตวิทยาอย่างกว้างขวาง
แนวความคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพของแคตเตลล์นั้นคล้ายคลึกงกับของอัลล์พอร์ต กล่าวคือ บุคลิกภาพ
ของแต่ละคนเป็นผลมาจากอิทธิพลของอุปนิสัยที่แตกต่างกัน ดังนั้นถ้าสามารถทําความเข้าใจอุปนิสัยทั้งสาม
ระดับของแต่ละคนได้แล้ว จะสามารถทํานายบุคลิกภาพของบุคคลนั้นได้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด
แต่นอกเหนือจากนี้แคตเตลล์ยังให้ความสนใจที่จะศึกษาถึงรายละเอียดของอุปนิสัยแต่ละลักษณะโดยการหา
ความสัมพันธ์ด้วยวิธีการใช้วิธีวิเคราะห์ตัวประกอบ (factor analysis) แคตเตลล์เริ่มต้นจากการศึกษา
บุคลิกภาพของคนหลายประเภทในวัยต่าง ๆ เป็นจํานวนมาก โดยใช้วิธีการหลายวิธี เช่น การใช้แบบทดสอบ