Page 36 - Psychology
P. 36
หน้ า | 33
6. ทฤษฎีบุคลิกภาพ แบบมนุษยนิยม (Humanist Personality Theory)
ทฤษฎีบุคลิกภาพแบบมนุษยนิยม แนะนําเรื่องคุณค่าของการให้ความเคารพโดยปราศจากเงื่อนไขต่อ
คนอื่น ซึ่งในความเป็นจริงนําไปสู่การปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพที่ดีกว่า ยึดถือแนวทางอิสระของ 2 นักทฤษฎี
จิตวิทยาประกอบด้วย
อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) มาสโลว์มีทรรศนะเหมือนกับฟรอยด์ มีความเชื่อ เกี่ยวกับ
การจูงใจมนุษย์ แต่ทรรศนะของมาสโลว์มีเหตุผลที่มีความแตกต่างจากทรรศนะของฟรอยด์ที่มีความเชื่อในพลัง
อํานาจ สิ่งที่บุคคลมีมาตั้งแต่แรกเกิด ล้วนแต่เป็นการจูงใจในทางลบ แต่มาสโลว์มีความเห็นว่า จุดอ่อนในสิ่งที่
บุคคลมีมาตั้งแต่แรกเกิด ควรจะจัดให้เป็นแนวทางบวก ควรจะได้รับการสนับสนุนให้เกิดการจูงใจ เพื่อให้
มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ จัดเป็นพลังอํานาจที่ดีที่สุด และเป็นการจูงใจที่จะต้องกระทําในทันที มาสโลว์มี
ความเห็นว่า ถ้าตราบใดที่มนุษย์ยังมีความอดอยากหิวโหยอยู่ สิ่งที่มีความสําคัญที่สุดสําหรับเขาก็คืออาหาร
นั่นเอง ลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว์เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้มีการเสนอแนะว่า เมื่อมนุษย์ได้รับ
ความต้องการขั้นพื้นฐานจนเป็นที่พึงพอใจแล้ว มนุษย์ก็จะมีความต้องการในลําดับขั้นที่สูงต่อไปให้ปรากฏ
เห็นอยู่เสมอ
ตามทรรศนะของมาสโลว์มีความเชื่อว่า ความต้องการตามลําดับขั้นทั้งหมดเป็นความต้องการของ
มนุษย์ที่มีมาตั้งแต่แรกเกิด แต่มนุษย์ที่มีความต้องการตามลําดับขั้นในขั้นที่สูงขึ้น มนุษย์จึงต้องการ การชี้นําใน
การกระทํา เมื่อมนุษย์ได้รับความพึงพอใจในลับดับขั้นความต้องการขั้นพื้นฐานคือ ได้รับอาหารเพียงพอแล้ว
และมีความปลอดภัยในชีวิตแล้ว ก็เป็นสิ่งที่เชื่อแน่ได้ว่า มนุษย์ก็จะถูกจูงใจให้มีความต้องการทางสังคม หรือมี
ความต้องการการยอมรับ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและจะได้รับการยอมรับนับถือเป็นอย่างสูง เขาก็จะเป็นผู้ที่
รู้จักและมีความเข้าใจโลกของเขา หรือจัดเป็นการสร้างสุนทรียภาพแห่งความพอใจที่บริสุทธิ์ มนุษย์สามารถจะ
ประสบผลสําเร็จได้ตามเป้าหมาย เขาจะกลายเป็นบุคคลที่มีความสามารถมากที่สุดตลอดไปและ
มีความสามารถหลายอย่าง หรือเป็นบุคคลที่ประสบความสําเร็จชีวิต ดังนั้นแต่ละบุคคลจะมีความสามารถใน
การพัฒนาตนเองได้เป็นอย่างดีที่สุด
ตามแผนการของมาสโลว์ สังคมควรจะมีส่วนช่วยทําให้เกิดความเชื่อมั่นได้ว่า บุคคลทุกคนสามารถจะ
ได้รับความพึงพอใจในความต้องการขั้นพื้นฐานทางด้านสรีระ แต่ควรจะให้เขาได้มีการพัฒนาความต้องการใน
ลําดับความต้องการขั้นต่อไปอย่างเต็มที่ เพื่อเป็นการรักษาและควบคุมทางสังคมเหนือสัญชาตญาณของบุคคล
มาสโลว์มีความรู้สึกว่า สังคมจะต้องให้การสนับสนุนส่งเสริมบุคคลที่มีความอ่อนแอ โดยการเพิ่มการจูงใจให้
มากขึ้น การที่มนุษย์มีแต่การกระทําความเลวก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้เนื่องจากเป็นผลสืบเนื่องมาจาก
การที่บุคคลถูกขัดขวางในความต้องการขั้นพื้นฐาน ดังนั้นบุคคลก็ไม่สามารถทําหน้าที่ตามแรงขับที่เพิ่มขึ้นได้
บุคคลแจจะมีพฤติกรรมที่มีความเห็นแก่ตัว หรือกระทําการก่อเหตุร้ายแรง เนื่องจากบุคคลเหล่านั้นจะไม่เคย
ได้รับความต้องการตามลําดับขั้นในระดับขั้นที่ต่ําที่สุดเพราะว่าบุคคลเหล่านั้นมีความต้องการมากเกินไป
ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทําให้เข้าต้องกลับมาอยู่ในลําดับความต้องการขั้นต่ําที่สุด แต่ก็ยังเปิดโอกาสให้เขามีแนวทาง
ไปสู่ความสําเร็จสูงสุดในชีวิตได้
ในการศึกษาความสัมพันธ์เหล่านี้ มาสโลว์ได้ให้ความสนใจมิใช่แต่เพียงผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้าน
จิตวิทยาเท่านั้น แต่ได้ให้ความสนใจแก่บุคคลที่มีความรู้สึกว่าใกล้จะประสบความสําเร็จในชีวิตถึงแม้ว่าบุคคล
เหล่านี้จะไม่มีความสมบูรณ์ในตนเอง ซึ่งเขาอาจจะเป็นบุคคลที่มีความดื้อรั้น โมโหง่ายไม่เป็นประโยชน์หรือ
แม้กระทั่งเป็นบุคคลที่น่าสงสาร บุคคลเหล่านี้แต่ละบุคคลมี ศักยภาพเกือบเต็มที่ได้แก่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
(Albert Einstein) และอีเลียเนอร์ รูสเวลท์ (Eleanor Roosevelt) แต่บุคคลทั้งสองนี้ก็มิได้มีผลงานสําเร็จเต็ม
100 เปอร์เซ็นต์ สําหรับการทํางานทุกชนิดที่ผ่านมาตลอดชีวิต'