Page 34 - Psychology
P. 34
หน้ า | 31
สังเกต ประเมินค่า ศึกษาภายในห้องทดลอง และวิธีอื่น ๆ ที่ได้รับการยอมรับถึงความเที่ยงตรงในการศึกษา
พฤติกรรม เมื่อได้ค่าคะแนนจากวิธีการเหล่านั้นแล้วจึงนํามาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของลักษณะต่าง ๆ
ทางบุคลิกภาพโดยวิธีการวิเคราะห์ตัวประกอบ (factor analysis) และจัดอันดับกลุ่ม (cluster analysis)
ทําให้เขาได้ข้อสรุปถึงลักษณะบุคลิกภาพเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1) ลักษณะอุปนิสัยพื้นผิว (Surface Traits) หมายถึง ลักษณะของบุคลิกภาพภายนอกที่
บุคคลแสดงออกมาในลักษณะเป็นกลุ่มของพฤติกรรมหลาย ๆ ลักษณะด้วยกัน เช่น เป็นคนคล่องแคล่ว พูดเร็ว
สนุกสนาน เป็นกันเอง ลักษณะพื้นผิวแต่ละอย่างที่รวมกันเป็นกลุ่มนี้แคตเตลล์เชื่อว่าจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน
จึงสามารถเป็นกลุ่มเดียวกันได้ จะเห็นได้ว่าลักษณะพื้นผิวจึงมีความใกล้เคียงกับอุปนิสัยร่วม (central traits)
ของอัลล์พอร์ตมาก แตกต่างกันที่ว่าของอัลล์พอร์ตนั้นนําอุปนิสัยต่าง ๆ เหล่านั้นมาจัดกลุ่มเอง แต่ของแคต
เตลล์นั้นจัดกลุ่ม (cluster analysis) ด้วยการใช้วิธีรวบรวมข้อมูลและหาความสัมพันธ์ของลักษณะต่าง ๆ
ของบุคลิกภาพที่เป็นลักษณะพื้นผิดเดียวกันเข้าด้วยกัน โดยจัดบุคลิกภาพที่มีค่าสหสัมพันธ์ตั้งแต่ 60 ขึ้นไปให้
อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
2) ลักษณะอุปนิสัยดั้งเดิม (Source Traits) หมายถึง ลักษณะอุปนิสัยภายในที่แท้จริงของแต่
ละบุคคล ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม หล่อหลอมกันขึ้นเป็นอุปนิสัยประจําตัว ทําให้
เปลี่ยนแปลงค่อนข้างยาก อุปนิสัยดั้งเดิมนี้เองจึงถือเป็นพื้นฐานบุคลิกภาพของบุคคลทั้งทางด้านบวกและลบ
การศึกษาเพื่อหาลักษณะอุปนิสัยดั้งเดิม (source traits) นั้นแคตเตลล์ใช้การหาค่าความสัมพันธ์ด้วยวิธี
วิเคราะห์ตัวประกอบ โดยหาว่าลักษณะอุปนิสัยใดบ้างที่มีค่าสหสัมพันธ์สูง ลักษณะอุปนิสัยใดบ้างที่มีค่า
สหสัมพันธ์ต่ํา แล้วจัดเป็นกลุ่มแยกออกจากกัน นอกจากนี้ยังศึกษาต่อไปอีกว่าลักษณะอุปนิสัยดั้งเดิมมี
ความสัมพันธ์ต่อบุคลิกภาพอย่างใดบ้าง และผลจากการศึกษาครั้งนี้แคตเตลล์ได้จําแนกลักษณะอุปนิสัยดั้งเดิม
ได้ทั้งสิ้น 16 ลักษณะ ซึ่งต่อมาภายหลังแคตเตลล์จึงได้สร้างแบบทดสอบบุคลิกภาพเพื่อวิเคราะห์บุคลิกภาพ
ของบุคคลโดยยึดแนวทางวิเคราะห์จากลักษณะอุปนิสัยดั้งเดิมทั้ง 16 ด้านนี้ แบบทดสอบบุคลิกภาพฉบับนี้มี
ชื่อว่า 16PF (Sixteen Personality of Factor Questionnaire) ดังนั้น จะเห็นได้ว่าทฤษฎีบุคลิกภาพของ
แคตเตลล์จึงให้ความสําคัญต่อลักษณะอุปนิสัยดั้งเดิมของบุคคลอย่างมาก
จากที่กล่าวรายละเอียดมาทั้งหมดแล้วนี้ สามารถสรุปได้ว่าทั้งทฤษฎีอุปนิสัยของอัลล์พอร์ตและทฤษฎี
ลักษณะเฉพาะของแคตเตลล์ ต่างก็ให้ความเห็นตรงกันที่ว่าโครงสร้างบุคลิกภาพของแต่ละคนนั้นเป็นผลมาจาก
ความสัมพันธ์ของกลุ่มอุปนิสัยภายในที่แตกต่างกันจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละบุคคลในที่สุด
5. กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theories)
นักจิตวิทยากลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นนักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยม แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎี
บุคลิกภาพ จึงให้ความสนใจพฤติกรรมที่มองเห็นได้ (overt behavior) มากกว่าพฤติกรรมภายใน (covert
behavior) โดยมีความเห็นว่าบุคลิกภาพของแต่ละคนเป็นผลมาจากการเรียนรู้ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับเงื่อนไข
การเสริมแรง และการเลียนแบบ ดั้งนั้นจึงเรียกกลุ่มทฤษฎีบุคลิกภาพกลุ่มนี้อีกชื่อหนึ่งว่าทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรม
นิยม (behavior theories) ซึ่งประกอบไปด้วยทฤษฎีบุคลิกภาพ 2 ทฤษฎี ได้แก่
5.1 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบจงใจกระทํา (Operant Conditioning Theory)
ความเข้าใจ สภาพการณ์ และพฤติกรรม ทําไมแต่ละบุคคลจึงแสดงการกระทําที่แตกต่างกัน ทั้งที่ใน
สภาพการณ์ที่เหมือนกันและทําไมในบุคคลคนเดียวกันจะแสดงการการทําด้วยความยุติธรรมในโอกาสที่ต่างกัน
นักพฤติกรรมมีความเห็นว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าแต่ละบุคคลจะรู้จักการใช้ลักษณะเฉพาะบุคคลตามแต่ละ
สภาพการณ์