Page 32 - Psychology
P. 32
หน้ า | 29
บุคลิกภาพที่มีพฤติกรรมเปิดเผย มีธรรมชาติระบบประสาทที่มีความสงบเงียบ เกิดจากธรรมชาติของ
ระบบประสาท ที่ไม่ต้องการแสวงหาสิ่งเพิ่มเติมที่มีความตื่นเต้น จึงมีพฤติกรรมชอบอยู่ตามลําพัง บุคคลทุกคน
จะมีบุคลิกภาพเป็นแบบพฤติกรรมเปิดเผยหรือพฤติกรรมปกปิดก็ได้ หรือจะมีพฤติกรรมทั้งแบบเปิดเผยและ
ปกปิดก็ได้
4. กลุ่มทฤษฏีบุคลิกภาพโดยแบ่งตามคุณลักษณะเฉพาะตัว (Traits Theories)
กลุ่มนี้ประกอบด้วย 2 ทฤษฎี ได้แก่
4.1 ทฤษฎีอุปนิสัยของอัลล์พอร์ต (Allport’s Trait Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้ ได้แก่ กอร์ดอน
อัลล์พอร์ต (Gordon Allpor; 1897-1967)นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ความจริงแล้วอัลล์พอร์ตมีพื้นฐานเริ่มต้น
มาจากการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์และปรัชญา ต่อมาภายหลังจึงหันกลับมาสนใจและศึกษาวิชาจิตวิทยา
จนสําเร็จในระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) หลังจากนั้นจึงได้เดินทางไป
ศึกษาเพิ่มเติมในมหาวิทยาลัยชั้นนําอีกหลายแห่งในประเทศเยอรมันนีและอังกฤษ อัลล์พอร์ตได้รับเกียรติ
แต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง นอกจากนี้ยังดํารงตําแหน่งประธาน
องค์กรสําคัญทางจิตวิทยาอีกหลายสถาบันด้วย
แนวความคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพตามทฤษฎีอุปนิสัย (Trait theory) ของอัลล์พอร์ต เขาเชื่อว่า
บุคลิกภาพของบุคคลเกิดจากระบวนการทํางานของอุปนิสัย (trait) ในตัวบุคคลที่สะท้อนออกมาให้เห็นในรูป
ของพฤติกรรมภายนอก ซึ่งอุปนิสัยของแต่ละคนจะมีระดับที่แตกต่างกันจึงทําให้แต่ละคนมีบุคลิกภาพที่
แตกต่างกันไปด้วย เขาเชื่อว่าบุคลิกภาพจะทําหน้าที่เหมือนตัวประสานระหว่างร่างกายกับจิตใจใน
การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เท่ากับว่าบุคลิกภาพจะทําหน้าที่สําคัญคือ แสดงออกให้เห็นถึงความสามารถใน
การปรับตัวของบุคคลต่อสิ่งแวดล้อมนั่นเอง และจากการที่อัลล์พอร์ตให้ความสําคัญต่อกระบวนการทํางานของ
อุปนิสัยที่มีต่อบุคลิกภาพของบุคล จึงทําให้มีการศึกษาเรื่องอุปนิสัยของมนุษย์อย่างจริงจังและลึกซึ้ง จนกล่าว
ว่าอัลล์พอร์ตเป็นผู้ให้กําเนิดจิตวิทยาอุปนิสัย (Trait Psychology) ขึ้นเป็นครั้งแรกในวงการจิตวิทยา
คําว่าอุปนิสัยมีความหมายใกล้เคียงกับคําอีกหลายคําเช่น นิสัย (habits) ทัศนคติ (attitude) ลักษณะ
(types) ซึ่งทั้งสี่คํานั้นต่างก็เป็นสิ่งที่กําหนดแนวโน้มในการแสดงพฤติกรรมของบุคคลทั้งสิ้น และอัลล์พอร์ต
ได้จําแนกอุปนิสัยออกเป็นส่วน ๆ เพื่อใช้ในการอธิบายบุคลิกภาพไว้ ดังนี้
1) อุปนิสัยพื้นฐาน (Common Traits) อุปนิสัยของบุคคลที่มีความคล้ายคลึงกันเนื่องจากเกิด
และเติบโตภายในสังคมและวัฒนธรรมเดียวกัน จึงทําให้มีอุปนิสัยส่วนหนึ่งที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้นการพิจารณา
อุปนิสัยพื้นฐานจึงเป็นการพิจารณาเปรียบเทียบบุคลิกภาพได้ในภาพกว้างๆ เท่านั้น อัลล์พอร์ตย้ําว่ามนุษย์ทุก
คนจะมีความแตกต่างอยู่ในตัว จึงเป็นไปไม่ได้ว่าบุคคลสองคนจะมีอุปนิสัยที่เหมือนกันแม้ว่าจะเกิดในสังคม
เดียวกันก็ตาม ดังนั้นการนําอุปนิสัยพื้นฐานมาใช้ในการอธิบายบุคลิกภาพของแต่ละคนจึงไม่ถูกต้อง แต่ควรจะ
ศึกษารายละเอียดของอุปนิสัยส่วนบุคคล (personal disposition traits) เป็นหลักสําคัญด้วย
2) อุปนิสัยส่วนบุคคล (Personal Disposition Traits) หมายถึง อุปนิสัยที่เป็นลักษณะ
เอกลักษณ์เฉพาะตัวของบุคคล ซึ่งแต่ละคนจะมีแตกต่างกันไป เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่สามารถนําอุปนิสัยส่วนนี้ของ
แต่ละคนมาเปรียบเทียบกันได้ ดังนั้นอุปนิสัยส่วนบุคคลจึงถือว่าเป็นปัจจัยสําคัญที่ใช้ศึกษาร่วมกับอุปนิสัย
พื้นฐานในการอธิบายบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล อัลล์พอร์ตได้แบ่งอุปนิสัยส่วนบุคคลไว้สามระดับตามอิทธิพล
ที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคลไว้ดังนี้
ก. อุปนิสัยหลัก (cardinal disposition traits) หมายถึง อุปนิสัยที่เป็นลักษณะเด่นชัดที่
บุคคลนั้นแสดงออกมาเหนืออุปนิสัยอื่น ๆ ซึ่งยากจะลบล้างหรือปิดบังซ่อนเร้นเอาไว้ ดังนั้นอุปนิสัยหลักจึงมี