Page 28 - Psychology
P. 28

หน้ า  | 25

                       บุคลิกภาพตามแนวความคิดของโรเจอร์นั้นเกิดจากปฏิสัมพันธ์ของการรับรู้ต่อตนเอง (self) หรือ
               อัตตาหรือฉัน (I) หรือฉัน (me) ว่าฉันเป็นใคร เป็นคนอย่างไร มีคุณค่าแค่ไหน เก่งเพียงใด และมีความสามารถ

               ระดับใด ซึ่งการรับรู้ตนเองเช่นนี้จะทําให้สามารถแยกออกจากความไม่ใช่ตัวฉันได้
                       โรเจอร์เชื่อว่าประสบการณ์ในวันเด็กที่บุคคลได้รับจากคนใกล้ชิดรอบข้าง เช่น พ่อแม่ พี่น้อง และ
               คนเลี้ยงจะมีความสําคัญต่อการสร้างตัวตน (self) ของบุคคลขึ้นมา ดังนั้นคําชม คําวิจารณ์ คําตําหนิ คํายกย่อง
               รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เหล่านี้จะส่งผลให้เกิดอัดมโนทัศน์หรือการรับรู้ตนเอง (self  concept) ทั้งใน

               ทางบวกและทางลบได้เสมอ เมื่อบุคคลใดมีการรับรู้ตนเองหรืออัตมโนทัศน์เช่นไร บุคลิกภาพของเขาก็จะ
               พัฒนาไปตามอัตมโนทัศน์ที่ตนรับรู้เช่นนั้น เช่น ถ้าเด็กมีการรับรู้ตนเองว่าเป็นคนมีความสามารถ ก็จะพัฒนา
               บุคลิกภาพของตนให้กล้าแสดงออกอยู่เสมอ หรือถ้าเด็กมีการรับรู้ตนเองว่าขี้เหร่และโง่ เด็กก็จะมีบุคลิกภาพ
               เก็บตัว ขาดความมั่นใจ และไม่กล้าแสดงความคิดเห็น เป็นต้น  จากแนวความคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพเช่นนี้ทํา

               ให้โรเจอร์เรียกทฤษฎีของเขาว่าทฤษฎีตัวตน (self theory) โดยเขาได้จําแนกตัวตนออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
                           1) ตนที่ตนรับรู้ (Perceived Self; P.S.) หมายถึง ตัวตนที่เราคิดว่าตัวเราเป็นอยู่ เช่น คิดว่าเป็น
               คนดี เป็นคนเก่ง เป็นคนหล่อ เป็นคนสวย เป็นต้น
                           2) ตนตามความเป็นจริง (Real Self; R.S.) หมายถึง ตัวตนที่แท้จริง ซึ่งบางคนอาจจะมองไม่

               เห็นตัวตนที่แท้จริงของตนเองก็ได้ ในบางครั้งบุคคลจึงอาจจะรับรู้ตัวตนตามความเป็นจริงนี้ได้จากคนใกล้ชิด
               รอบข้าง
                           3) ตนตามอุดมคติ (Ideal Self; I.S.) หมายถึง ตัวตนที่ตนอยากจะเป็น อยากจะทํา หรือตั้ง

               ความคาดหวังไว้

                                                                              I.
                                           I.                                 S

                                          S
                                        P.   R.                           P.      R.


                      รูปที่ 11  แสดงความสอดคล้องและไม่สอดคล้องของตัวตนทั้งสามลักษณะที่มีผลต่อบุคลิกภาพ

                         โรเจอร์ กล่าวว่า บุคคลใดก็ตามที่สามารถทําให้ตนที่ตนรับรู้กับตนตามความเป็นจริงและตนตาม
               อุดมคติสอดคล้องสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม  บุคคลนั้นจะสามารถพัฒนาบุคลิกภาพได้จนถึงขีดสุด เช่น รับรู้ว่า

               ตนเป็นคนพูดเก่งและเข้าใจง่าย ซึ่งในความเป็นจริงก็เป็นเช่นนั้น  ถ้าบุคคลนั้นใฝ่ฝันอยากจะเป็นนักพูดที่มี
               ชื่อเสียงในอนาคต เขาจะสามารถพัฒนาบุคลิกภาพของตนได้ถึงขีดสูงสุดจนถึงเป้าหมายในอุดมคติของตนได้
               แต่ถ้าตัวตนทั้งสามลักษณะนั้นไม่สอดคล้องกันอาจทําให้บุคคลนั้นเกิดความขัดแย้งในใจ คับข้องใจ วิตกกังวล

               สูง และมีปมด้อย  ซึ่งจะส่งผลต่อบุคลิกภาพของบุคคลนั้นด้วย เช่น คิดว่าตนเองเป็นคนรูปหล่อและมีเสน่ห์
               แต่ในความเป็นจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้นถ้าบุคคลนั้นมีความใฝ่ฝันอยากจะเป็นพระเอกยอดนิยม ซึ่งจะเห็นได้ว่ามี
               ทางเป็นไปได้ยากมาก เมื่อไม่สามารถไปถึงซึ่งเป้าหมายขอตนตามที่คาดหวังได้ บุคคลนั้นอาจจะต้องใช้กล
               วิธานการป้องกันตนเอง (defense mechanisms) เช่น บอกกับตนเองและผู้อื่นว่า “วงการภาพยนตร์ไทยไม่มี

               วาสนาที่จะได้ฉันไปประดับวงการ หรือตอนนี้ฉันไม่มีเวลาให้กับการเป็นดารา” เป็นต้น หรือถ้า
               ความไม่สอดคล้องกันเป็นไปอย่างรุนแรงมาก ๆอาจทําให้ผู้นั้นมีปัญหาในด้านการปรับตัว มีปัญหาสุขภาพจิต
               และเกิดปัญหาด้านบุคลิกภาพได้
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33