Page 25 - Psychology
P. 25

หน้ า  | 22

                           อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงจะพบว่าคนบางคนจะมีบุคลิกภาพแบบกลาง ๆ กล่าวคือ มักจะมี
               บุคลิกภาพเป็นไปตามสถานการณ์ เช่น ในสถานการณ์หนึ่งอาจมีบุคลิกภาพแบบแสดงตัว ในอีกสถานการณ์

               หนึ่งอาจเป็นแบบเก็บตัวได้ จึงจัดคนประเภทนี้อยู่ในพวกแอมบิเวิร์ต (Ambivert) เป็นต้น
                      1.3 ทฤษฎีจิตวิทยาปัจเจกบุคคลของแอดเลอร์ (Adler’s Individual Psychology) อัลเฟรด
               แอดเลอร์ (Alfred Adler; 1870-1937) นักจิตวิทยาเชื้อสายยิวที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งในกลุ่มจิตวิเคราะห์
               ก่อนที่เขาจะหันมาเป็นนักจิตวิทยานั้น แอดเลอร์เคยทํางานเป็นแพทย์และเปิดคลินิกรักษาผู้ป่วยมาก่อน

               ประสบการณ์จากการได้รักษาผู้ป่วยที่มาขอรับการรักษานั้น ทําให้แอดเลอร์พบว่าคนไข้ที่เป็นนักกายกรรมที่มี
               ร่างกายแข็งแรง กล้ามเนื้อสมบูรณ์มีพละกําลังมาก หรือศิลปินที่ประสบความสําเร็จในงานของเขานั้นเบื้องหลัง
               คนเหล่านี้ในวัยเด็กมักจะเป็นคนที่อ่อนแอและขี้โรคมาก่อนทั้งสิ้น ประเด็นสําคัญนี้เองทําให้แอดเลอร์เชื่อว่า
               ความอ่อนแอและขี้โรคในวัยเด็ก จะเป็นต้นเหตุที่จะทําให้คนเหล่านี้หาทางชดเชยด้วยการสร้างพละกําลังและ

               แข็งแกร่ง รวมทั้งสร้างความสําเร็จให้กับตนเอง จากข้อสังเกตนี้แอดเลอร์จึงให้ความสนใจที่จะศึกษาพฤติกรรม
               เกี่ยวกับการชดเชยปมด้วยของคนเหล่านี้ จนกลายเป็นส่วนสําคัญประการหนึ่งในทฤษฎีบุคลิกภาพของเขา
                      ในระยะเริ่มต้นนั้นแอดเลอร์เคยทํางานร่วมกับกลุ่มจิตวิเคราะห์มาระยะหนึ่ง แต่ภายหลังเขามีความคิด
               เห็นคัดค้านแนวความคิดของฟรอยด์ในหลายเรื่อง เช่น เกี่ยวกับความฝัน ตลอดจนวิธีการบําบัดผู้ป่วยตาม

               แนวทางของจิตวิเคราะห์  ทําให้ในที่สุดเขาจึงแยกตัวมาตั้งทฤษฎีใหม่ และเรียกกลุ่มตนเองว่ากลุ่มทฤษฎี
               จิตวิทยารายบุคคล (individual psychology) ทั้งนี้เนื่องจากเขาเชื่อว่าการจะศึกษาบุคลิกภาพของบุคคลนั้น
               ไม่ใช่จะเป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมหรือบุคลิกภาพเพียงด้านหนึ่งด้านใดเพียงด้านเดียว แต่จะต้องศึกษา

               พฤติกรรมทั้งหมดที่บุคคลนั้นแสดงต่อสถานการณ์หรือรูปแบบของพฤติกรรมที่ใช้ในการสร้างความสัมพันธ์กับ
               บุคคลอื่น ๆ ในสังคม ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามสภาพร่างกายและสิ่งแวดล้อมของแต่ละบุคคล และ
               ผลจากการศึกษาของแอดเลอร์ทําให้เขาได้ข้อสรุปปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของบุคคลไว้ 3 ประการ ดังนี้
                           1.  ลําดับการเกิดของเด็กในครอบครัว (Order of Birth) แอดเลอร์ไห้ความสําคัญต่อสังคมระดับ
               ครอบครัวเป็นอันดับแรก โดยสังเกตจากบุคลิกภาพของลูกคนโต คนกลาง และคนสุดท้อง  ซึ่งจะแตกต่างกัน

               ไปอย่างเห็นได้เด่นชัด จึงทําให้เชื่อว่าเป็นเพราะประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากพ่อแม่แตกต่างกันไป ซึ่งเขาได้
               สรุปไว้ดังนี้
                              ก.  ลูกคนโตเป็นลูกคนแรกของครอบครัว ดังนั้นเด็กจะได้รับความรัก ความเอาใจใส่จากพ่อ

               แม่อย่างมาก จนกระทั่งเมื่อน้องใหม่เกิดขึ้นเด็กจะมีความรู้สึกว่าความรักที่เขาเคยได้รับจะถูกแบ่งปันให้น้อง
               ที่มาใหม่ ประสบการณ์เช่นนี้จะทําให้เด็กมีบุคลิกประเภทขี้อิจฉา และเกลียดชัดผู้อื่น รู้สึกไม่มั่นคง พยายาม
               ปกป้องตนเอง  ดังนั้นถ้าพ่อแม่สามารถที่จะเตรียมความพร้อมให้ลูกคนโตเพื่อรับสถานการณ์ที่กําลังจะเกิดได้
               ล่วงหน้าแล้ว จะทําให้ลูกคนโตมีบุคลิกภาพพัฒนาไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้ เช่น มีความรับผิดชอบสูง

               เชื่อมั่นในตนเอง ชอบช่วยเหลือปกป้องคุ้มครองผู้อื่นที่ด้อยกว่าตน
                              ข.  ลูกคนกลางมักจะเป็นคนที่มีความทะเยอทะยานสูง มีความอุตสาหะ พยายาม อดทน
               แต่มีแนวโน้มที่จะเป็นคนดื้อรั้น และในส่วนลึกจะมีความรู้สึกอิจฉาพี่น้องของตน จึงพยายามจะเอาชนะหรือ
               แสดงความสามารถที่เหนือกว่าพี่และน้องออกมา ทั้งนี้เนื่องจากคิดว่าพ่อแม่จะรักพี่คนโตและน้องคนสุดท้อง

               มากกว่าตน แต่โดยทั่วไปแล้วลูกคนกลางมักจะมีความสามารถในการปรับตัวได้ดีกว่าพี่และน้อง
                              ค.  ลูกคนสุดท้องเนื่องจากเป็นลูกคนเล็กจึงมักได้รับการตามใจประคบประหงมและได้รับ
               ความช่วยเหลือจากพ่อแม่หรือพี่ ๆ อยู่เสมอ  ทําให้เด็กที่เป็นลูกคนสุดท้องจึงมีลักษณะเป็นคนเอาแต่ใจตนเอง
               ชอบขอความช่วยเหลือผู้อื่น ไม่รู้จักโต
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30