Page 24 - Psychology
P. 24

หน้ า  | 21

               เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่รวมกลุ่มหรือหมวดหมู่ขึ้นเป็นปมนั้นอาจกลับขึ้นมาสู่จิตสํานึกได้
               อีกครั้งถ้าอยู่ในสถานการณ์ที่เหมาะสมดังที่กล่าวมาแล้ว

                              ค.  จิตใต้สํานึกส่วนที่สะสมประสบการณ์ในอดีตชาติ (collective unconscious) จุงอธิบาย
               ว่าจิตใต้สํานึกส่วนนี้จะทําหน้าที่สะสมประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ทุกคนได้รับเป็นมรดกสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ
               ตั้งแต่เริ่มต้นมีมนุษย์เกิดขึ้นภายในโลกเป็นครั้งแรก ด้วยเหตุนี้จุงเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนทุกตระกูล ทุกเชื้อชาติ
               และทุกเผ่าพันธุ์ต่างก็มีประสบการณ์ในจิตใต้สํานึกส่วนที่สะสมประสบการณ์ในอดีตชาติที่เป็นต้นฉบับเดียวกัน

               ทั้งสิ้น โดยบันทึกเป็นข้อมูลอยู่ในสมองแล้วถ่ายทอดกันมาแต่ละรุ่นยาวนานตลอดจนปัจจุบัน เช่น ทําไมมนุษย์
               ทุกคนจึงกลัวความมืด นั่นเป็นเพราะว่ามนุษย์ในยุคดึกดําบรรพ์ต้องอยู่กับความหวาดกลัวภัยภายใต้ความมืด
               มาตลอดก่อนจะพบไฟ เป็นต้น ความกลัวเหล่านี้จะส่งทอดมาตลอดและยังคงตกค้างอยู่จนเข้าสู่ยุคปัจจุบัน
               ทําให้มนุษย์ทุกคนแสดงพฤติกรรมออกมาคล้ายคลึงกันทุกคน ประสบการณ์ทั้งหลายที่ตรึงแน่นอยู่ในจิตใต้

               สํานึกตั้งแต่อดีตชาติเป็นต้นมานั้นจะก่อเป็นภาพของสิ่งนั้นขึ้นมา ซึ่งจุงเรียกภาพนั้นว่า อาร์คีไทป์
               (archetype) ทําให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมได้สอดคล้องกับอาร์คีไทป์ที่มีอยู่
                              ง.  หน้ากาก (persona) หมายถึง สภาวะของบุคคลที่จะแสดงบทบาทไปตามความคาดหวัง
               ของสังคมและเป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีตามที่สังคมกําหนด หรือเป็นการแสดงออกเพื่อให้ได้รับ

               การยอมรับและสร้างความประทับใจบุคคลอื่นๆ ดังนั้นในบางครั้งบุคลิกภาพของบุคคลที่เกิดจากการใช้
               หน้ากาก จึงอาจจะมีความขัดแย้งกับบุคลิกภาพที่แท้จริงภายในตัวบุคคลนั้นได้ เท่ากับว่าหน้ากากจึงทําหน้าที่
               ควบคุมบุคลิกภาพส่วนที่ไม่ดีที่แท้จริงของบุคคลไม่ให้ปรากฏออกมาต่อสังคมภายนอก ความขัดแย้งระหว่าง

               บุคลิกภาพเหล่านี้ถ้าเกิดบ่อยครั้งในหลายๆ เรื่องอาจจะทําให้บุคคลนั้นขาดความเป็นตัวของตัวเอง กลายเป็น
               คนสวมหน้ากากเข้าหาผู้อื่น หรือเป็นคนที่มีความขัดแย้งในใจได้
                              จ.  ลักษณะซ่อนเร้น (anima or animus) จุงเชื่อว่ามนุษย์มีลักษณะทั้งสองเพศอยู่ในคนคน
               เดียวกัน โดยจะเห็นได้จากการที่เพศชายจะมีความนุ่มนวลและอ่อนโยนซึ่งเป็นลักษณะของเพศหญิงอยู่ในตัว
               จุงเรียกลักษณะเช่นนี้ว่าแอนิมา (anima) ส่วนผู้หญิงจะมีความเข้มแข็ง กล้าหาญ และเด็ดขาดซึ่งเป็นลักษณะ

               ของเพศชายซ่อนเร้นอยู่ในตัวเช่นกัน จุงเรียกลักษณะเช่นนี้ว่าแอนิมัส (animus) จากลักษณะทั้งสองเพศที่ซ่อน
               เร้นอยู่นี้จึงทําให้ผู้ชายใจธรรมชาติของผู้หญิง และผู้หญิงก็มีความเข้าใจธรรมชาติของผู้ชายได้ด้วยตัวของตัวเอง
                              ฉ.  เงาแฝง (shadow) เป็นภาพหรืออาร์คีไทป์รูปแบบหนึ่งที่ก่อตัวมาจากสัตว์ก่อนจะมี

               วิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่าเงาแฝงเป็นสัญชาตญาณของสัตว์ที่จะส่งผลให้มนุษย์แสดงความ
               ชั่วร้าย ก้าวร้าว และป่าเถื่อน รวมทั้งพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ขัดแย้งกับกฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของ
               สังคม เงาแฝงเหล่านี้จะถูกควบคุมและปกปิดโดยหน้ากาก หรือเก็บกดไว้ในจิตใต้สํานึก
                          2)  ลักษณะบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล จากโครงสร้างทางบุคลิกภาพที่จุดได้อธิบายไว้นี้ เขาจึง

               แบ่งลักษณะบุคลิกภาพของบุคคลไว้ 2 ประเภท คือ
                              ก.  แบบเก็บตัว (introvert)เป็นบุคลิกภาพของบุคคลที่มีแนวโน้มเป็นพวกเก็บตัว ชอบความ
               สงบเงียบ ไม่ชอบการเข้าสังคม ขี้อาย พอใจที่จะอยู่เบื้องหลัง ขาดความมั่นใจในตนเอง ชอบใช้วิธีหนีปัญหา
               มากกว่าเผชิญปัญหา ส่วนดีของบุคลิกภาพแบบเก็บตัวนี้มักจะเป็นบุคลิกของนักประดิษฐ์และนักคิดค้น

               ทั้งหลาย แต่ส่วนเสียมักจะเกิดอาการซึมเศร้า แยกตัว และไม่สนใจสังคม
                              ข.  แบบแสดงตัว (extrovert)เป็นบุคลิกภาพประเภทแสดงตัว ชอบเข้าสังคม รักความ
               สนุกสนาน ชอบการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ที่เป็นจริง มีมนุษยสัมพันธ์ดี กล้าที่จะแสดงออก
               ชอบความเป็นผู้นํา ต้องการเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป คบคนง่าย ชอบเผชิญปัญหามากกว่าการหนีปัญหา เป็นต้น
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29