Page 19 - Psychology
P. 19

หน้ า  | 16

                                                         บทที่ 2

                                                   จิตวิทยาบุคลิกภาพ


                       บุคลิกภาพ หมายถึง คุณลักษณะโดยส่วนรวมทั้งหมดของบุคคล ซึ่งประกอบไปด้วยคุณลักษณะ
               ภายนอก ได้แก่ รูปร่างหน้าตา กิริยาท่าทาง และคุณลักษณะภายใน ได้แก่ นิสัยใจคอ ความคิด ความเชื่อ
               ทัศนคติ ค่านิยม อารมณ์ ซึ่งคุณลักษณะทั้งหลายเหล่านี้เป็นตัวกําหนดรูปแบบของพฤติกรรมแสดงออกจน

               กลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อันมีผลทําให้บุคคลนั้นแตกต่างไปจากคนอื่น

               ทฤษฎีบุคลิกภาพ (Theories of Personality)
                       ทฤษฎีบุคลิกภาพ หมายถึง แนวทางที่นักจิตวิทยาใช้ในการอธิบายธรรมชาติของบุคลิกภาพที่เกี่ยวข้อง

               กับโครงสร้าง (structure) กระบวนการ (process) และสาระสําคัญ (content)  เพื่อให้เข้าใจถึงความแตกต่าง
               ด้านบุคลิกภาพที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคคล แต่เนื่องจากแนวคิดหรือทฤษฎีเกี่ยวกับบุคลิกภาพที่นักจิตวิทยา
               ทั้งหลายได้อธิบายไว้นั้นมีเป็นจํานวนมาก จึงอาจจะจําแนกเป็นกลุ่มทฤษฎีได้ดังต่อไปนี้


               1. กลุ่มทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางจิต (Psychodynamic Theories)
                       ทฤษฎีบุคลิกภาพในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย
                       1.1 ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ (Psychoanalysis Theory) ซิกมันด์ฟรอยด์ จิตแพทย์

               ชาวเวียนนา ประเทศออสเตรีย เป็นผู้ก่อตั้งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ขึ้น โดยอาศัยข้อมูลและประสบการณ์จาก
               การรักษาผู้ป่วยในคลินิกของเขา ฟรอยด์ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับบุคลิกภาพการแสดงออกของแต่ละคนเป็น
               อย่างมาก ซึ่งเขาได้อธิบายทฤษฎีบุคลิกภาพของบุคคลไว้ดังนี้
                           1) ทฤษฎีโครงสร้างบุคลิกภาพ (Structure of Personality) จากการศึกษาและรวบรวม

               ข้อมูลของฟรอยด์ พบว่าโครงสร้างบุคลิกภาพของบุคคลเกิดจากความขัดแย้งกันระหว่างพลังงานทางจิต
               3 ส่วน ได้แก่ อิด (id) อีโก้ (ego) และซูเปอร์อีโก้ (super ego) โดยพลังทั้ง 3 ส่วนนี้จะอยู่ในจิตทั้ง 3 ระดับ
               ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


















                   รูปที่ 9 แสดงพลังงานทางจิตและจิต 3 ระดับตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ (ที่มา : Kalat; 1990)
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24