Page 16 - Psychology
P. 16
หน้ า | 13
แนวคิดนี้เป็นแนวคิดแบบสัมพัทธนิยม (Relativism) ซึ่งเชื่อว่าจริยธรรมมีความสัมพันธ์กับอายุ กาลเวลา
สถานที่ วัฒนธรรม และสภาพการณ์ ซึ่งความหมายว่า “ความถูกต้อง” “ความดี” “ความงาม” ขึ้นอยู่กับเวลา
สถานที่ และองค์ประกอบอื่น ๆ
นอกจากนี้โคลเบิร์ก (Kolberg) ยังได้ศึกษาวิจัย (Kolberg, 1964 : 383-432) โดยวิเคราะห์คําตอบ
ของเยาวชนอเมริกัน อายุ 10-16 ปี เกี่ยวกับเหตุผลในการเลือกทําพฤติกรรมอย่างหนึ่งในสถานการณ์ที่ขัดแย้ง
กันระหว่างความต้องการส่วนบุคคลและกฎเกณฑ์ของกลุ่มหรือสังคม และนํามาสรุปเป็นเหตุผลในการแบ่ง
จริยธรรมออกเป็น 6 ขั้น โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับๆ ละ 2 ขั้น ดังนี้
ระดับที่ 1 ระดับก่อนมีจริยธรรมหรือระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม (Pre - Conventional Level)
ระดับนี้เด็กจะรับกฎเกณฑ์และข้อกําหนดของพฤติกรรมที่ “ดี” “ไม่ดี” จากผู้มีอํานาจเหนือตน เช่น
บิดา มารดา ครู อาจารย์ พี่ หรือเด็กที่โต กว่าและมักจะนึกถึงรางวัลและการลงโทษที่ได้รับเป้นส่วนประกอบ
สําคัญในการตัดสินพฤติกรรมดีหรือไม่ดี เช่น
พฤติกรรม “ดี” คือ พฤติกรรมที่แสดงแล้วได้รางวัล
พฤติกรรม “ไม่ดี” คือ พฤติกรรมที่แสดงแล้วได้รับโทษ
ขั้นที่ 1 การถูกลงโทษและการเชื่อฟัง (Punishment and Obedience Orientation) เด็กจะยอมทํา
ตามคําสั่งผู้มีอํานาจเหนือตนโดยไม่มีเงื่อนไขเพื่อไม่ให้ตนถูกลงโทษ ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อหลบหลีกการถูก
ลงโทษ เพราะกลัวความเจ็บปวด ยอมทําตามผู้ใหญ่เพราะมีอํานาจทางกายเหนือตน
ถ้าเด็กถูกทําโทษก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทํา “ผิด” และจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ทําสิ่งนั้นอีก
พฤติกรรมที่มีรางวัลหรือคําชม เด็กก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทํา “ถูก” จะทําซ้ําเพื่อหวังรางวัล
ขั้นที่ 2 กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน (Instrumental Relativist Orientation) ใช้
หลักการแสวงหารางวัลและการแลกเปลี่ยน โดยให้ความสําคัญของการได้รับรางวัลตอบแทน ทั้งที่เป็นวัตถุ
หรือการตอบแทนทางกาย วาจา และใจ โดยไม่คํานึงถึงความถูกต้องของสังคม
โคลเบิร์ก อธิบายว่า ในขั้นนี้เด็กจะสนใจทําตามกฎข้อบังคับ เพื่อประโยชน์หรือความพอใจของ
ตนเอง หรือทําดีเพราอยากได้ของตอบแทน ไม่ได้คิดถึงความยุติธรรมและความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น พฤติกรรม
ของเด็กในขั้นนี้ทําเพื่อสนองความต้องการของตนเอง แต่มักจะเป็นการแลกเปลี่ยนกับคนอื่น เช่น ประโยค
“ถ้าเธอทําให้ฉัน ฉันจะให้.......”
ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม (Conventional Level)
ผู้ทําถือว่าการประพฤติตนตามความคาดหวังของผู้ปกครอง บิดามารดา กลุ่มที่ตนเป็นสมาชิกหรือของ
ชาติ เป็นสิ่งที่ควรจะทําหรือทําความผิด เพราะกลัวว่าตนจะไม่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ผู้แสดงพฤติกรรมจะไม่
คํานึงถึงผลตามที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเอง ถือว่าความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดีเป็นสิ่งสําคัญ ทุกคนมีหน้าที่จะ
รักษามาตรฐานทางจริยธรรม