Page 14 - Psychology
P. 14
หน้ า | 11
รูปที่ 7 แสดงการทดลองของเพียเจต์ ขั้นเตรียมสําหรับความคิดที่มีเหตุผล (ที่มา : Weiten; 1989)
หรือจากการทดลองอีกครั้งเพื่อยืนยันว่าความคิดและความเข้าใจของเด็กวัยนี้ขึ้นอยู่กับการรับรู้
(perception)เป็นสําคัญ กล่าวคือเพียเจต์ได้นําไม้ที่มีความยาวเท่ากันสองท่อนมาวางขนานกันให้มีความยาว
เท่ากันพอดี ดังรูป3.8ที่จากนั้นให้เด็กสังเกตและถามเด็กว่าไม้จากรูป(ก)และขเท่ากันหรือไม่ เด็กตอบว่าเท่ากัน
จากนั้นผู้ทดลองได้ขยับไม้จากรูป(ก)ไปทางขวา ดังรูป(ข) แล้วให้เด็กดูอีกครั้ง แล้วถามว่าไม้จากรูป (ก)หรือรูป
(ข) เท่ากันหรือไม่ เด็กตอบว่าไม่เท่ากัน
จากการทดลองทั้งสองครั้งของเพียเจต์ทําให้เห็นว่าเด็กในขั้นนี้จะเข้าใจและตัดสินสิ่งที่ตนเอง
สามารถรับรู้โดยทางสายตาเท่านั้นยังไม่สามารถใช้เหตุผลในการทําความเข้าใจกับสิ่ง
ต่างๆรอบตัวได้ด้วยเหตุนี้พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเด็กในขั้นนี้จึงขึ้นอยู่กับการ
รับรู้สิ่งต่างๆรอบตัวเป็นสําคัญ
3. การคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นรูปแบบ(Concrete Operation Stage
or Period of Concrete Operation)ระยะอายุ 7-11 ปีสําหรับเด็กในวัยนี้จะมี
พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาสูงขึ้นกว่าขั้นที่ 2 มากเพราะสามารถใช้เหตุผลในการ
ตัดสินใจในปัญหาต่างๆได้ดีขึ้น เพียเจย์ ได้สรุปลักษณะพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญา
ของเด็กในวัยนี้ไว้ดังนี้
1. เด็กวัยนี้จะสามารถสร้างจินตนาการในความคิดของตนขึ้นมาได้ (mental representations)
เช่นถ้าเด็กในวัยนี้เขียนภาพครอบครัวของฉันเด็กจะสามารถอธิบายหรือวาดภาพได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
ซึ่งเด็กในขั้น Preoperation จะทําไม่ได้
2. เป็นวัยที่เด็กจะเริ่มเข้าใจกับการคงสภาพปริมาณของสสาร (conservation) กล่าวคือจะ
สามารถเข้าใจได้ว่าของแข็งหรือของเหลวจํานวนหนึ่งจะมีปริมาณคงที่เสมอไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงภาชนะที่
รองรับเป็นรูปทรงใดๆก็ตามโดยเพียเจต์ได้ทําการทดลองน้ําในแก้วกับท่อนไม้อีกครั้งกับเด็กวัยนี้ปรากฏว่า
เด็กสามารถตอบได้ถูกต้อง
3. เด็กวัยนี้เริ่มมีความสามารถในการคิดแบบเปรียบเทียบ (relation tems) กล่าวคือเริ่มเข้าใจ
ความแตกต่างเกี่ยวกับขนาดรูปร่างว่าใหญ่หรือเล็กกว่ากันมากน้อยแค่ไหน นั่นแสดงให้เห็นว่าเด็กเริ่มรู้จัก
การเปรียบเทียบระหว่างสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง หรือสามารถเข้าใจได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะไม่มีความสมบูรณ์ในตัว
ของมันเองแต่จะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์เปรียบเทียบกับสิ่งที่อยู่รอบข้าง
4. เด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์เพื่อจัดสิ่งรอบตัวให้เป็นหมวดหมู่ได้ (Class inclusion)
เมื่อนําตุ๊กตาสัตว์จํานวนหนึ่งไปให้เด็กเล่นเด็กจะสามารถแยกสัตว์ 4 ขาสัตว์ 2 ขาสัตว์บกและสัตว์น้ําว่าเป็น
คนละพวกได้นอกจากนี้เด็กจะสามารถเข้าใจความหมายของส่วนรวมกับส่วนย่อยได้ดีอีกด้วยโดยเพียเจต์ได้นํา