Page 15 - Psychology
P. 15
หน้ า | 12
ลูกปัดไม้ซึ่งเคยทดลองกับเด็กในขั้นที่ 2 มาทดลองกับเด็กในขั้นที่ 3 ปรากฏว่าเด็กในขั้นนี้สามารถตอบได้อย่าง
ถูกต้องว่าเป็นลูกปัดไม้ทั้งหมดมากกว่าลูกปัดไม้สีขาวเพราะลูกปัดไม้สีขาวเป็นส่วนย่อยของลูกปัดทั้งหมด
5. เด็กวัยนี้จะมีความสามารถในการเรียงลําดับ(serialization and hierarchical arrangements)
สิ่งของใดๆที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันในด้าน ความยาว น้ําหนัก สัดส่วน และความสูง เด็กในวัยนี้จะสามารถ
เรียงลําดับจากน้อยไปหามากหรือมากไปหาน้อยได้เช่นการทดลองเอาแท่งไม้ที่มีความสูงแตกต่างกันจํานวน
หนึ่งมากองรวมกันเด็กจะสามารถเรียนจากต่ําไปหาสูงได้อย่างถูกต้องซึ่งเป็นในขั้นที่สองจะทําไม่ได้
6. เด็กวัยนี้จะสามารถย้อนกลับไปมาได้ (reversibility)นอกจากนี้ยังสามารถทําความเข้าใจ
เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวเลขได้มากขึ้นกว่าเดิม เช่นถ้าเด็กคิดได้ว่าจะคิดย้อนกลับได้ว่า7+6=13 จะคิด
ย้อนกลับได้ว่า 13-6+7หรือ 13-7=6
4. ขั้นของการคิดอย่างมีเหตุผลและอย่างเป็นนามธรรม( Formal Operational stage or
period of formal operation) ตั้งแต่ 12 ปีจนถึงวัยผู้ใหญ่ในระยะนี้จะเป็นขั้นที่พัฒนาการทางเชาวน์
ปัญญาถึงจุดสูงสุดกล่าวคือเด็กจะเริ่มคิดแบบผูใหญ่ สามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ คิดตั้งสมมติฐานและ
สร้างทฤษฎีแบบนักวิทยาศาสตร์ได้ เป็นตัวของตัวเอง ต้องการความอิสระ ไม่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางรู้จักให้
เหตุผลของตนในการทําความเข้าใจและตัดสินสิ่งต่างๆ และคิดย้อนกลับไปมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ทฤษฎีพัฒนาทางจริยธรรมของโคห์เบิร์ก ( Kohlberg’s Moral Development )
รูปที่ 8 โคลเบิร์ก (Kolberg)
โคลเบิร์ก (Kolberg) เป็นนักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม (cognitivism) ซึ่งมีความเชื่อพื้นฐานว่า มนุษย์
เป็นสัตว์ที่มีสมอง สามารถเกิดการเรียนรู้ เพื่อการปรับตัวให้ดํารงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมได้ โดยนําแนวเชื่อ
ทางชีววิทยามาประยุกต์กับศาสตร์ทางจิตวิทยา แนวคิดนี้สอดคล้องกับแนวคิกของเพียเจต์ ( Piaget) คือ
เชื่อว่า จริยธรรมนั้นมีพัฒนาการตามระดับวุฒิภาวะเช่นกัน เพราะจริยธรรมของมนุษย์เกิดจากกระบวนการ
ทางปัญญา เมื่อมนุษย์มีการเรียนรู้มากขึ้น โรงสร้างทางปัญญาเพิ่มพูนขึ้น จริยธรรมก็พัฒนาตามวุฒิภาวะ