Page 13 - Psychology
P. 13

หน้ า  | 10

                      ขั้นเตรียมสําหรับความคิดที่มีเหตุผล ( Preopertion or Preconceptural Stage or Concret
               Thinking Operations) ระยะอายุ 2-7 ปี พัฒนาการทางเชาน์ปัญญาของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้เป็น

               ส่วนใหญ่ เด็กจะเริ่มเรียนรู้และเข้าใจสัญลักษณ์ต่างๆได้ดีขึ้น เริ่มมีพัฒนาการทางด้านภาษาด้วยการสามารถ
               พูดเป็นประโยต  รู้จักคําเพิ่มมากขึ้น  คิดสิ่งต่างๆในใจได้  อย่างไรก็ตาม ความคิดของเด็กในวัยนี้มีข้อจํากัด
               หลายอย่าง โดยเฉพาะระยะต้นของวัย  พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาในขั้นที่ 2 นี้อาจสรุปได้ดังนี้
                           1.  เด็กจะเริ่มเข้าใจภาษาได้ดีขึ้นและเรียนรู้ว่าสิ่งต่างๆรอบตัวจะมีชื่อเรียกเฉพาะ มีความสามารถ

               ในการใช้ภาษาเพื่อแก้ปัญหาให้กับตนเองได้
                           2. เด็กจะเกิดพฤติกรรมเลียนแบบผู้ใหญ่ (deferred imitation) เช่น เล่นขายของ เล่น
               กับตุ๊กตาซึ่งมักจะเป็นการแสดงเลียนแบบผู้ใหญ่ที่เกิดจากความทรงจํา โดยที่ตัวแบบไม่จําเป็นต้องอยู่
               ตรงหน้าขณะนั้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้สิ่งของอื่นๆแทนของจริงได้ เช่น ใช้กล่องแทนรถ ไม้บรรทัด

               แทนเครื่องบิน ปากกาแทนปืน  เป็นต้น
                           3.  เด็กวัยนี้จะมีความตั้งใจทีละอย่าง ( centration)  ดังนั้นจึงทําให้เกิดความคลาดเคลื่อนจาก
               ความเป็นจริงได้ เช่น เพียเจย์ให้เด็กอายุ 5 ปีดูลูกปัดไม้ 1 กล่อง ซึ่งประกอบด้วยลูกปัดไม้สีขาว 20 ลูก
               สีน้ําตาล 7 ลูก แล้วถามว่าลูกปัดไม้กล่องมีสีอะไรมากที่สุด เด็กตอบถูกว่าสีขาว และเมื่อถามต่อไปว่า ระหว่าง

               ลูกปัดไม้สีขาวกับลูกปัดทั้งหมด อะไรมีจํานวนมากกว่ากัน เด็กกับตอบว่าสีขาวมากกว่า แทนที่จะตอบว่าเป็น
               ลูกปัดไม้ทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากเด็กยังไม่เข้าใจว่าลูกปัดไม้สีขาวเป้นส่วนหนึ่งของลูกปัดไม้ทั้งหมด  เป้นต้น
                           4.  เด็กวัยนี้จะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (ego centrism) ดังนั้นเด็กจะไม่เข้าใจถึงความคิดหรือ

               รู้สึกของผู้อื่น จะยึดตาความคิด ความรู้สึกและความต้องการของตนเท่านั้น เช่น ถ้าเราเห็นเด็กสองคนคุยกัน
               อยู่เราอาจเข้าใจว่าเขากําลังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอยู่ แต่แท้จริงแล้วเขากําลังต่างคนต่างคุยเรื่องของ
               ตัวเองเท่านั้น  ความจริงของเด็กวัยนี้คือสิ่งที่เขาได้มีโอกาสรับรู้เท่านั้น
                           5.  เด็กวัยนี้ยังไม่สามารถแก้ปัญหาการเรียงลําดับได้ (seriation)เช่นไม่สามารถเรียงลําดับตัวเลข
               จากน้อยไปหามากหรือจากมากไปหาน้อย ไม่สามารถเปรียบเทียบความสั้นยาวของวัตถุได้  นอกจากนี้เด็กยัง

               ไม่เข้าใจการคิดย้อนกลับไปมา (reversibility)ได้ เช่น 1+2+=2 แล้ว2-1=1ได้เช่นกัน
                           6.  เด็กวัยนี้ยังไม่เข้าใจเรื่องเกี่ยวกับคนสภาพปริมาณของสสาร (conservation)เนื่องจากเด็กใน
               วัยนี้จะให้เหตุผลว่าเหตุผลจากรูปร่าง(status)เท่านั้นไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงเป็นรูปอื่น(transformation)

                           จากการทดสอบของเพียเจต์ซึ่งแสดงให้เห็นถึงข้อสรุปดังกล่าวนี้คือเพียเจต์ได้ใช้แก้วน้ําที่มีขนาด
               และความสูงเท่ากันทั้งสองใบใส่น้ําให้มีระดับพอดีกันจากในรูป3.7(ก)เมื่อถามเด็กว่าน้ําทั้งสองแก้วนี้เท่ากัน
               หรือไม่เด็กตอบว่าเท่ากัน  จากนั้นจึงนําน้ํา(B)ไปใส่ในแก้ว(C)ซึ่งมีรูปทรงแตกต่างกันไปจากแก้วทั้งสองใบคือสูง
               และเล็กกว่า ดังรูป(ข)จึงทําให้น้ําในแก้ว(C)มีปริมาณมากกว่าแก้ว(A)ดังรูป(ค)เมื่อถามเด็กว่าน้ําในแก้ว(A)และ

               (C)เท่ากันหรือไม่ เด็กตอบว่าไม่เท่ากัน น้ําในแก้ว(C)มากกว่าแก้ว(A)จากการทดสอบในครั้งนี้ทําให้เห็นได้ว่าเด็ก
               ยังไม่สามารถเข้าใจเหตุผลของหลักการคงสภาพของสสารที่มีปริมาณเท่ากัน ถึงแม้เปลี่ยนรูปทรงของภาชนะที่
               รองรับเป็นรูปทรงใดก็ตาม ปริมาณของสสารก็จะคงที่อยู่เสมอแต่เด็กจะตัดสินจากสิ่งที่ตัวเองเห็นเท่านั้น
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18