Page 17 - Psychology
P. 17

หน้ า  | 14

               ขั้นที่ 1 ความคาดหวังและการยอมรับในสังคม สําหรับ “เด็กดี”   (Interpersonal  Concordance of
               “Good boy , nice girl” Orientation) บุคคลจะใช้หลักทําตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ  ใช้เหตุผลเลือกทําในสิ่งที่

               กลุ่มยอมรับโดยเฉพาะเพื่อน เพื่อเป็นที่ชื่นชอบและยอมรับของเพื่อน  ไม่เป็นตัวของตัวเอง  คล้อยตามการชัก
               จูงของผู้อื่น  เพื่อต้องการรักษาสัมพันธภาพที่ดี  พบในวัยรุ่นอายุ 10 -15 ปี
                           โคลเบิร์ก อธิบายว่า  พัฒนาการทางจริยธรรมขั้นนี้เป็นพฤติกรรมของ “คนดี” ตามมาตรฐานหรือ
               ความคาดหวังของบิดา มารดาหรือเพื่อนวัยเดียวกัน พฤติกรรม “ดี” หมายถึง  พฤติกรรมที่จะทําให้ผู้อื่นชอบ

               และยอมรับ  หรือไม่ประพฤติผิดเพราะเกรงว่าพ่อแม่จะเสียใจ

               ขั้นที่ 2 กฎและระเบียบ (“Law-and-order” Orientation)  พบในอายุ 13 -16 ปี ขั้นนี้แสดงพฤติกรรม
               เพื่อทําตามหน้าที่ของสังคม  โดยบุคคลรู้ถึงบทบาทและหน้าที่ของเขาในฐานะเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมนั้น
               จึงมีหน้าที่ทําตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่สังคมกําหนดให้ หรือคาดหมายไว้


                      โคลเบิร์ก อธิบายว่า  เหตุผลทางจริยธรรมในขั้นนี้ ถือว่าสังคมจะอยู่ด้วยความมีระเบียบเรียบร้อยต้อง
               มีกฎหมายและข้อบังคับ  คนดีหรือคนที่มีพฤติกรรมถูกต้องคือ  คนที่ปฏิบัติตามระเบียบบังคับหรือกฎหมาย
               ทุกคนควรเคารพกฎหมาย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและความเป็นระเบียบของสังคม


               ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมตามหลักการด้วยวิจารณญาณหรือระดับเหนือกฎเกณฑ์สังคม (Post-Conventional
               Level)
                      เป็นหลักจริยธรรมของผู้มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป  ผู้ทําหรือผู้แสดงพฤติกรรมจะตีความหมายของหลักการ

               และมาตรฐานทางจริยธรรมด้วยวิจารณญาณ  ก่อนที่จะยึดถือเป็นหลักของความประพฤติที่จะปฏิบัติตาม
               การตัดสินใจ   “ถูก”  “ผิด” “ไม่ควร” มาจากวิจารณญาณของตนเอง  ปราศจากอิทธิพลของผู้มีอํานาจหรือ
               กลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก กฎเกณฑ์ – กฎหมาย  ควรจะตั้งบนหลักความยุติธรรม  และเป็นที่ยอมรับของสมาชิก
               ของสังคมที่ตนเป็นสมาชิก  ทําให้บุคคลตัดสินข้อขัดแย้งของตนเองโดยใช้ความคิดไตร่ตรองอาศัยค่านิยมที่ตน
               เชื่อและยึดถือเป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจ  จะปฏิบัติตามสิ่งที่สําคัญมากกว่าโดยมีกฎเกณฑ์ของตนเอง

               ซึ่งพัฒนามาจากกฎเกณฑ์ของสังคม  เป็นจริยธรรมที่เป็นที่ยอมรับทั่วไป  โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการทาง
               จริยธรรม ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
               ขั้นที่ 1  สัญญาสังคมหรือหลักการทําตามคํามั่นสัญญา (Social Contract Orientation)

                        ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อทําตามมาตรฐานของสังคม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วน
               ตน โดยบุคคลเห็นความสําคัญของคนหมู่มากจึงไม่ทําตนให้ขัดต่อสิทธิอันพึงมีได้ของผู้อื่น  สามารถควบคุม
               บังคับใจตนเองได้  พฤติกรรมที่ถูกต้องจะต้องเป็นไปตามค่านิยมส่วนตัว  ผสมผสานกับมาตรฐานซึ่งได้รับ
               การตรวจสอบและยอมรับจากสังคม


               โคลเบิร์ก อธิบายว่า  ขั้นนี้เน้นถึงความสําคัญของมาตรฐานทางจริยธรรมที่ทุกคนหรือคนส่วนใหญ่ในสังคม
               ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกสมควรที่จะปฏิบัติตาม  โดยพิจารณาถึงประโยชน์และสิทธิของบุคคลก่อนที่จะใช้เป็น
               มาตรฐานทางจริยธรรม  ได้ใช้ความคิดและเหตุผลเปรียบเทียบว่าสิ่งไหนผิดและสิ่งไหนถูก ในขั้นนี้การ “ถูก”
               และ  “ผิด” ขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคิดเห็นของบุคคลแต่ละบุคคล  แม้ว่าจะเห็นความสําคัญของสัญญา

               หรือข้อตกลงระหว่างบุคคล  แต่เปิดให้มีการแก้ไข  โดยคํานึงถึงประโยชน์และสถานการณ์แวดล้อมในขณะนั้น
               ขั้นที่ 2 หลักการคุณธรรมสากล  (Universal Ethical Principle Orientation) เป็นขั้นที่เลือกตัดสินใจ
               ที่จะกระทําโดยยอมรับความคิดที่เป็นสากลของผู้เจริญแล้ว  ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อทําตามหลักการคุณธรรม
               สากล โดยคํานึงความถูกต้องยุติธรรมยอมรับในคุณค่าของความเป็นมนุษย์  มีอุดมคติและคุณธรรมประจําใจ
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22