Page 21 - Psychology
P. 21

หน้ า  | 18

                              ที่กล่าวมาทั้งหมดแล้วจะเห็นได้ว่า การที่บุคคลแสดงบุคลิกภาพในรูปแบบใดออกมานั้น
               ย่อมขึ้นอยู่กับความขัดแย้งกันระหว่างพลังทางจิตทั้งสามส่วนนี้ว่าพลังงานทางจิตส่วนใดจะมีอํานาจเหนือกว่า

               บุคคลก็จะแสดงบุคลิกภาพออกมาตามอิทธิพลของพลังงานทางจิตฝ่ายที่มีอํานาจนั้น แต่ถ้าเมื่อใดที่พลังงาน
               ระหว่างอิดกับซูเปอร์อีโก้มีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงมากเกินไป บางครั้งอีโก้จะหาทางประนีประนอมเพื่อลด
               ความขัดแย้งนั้นให้น้อยลง  โดยใช้วิธีการปรับตัวที่เรียกว่ากลวิธานในการป้องกันตัวเอง (defense
               mechanisms) ถ้าทําสําเร็จจะช่วยให้บุคคลนั้นสามารถผ่อนคลายความขัดแย้งไปได้ แต่ถ้าใช้ไม่สําเร็จอาจมีผล

               ทําให้บุคคลนั้นกลายเป็นโรคจิตและโรคประสาทได้ในที่สุด
                           2) การพัฒนาบุคลิกภาพตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ นอกจากทฤษฎีโครงสร้างบุคลิกภาพของ
               ฟรอยด์ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ฟรอยด์ยังได้อธิบาบเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลไว้ว่า
               บุคลิกภาพของบุคคลต้องอาศัยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นลําดับขั้นจนกลายเป็นบุคลิกภาพที่ถาวรในที่สุด

               โดยเฉพาะช่วงเวลาสําคัญของการพัฒนาบุคลิกภาพนั้นจะอยู่ในระยะแรกเกิดถึง 5 ปี ซึ่งฟรอยด์เรียกระยะนี้ว่า
               ระยะวิกฤต (crisis period)
                           ฟรอยด์กล่าวว่า เด็กทุกคนเกิดขึ้นมาพร้อมกับความต้องการในการที่จะแสวงหาความสุขและ
               ความพึงพอใจ (pleasure principle) ให้กับตนเอง โดยผ่านอวัยวะของร่างกายที่ไวต่อความรู้สึกใน

               การตอบสนองความสุขหรือเรียกอีกอย่างว่าอีโรจีเนียสโซน(erogenous zone) ซึ่งอวัยวะที่ไวต่อความรู้สึกใน
               การตอบสนองความสุขนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงอายุ ซึ่งฟรอยด์ได้แบ่งพัมนาการทางบุคลิกภาพออกเป็น
               5 ระยะตามการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
























                 รูปที่ 10 แสดงให้เห็นพัฒนาการในระยะปากและระยะทวารตามทฤษฎีของฟรอยด์ (ที่มา : Rubin; 1981)

                           ก. ระยะปาก (oral stage)ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 2 ปี เป็นระยะที่ปากจะเป็นอวัยวะที่ไวต่อ
               ความรู้สึกต่อการตอบสนองความสุข เด็กวัยนี้จึงแสวงหาความสุขความพึงพอใจให้กับตนโดยใช้ปากทํากิจกรรม

               ต่างๆ เช่น การดูดนม แทะของเล่น ดูดมือ เป็นต้น ระยะนี้ฟรอยด์เชื่อว่าถ้าเด็กคนใดได้รับการตอบสนอง
               พัฒนาการระยะปากตามความเหมาะสม บุคลิกภาพจะเป็นปกติ แต่ในทางตรงข้าม ถ้าเด็กถูกขัดขวาง
               การแสวงหาความสุขโดยการใช้ปาก เช่น ต้องร้องอยู่นานกว่าจะได้ดูดนม ถูกบังคับให้หย่านมเร็วเกินไป ได้ดูด
               นมไม่เพียงพอ ถูกลงโทษเมื่อเอาของเข้าปาก จะทําให้พัฒนาการระยะนี้ขาดความสมบูรณ์ไป เด็กจะเกิด

               การติดชะงักกับระยะปาก (oral fixation) ทําให้เด็กจะมาแสดงบุคลิกภาพชดเชยระยะปากที่ไม่สมบูรณ์ในช่วง
               วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ ด้วยการใช้ปากในการแสวงหาความสุขให้กับตนเองหรือเพื่อผ่อนคลายความเครียด จึงมี
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26