Page 23 - Psychology
P. 23

หน้ า  | 20

                       1.2 ทฤษฎีจิตวิทยาวิเคราะห์ (Analytical Psychology Theory) ผู้ก่อตั้งทฤษฎีนี้ ได้แก่
               คาร์ล จี. จุง (Carl F. Jung : 1875-1961) นักจิตวิทยาชาวสวิตเซอร์แลนด์ เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคน

               หนึ่งของนักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ แต่ภายหลังเขามีความคิดเห็นคัดค้านแนวคิดทฤษฎีของฟรอยด์ใน
               บางเรื่อง จึงแยกตัวมาตั้งกลุ่มใหม่โดยเรียกชื่อกลุ่มของตนเองว่าจิตวิทยาวิเคราะห์ (analytical psychology)
               และได้เผยแพร่ทฤษฎีของเขาจนได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั้งในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา และมี
               ชื่อเรียกกันติดปากว่าจิตวิเคราะห์ของจุง(Jung’s psychoanalysis) จุงได้เสนอผลงานของตนในรูปของ

               บทความ หนังสือตําราทางวิชาการ รวมทั้งการแสดงปาฐกถาในมหาวิทยาลัยต่างๆ และมีการแปลผลงาน
               เหล่านั้นเป็นภาษาต่างๆ มากมายหลายภาษา จนมหาวิทยาลัยชั้นนําหลายแห่งทั้งในทวีปยุโรป สหรัฐอเมริกา
               และเอเชีย ได้มอบปริญญากิตติมศักดิ์เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติแก่จุง นอกจากนี้เขายังได้รับรางวัลเกียรติยศอื่น
               ๆ อีกมากมาย ผลงานที่สําคัญอีกประการหนึ่งคือเป็นผู้ก่อตั้งองค์การจิตวิเคราะห์สากล (International

               Psychoanalytic Association) และได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานคนแรกในปี ค.ศ. 1941 จุดเด่นใน
               ผลงานการศึกษาทางจิตวิทยาของจุงอยู่ที่การรวบรวมความรู้ ความคิด และวัฒนธรรมจากภูมิภาคต่าง ๆ
               ทั่วโลก ทั้งซีกโลกตะวันออก และซีกโลกตะวันตกมาผสมผสานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน จนทําให้ทฤษฎีของเขา
               สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นของมนุษย์ได้อย่างกว้างขวางไม่มีขีดจํากัด  โดยส่วนตัวแล้วคาร์ล จี. จุง

               เป็นคนใจดี ร่าเริง แจ่มใส เป็นกันเองกับทุกคน และมีบุคลิกที่น่าประทับใจต่อผู้พบเห็น แต่ที่น่าสนใจคือเขา
               เป็นคนที่มีความศรัทธาและเชื่อมั่นในศาสนาเป็นอย่างมาก และจากผลงานทั้งหลายที่จุงได้สร้างสรรค์และ
               ทุ่มเทให้กับวงการจิตวิทยารวมทั้งวงการศึกษาจนตลอดชีวิตของเขา จึงทําให้คาร์ล จี. จุง ได้รับการยกย่องให้

               เป็นนักจิตวิทยาผู้ยิ่งใหญ่ระดับชั้นแนวหน้าคนหนึ่งของโลก
                       แนวความคิดทฤษฎีบุคลิกภาพของจุงนั้นจําแนกเป็นส่วนสําคัญได้ 2 ส่วน ดังนี้
                          1)  โครงสร้างบุคลิกภาพ (Structure of Personality) บุคลิกภาพตามความหมายของจุงคือจิต
               (psyche) ซึ่งประกอบด้วยระบบต่าง ๆ เป็นส่วน ๆ มาทํางานร่วมกัน ได้แก่
                              ก.  อีโก้ (ego) จุงเชื่อว่าอีโก้เป็นศูนย์กลางแห่งบุคลิกภาพของบุคคลซึ่งอยู่ในส่วนของ

               จิตสํานึก (conscious) ซึ่งประกอบไปด้วยความจํา ความรู้สึกนึกคิด การตัดสินใจ และการมีสติ ซึ่งเป็นส่วน
               สําคัญที่บุคคลจะสามารถรับรู้เกี่ยวกับตนเองได้ตลอดเวลา จึงเท่ากับว่าอีโก้เป็นตัวกําหนดบทบาท หน้าที่ และ
               ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละบุคคล

                              ข.  จิตใต้สํานึกส่วนบุคคล (personal unconscious) ส่วนนี้จะอยู่ถัดจากอีโก้ลงไป เป็น
               ส่วนที่ประกอบไปด้วยประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เคยอยู่ในจิตสํานึกมาก่อนแต่ได้ถูกกดลงสู่จิตใต้สํานึก
               (unconscious) ด้วยกลไกทางจิต ทั้งนี้เนื่องมาจากความต้องการที่จะลืมประสบการณ์เหล่านั้น เพราะเป็น
               ความเจ็บปวด เป็นทุกข์ หรือไม่พอใจ เป็นต้น ต่อมาภายหลังภายใต้สถานการณ์ สิ่งแวดล้อม หรือได้รับสิ่งเร้าที่

               เหมาะสม  ประสบการณ์เหล่านั้นอาจจะผลักดันขึ้นมาสู่จิตสํานึกที่รับรู้ได้อีกครั้ง ประสบการณ์ต่าง ๆ ภายใน
               จิตใต้สํานึกส่วนบุคคล (personal unconscious) นี้ถ้าได้รับการรวบรวมให้เป็นกลุ่มหรือหมวดหมู่ของ
               ความรู้สึก ( constellation) ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว จุงเรียกการเกิดสภาวะเช่นนั้นว่าปม (complex)
               ดังนั้น เท่ากับว่าจิตใต้สํานึกส่วนบุคคลจึงเป็นแหล่งรวบรวมปมของบุคคลไว้มากมาย เช่น ปมเกี่ยวกับแม่

               (mother complex) เกิดจากการจัดกลุ่มหรือหมวดหมู่ของประสบการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับแม่ เช่น ความรู้สึก
               ความจําต่างๆ ที่ได้รับจากแม่ เช่น ความรู้สึก ความจําต่าง ๆ ที่ได้รับจากแม่จนก่อตัวขึ้นเป็นปม เมื่อพลังจาก
               ปมนี้มีมากจะกลายเป็นจุดศูนย์กลางในการควบคุมบุคลิกภาพของบุคคลนั้นให้ทําตามสิ่งที่แม่พูด แม่สั่ง แม่คิด
               หรือสิ่งที่เป็นความประสงค์ของแม่ แม้กระทั่งการเลือกภรรยาก็จะเลือกบุคคลซึ่งลักษณะคล้ายคลึงกับแม่ของตน
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28