Page 27 - Psychology
P. 27

หน้ า  | 24

                         จะเห็นได้ว่าแนวทฤษฎีบุคลิกภาพและการพัฒนาบุคลิกภาพของกลุ่มเคลื่อนไหวทางจิต เช่น
               ทฤษฎีของฟรอยด์ ทฤษฎีของจุง  และทฤษฎีของแอดเดอร์นั้น  จะเชื่อว่าปัจจัยพื้นฐานสําคัญในการสร้าง

               บุคลิกภาพของบุคคลนั้นเกิดจากความขัดแย้งของพลังทางจิตภายในตัวบุคคล และการพยายามรักษา
               ความสมดุลของพลังทั้งสามเหล่านั้นไว้  นักจิตวิทยาทั้งสามท่านยังเห็นตรงกันว่า การพัฒนาบุคลิกภาพของ
               บุคคลนั้นจะมีความต่อเนื่องกัน  โดยเฉพาะในวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ปี ซึ่งจะถือว่าเป็นวัยสําคัญแห่ง
               การเริ่มต้นในการพัฒนาบุคลิกภาพเพียงแต่แอดเลอร์ได้ให้ความสําคัญเพิ่มเติมในส่วนของประสบการณ์ที่ได้รับ

               จากการแสดงความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในสังคมว่าเป็นปัจจัยที่มีความสําคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันด้วย
                       1.4  ทฤษฏีพัฒนาการบุคลิกภาพของอีริคสัน (Erikson’s Theory of development) อีริคสัน
               เอช อีริคสัน(Erikson H. Erikson) มีความคิดเป็นว่าพัฒนาการทางบุคลิกภาพเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในทุกช่วงของ
               ชีวิต มิใช่สําคัญเฉพาะพฤติกรรมในช่วงแรกของชีวิตที่อยู่ใน Critical Period เท่านั้น ซึ่งพัฒนาการของมนุษย์

               มิได้เป็นไปเพื่อสนองความสุขความพึงพอใจทางด้านสรีระเท่านั้น แต่ยังจะต้องขึ้นอยู่กับสภาพทางจิต – สังคม
               ซึ่งหมายถึงลักษณะการอบรม เลี้ยงดู สัมพันธภาพระหว่าง พ่อ – แม่ ตลอดจนอิทธิพลของวัฒนธรรมในสังคม
               นั้นๆ ซึ่งเด็กจะแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม (Self – Concept) และความรู้สึก
               นี้เป็นสิ่งสําคัญในการพัฒนาทางบุคลิกภาพ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่ติดต่อสืบเนื่องกันไปตลอดชีวิต

                      ในแต่ละขั้นตอนของพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่อีริคสันเสนอไว้มีโอกาสที่จะพัฒนาไปได้ไม่ทางบวก
               ก็ทางลบ ซึ่งมี 8 ขั้นตอนด้วยกัน อีริคสันมีความเห็นว่าพัฒนาการทางบุคลิกภาพเกิดขึ้นได้เนื่องจากคนมี
               การติดต่อสัมพันธ์กับสังคม ดังนั้นจึงเน้นที่สัมพันธ์ภาพระหว่างบุคคลและสังคมในแต่ละขั้นของการพัฒนาจะมี

               “ช่วงวิกฤต” (Critical Period) สําหรับที่จะพัฒนาเรื่องนั้น ๆ ซึ่ง อีริคสันหมายถึงผู้ที่มีบุคลิกภาพจิตดี ซึ่งจะ
               เป็นลักษณะของคนที่สามารถเผชิญปัญหาหรือแก้ปัญหาทั้งปัญหาที่เกิดจากภายในตนเองและปัญหาจาก
               ภายนอก ด้วยการที่สามารถจัดระบบระเบียบความคิดและสามารถตัดสินใจได้
                      ในทางตรงกันข้ามถ้าในช่วงชีวิตใด พัฒนาการเป็นไปในทางลบมากกว่า เด็กผู้นั้นจะมีพัฒนาการทาง
               บุคลิกภาพไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะนําไปสู่การเป็นผู้ที่มีปัญหาในการปรับตัว นอกจากนั้นยังอธิบายว่า ถ้าพัฒนาการ

               ของ ego ในตอนแรกเป็นไปด้วยดีก็จะไปช่วยพัฒนา ego ในขั้นที่ 2 ต่อไป แต่ถ้าพัฒนาการในขั้นแรกไม่ดี
               ขั้นที่ 2 อาจจะพัฒนาไปในทางดีได้ ถ้าได้รับประสบการณ์ที่เหมาะสมในช่วงนั้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามอีริคสัน
               ชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลที่แต่ละขั้นมีต่อกันโดยที่พัฒนาการในขั้นหลังจะได้รับอิทธิพลจากขั้นก่อนนั้น

                       จากทฤษฎีบุคลิกภาพทั้ง 10 ทฤษฎี นั้นจะนําไปใช้ในการประยุกต์ในการทํางาน เพื่อนําไปสู่
               การพัฒนาตนเอง พัฒนาพนักงาน พัฒนาองค์การ ซึ่งแต่ละทฤษฎีก็สามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้ต่าง ๆ กัน
               แล้วแต่มุมมองการเลือกนําไปใช้


               2. ทฤษฎีบุคลิกภาพกลุ่มมนุษยนิยม (Humanistic Theories)
                       ทฤษฎีบุคลิกภาพกลุ่มนี้ประกอบด้วย 2 ทฤษฎี ดังนี้
                       2.1 ทฤษฎีตัวตน (Self Theory)ผู้ก่อตั้งทฤษฎีนี้ ได้แก่ คาร์ล โรเจอร์ (Carl Rogers; 1902)
               นักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยมชาวอเมริกัน ที่มีชื่อเสียงโด่งดังจนได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งการให้คําปรึกษา

               แบบไม่นําทาง (non-directive)
                       โรเจอร์มีความเชื่อมั่นในตัวมนุษย์อย่างมากกว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับการมองเห็นคุณค่าในตนเอง
               มีเหตุผลเป็นของตัวเอง สามารถตัดสินใจด้วยตัวเองได้ เชื่อถือ ไว้วางใจได้ และมีความต้องการพัฒนาตนเองให้
               สูงสุดในทุก ๆด้านเท่าที่จะทําได้ ซึ่งรวมไปถึงการพัฒนาด้านบุคลิกภาพของตนด้วย
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32