Page 31 - Psychology
P. 31
หน้ า | 28
3) ประเภทผอมสูง (ectomorphy) มีบุคลิกภาพไหลห่อ เคร่งขรึม จริงจัง ไวต่อความรู้สึก
ไม่ค่อยชอบเข้าสังคม
อ้วนเตี้ย สมส่วน ผอมสูง
รูปที่ 12 แสดงลักษณะบุคลิกภาพจากโครงสร้างของร่างกายตามทฤษฎีของเชลดอน
3.2 ทฤษฎีของเคริตชเมอร์ (Kretschmer Theory) ทฤษฎีนี้เป็นแนวคิดของเออร์เนสต์ เคริตช
เมอร์ (Ernest Kretschmer) จิตแพทย์ชาวเยอรมัน ซึ่งมีลักษณะการแบ่งบุคลิกภาพคล้ายคลึงกับของเชลดอน
พบว่าคนที่มีลักษณะโครงสร้างทางร่างกายทั้ง 4 ประเภท มีบุคลิกภาพแตกต่างกัน ดังนี้
1) ประเภทอ้วนเตี้ย พุงพลุ้ย (pyknic type) มีบุคลิกภาพแบบเปิดเผย แสดงตัว ร่าเริง
สนุกสนาน เสียงดัง
2) ประเภทสมส่วน (atheletic type) บุคลิกภาพมีเสน่ห์ กล้าได้กล้าเสีย ชอบออกกําลังกาย
รักการต่อสู้
3) ประเภทผอมสูง (asthenic type) บุคลิกภาพเก็บตัว เคร่งขรึม วิตกกังวลง่าย กระตือรือร้น
4) ประเภทผิดส่วนไม่สมประกอบ (dysphastic type) มีบุคลิกภาพทางกายผิดปกติ กล่าวคือ
ตัวใหญ่เกินไป เตี้ยเกินไป ไม่ได้ส่วน มักจะมีปมด้อย เจ้าอารมณ์ ขาดความเชื่อมั่น เจ้าคิดเจ้าแค้น หวาดระแวง
เป็นต้น
แคทเทล (Cattel) กล่าวว่า แต่ละบุคคลจะสามารถอธิบายได้ตามคุณลักษณะ ของบุคคลเช่น มีความ
เป็นมิตร ติดต่อสัมพันธ์กัน ชอบเข้าสังคม แจกแจงจากลักษณะนิสัยซ่อนเร้น (Source traits) ซึ่งพฤติกรรมต้น
จะมีอยู่ 16 แบบ และมีลักษณะค้านกันเป็นคู่ เช่น พึ่งตนเองตรงข้ามกับพึ่งพวกพ้อง หรือใฝ่อิทธิพลกับคล้อย
ตาม เรียกลักษณะเหล่านี้ว่า นิสัยทั้ง 16 ของบุคลิกภาพ
แฮนส์ ไอเซงค์ (Hans Esenck) ได้มีการพัฒนาทฤษฏีที่จะอธิบายว่าทําไมแต่ละบุคคลจึงมี
ความแตกต่างกันในทางบุคลิกภาพและพฤติกรรม คุณลักษณะบุคลิกภาพที่สําคัญ มี 4 คุณลักษณะ คือ
พฤติกรรมปกปิด(Introversion) พฤติกรรมเปิดเผย(Extroversion) และพฤติกรรมที่มั่นคง(Stability) แนวโน้ม
โรคประสาท(Neuroticism) ต่างก็มีจุดเริ่มต้นมาจากทางด้านชีววิทยา ขึ้นอยู่กับจํานวนกิจกรรมในระบบ
ประสาทของแต่ละบุคคล กิจกรรมนี้จะจูงใจให้แต่ละบุคคลมีการพัฒนาไปในแนวทางที่แน่นอน ขั้นสุดท้าย
บุคลิกภาพจะได้มาจากระบบประสาทของแต่ละบุคคลที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และจาก
ประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลได้รับมาแล้ว