Page 35 - Psychology
P. 35
หน้ า | 32
วอลเตอร์ มิสเชล (Walter Mischel) มีความเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นรางวัลที่บุคคลเคยได้รับและ
เป็นประสบการณ์ในสภาพการณ์ที่เหมือนกัน เป็นความสามารถในการตอบสนองต่อสภาพการณ์ ความเข้าใจที่
เป็นลักษณะเฉพาะต่อสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น การให้คุณค่าความสําคัญต่อสิ่งเร้าโดยเฉพาะ เช่น เงิน หรือการเข้า
กับบุคคลอื่นได้ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ได้กําหนดไว้ ย่อมขึ้นอยู่กับบุคคลที่อยู่รอบตัวเขา และความสําคัญ
ในการพยากรณ์บุคลิกภาพอีกด้วย นักทฤษฎีลัทธิ พฤติกรรมเน้นบทบาทความคิดของแค่ละบุคคล ความรู้สึก
และการคาดหวังในบุคลิกภาพ เรียกว่าทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
การศึกษาบุคลิกภาพโดยใช้วิธีการเรียนรู้ทางสังคม เน้นตัวบุคคล สิ่งแวดล้อมและ พฤติกรรมล้วนแต่
เป็นส่วนประกอบที่มีความสําคัญ ถึงแม้ว่าพฤติกรรมจะเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้การ ตัดสินโดยอาศัยสภาพการณ์ที่มี
ตัวบุคคลอยู่ในสภาพการณ์นั้น กระบวนการความเข้าใจ ประสบการณ์ที่เคยผ่านมาแล้วและบุคคลอื่นจะช่วย
ทําให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และมีส่วนช่วยทําให้แต่ละบุคคลเกิดแนวทางปรับปรุงพฤติกรรมตาม
สภาพการณ์นั้น นักทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเป็นจํานวนมากเห็นว่าพฤติกรรมคือ การมีปฏิสัมพันธ์อย่าง
ต่อเนื่อง ระหว่างคุณลักษณะเฉพาะบุคคลของแต่ละบุคคลและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว
แอลเบิร์ท แบนดูร่า (Albert Bandura) นักทฤษฏีการเรียนรู้ทางสังคมที่มีชื่อเสียง ชี้ให้เห็นว่า
กระบวนการความเข้าใจเป็นศูนย์กลางของการกระทําทั้งหลาย แบนดูร่ามีความเชื่อว่า มนุษย์มีศักยภาพใน
การใช้สัญลักษณ์เป็นกระบวนการ และสามารถเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นแก่ ตนเองให้เป็นการนําไปสู่
การกระทําในอนาคต บุคคลมีความสามารถสร้างสรรค์วิทยาการใหม่ด้วยการลงมือกระทํา โดยการรู้จักใช้
ความรู้และพลังอํานาจในการรู้จักใช้สัญลักษณ์พฤติกรรมของบุคคล มิใช่อาศัยเพียงแต่ประสบการณ์ที่เคยผ่าน
มาแล้วและมิใช้ปฏิกิริยาตอบสนองในทันทีทันใดต่อ สิ่ง แวดล้อม แต่เป็นการควบคุมโดยความคิดที่มองเห็น
การณ์ไกล นั้นก็คือ อนาคตที่วางแผนไว้ ล่วงหน้าหรือกําหนดลําดับขั้นของการกระทําไว้เป็นการล่วงหน้า
ส่วนมากพฤติกรรมของแต่ ละบุคคลถูกจูงใจและควบคุมโดยมาตรฐานภายในตัวบุคคล การประเมินผล
ปรับความคิดและ พฤติกรรมได้ รูปแบบของความคิดที่มีผลต่อการกระทําทั้งหลาย แบนดูร่ามีความเชื่อว่า
บุคคลมีการตัดสินใจโดยการใช้ความสามารถของตนที่จะจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อสภาพการณ์ที่
ต่างกัน นั้นก็คือศูนย์กลางที่เรียกว่า ประสิทธิภาพของตนเอง
อิทธิพลที่เกิดจากประสิทธิภาพการทํางานของบุคคล เป็นสิ่งที่ทําให้บุคคลเกิดการกระทําโดยใช้
ความอุตสาหะในกิจกรรมแต่ละอย่าง และถ้าเป็นงานที่บุคคลนั้นมีความกระตือรือร้นหรือมีความศรัทธา บุคคล
นั้นก็สามารถเลือกระดับประสิทธิภาพการทํางานของเขาได้ การรู้จักสังเกตตัวอย่างบุคคลอื่นที่มีความสําเร็จใน
การทํางาน เป็นสิ่งจูงใจให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางฐานะความเป็นอยู่ในการดํารงชีพของ
ตนเองได้ดีขึ้น
แบนดูร่ามีความเห็นว่า การกระทําทั้งหลายของบุคคลเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรม ความเข้าใจปัจจัยส่วน
บุคคลและอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม การกระทําของแต่ละบุคคลจะมีพลังแตกต่างกันโดยจะแปรตามสภาพการณ์
เงื่อนไขของสิ่งแวดล้อมในขณะใดขณะหนึ่งซึ่งจะมีพลังอิทธิพลต่อ พฤติกรรม เช่น เมื่อคนกระโจนลงในน้ําลึก
ทุกคนจะพยายามว่ายน้ําขึ้นมา การเรียนรู้โดยใช้การสังเกตจากบุคคลอื่น เป็นสิ่งสําคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพ
แบนดูร่า กล่าวว่า บุคคลรู้จักสังเกต พฤติกรรมของบุคคลอื่น และรู้จักดูว่าหลังจากการแสดงพฤติกรรมนั้นแล้ว
ผลที่ตามมาจะได้รับรางวัลหรือการลงโทษ ถึงแม้ว่าพฤติกรรมจะถูกควบคุมโดยลําดับขั้นต่างๆ แตะยังมีผลต่อ
ความ เข้าใจและการประเมินสภาพการณ์ของบุคคล