Page 39 - Psychology
P. 39
หน้ า | 36
2. อัตราการตอบสนองและการเสริมแรง
สกินเนอร์เชื่อว่าโดยปกติการพิจารณาว่าใครเกิดการเรียนรู้หรือไม่เพียงใดนั้นจะสรุปเอาจาก
การเปลี่ยนแปลงการตอบสนอง (หรือพูดกลับกันได้ว่าการที่อัตราการตอบสนองได้เปลี่ยนไปนั้นแสดงว่าเกิด
การเรียนรู้ขึ้นแล้ว) และการเปลี่ยนแปลงอัตราการตอบสนองจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการเสริมแรง
(Reinforcement) นั้นเอง สิ่งเร้านี้สามารถทําให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนแปลง เราเรียกว่าตัวเสริมแรง
(Reinforcer) สิ่งเร้าใดที่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการตอบสนองเราเรียกว่าไม่ใช่ตัวเสริมแรง
(Nonreinforcer)
3. ประเภทของตัวเสริมแรง
ตัวเสริมแรงนั้นอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ อาจแบ่งเป็นตัวเสริมแรงบวกกับตัวเสริมแรงลบ
หรืออาจแบ่งได้เป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิกับตัวเสริมแรงทุติยภูมิ
3.1 ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcer) หมายถึง สิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อ
ได้รับหรือนําเข้ามาในสถานการณ์นั้นแล้วจะมีผลให้เกิดความพึงพอใจ และทําให้อัตราการตอบสนอง
เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะเข้มข้นขึ้น เช่น อาหาร คําชมเชย ฯลฯ
3.2 ตัวเสริมแรงลบ (Negative Reinforcer) หมายถึง สิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อตัด
ออกไปจากสถานการณ์นั้นแล้ว จะมีผลให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนไปในลักษณะเข้มข้นขึ้น เช่น เสียง
ดัง แสงสว่างจ้า คําตําหนิ ร้อนหรือเย็นเกินไป ฯลฯ
การลงโทษ (Punishment)
การลงโทษ (Punishment) คือ การทําให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของพฤติกรรมลดลง
การลงโทษมี 2 ทางได้แก่
1. การลงโทษทางบวก (Positive Punishment)
2. การลงโทษทางลบ (Negative Punishment)
ตารางเปรียบเทียบการเสริมแรงและการลงโทษ ได้ดังนี้
ชนิด ผล ตัวอย่าง
การเสริมแรงทางบวก พฤติกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้า ผู้เรียนที่ทําการบ้านส่งตรงเวลาแล้ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นสิ่งเร้าที่ ได้รับคําชม จะทําการบ้านส่งตรงเวลา
บุคคลนั้นต้องการ สม่ําเสมอ
การเสริมแรงทางลบ พฤติกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อสิ่งเร้าที่ไม่เป็น ผู้เรียนที่ทํารายงานส่งตามกําหนด
ที่พึงปรารถนาถูกทําให้ลดน้อยหรือ เวลาจะไม่เกิดความวิตกอีกต่อไป
หมดไป ดังนั้นในครั้งต่อไปเขาก็จะรีบทํา
รายงานให้เสร็จตรงตามเวลา
การลงโทษ 1 พฤติกรรมลดลงเมื่อมีสิ่งเร้า เมื่อถูกเพื่อน ๆ ว่า "โง่" เพราะตั้ง
โดยเฉพาะสิ่งที่เขาไม่พึงปรารถนา คําถามถามผู้สอน ผู้เรียนคนนั้น
เกิดขึ้น เลิกตั้งคําถามในชั้นเรียน
การลงโทษ 2 พฤติกรรมลดน้อยลง เมื่อนําสิ่งเร้าที่ ผู้เรียนที่ถูกหักคะแนนเพราะตอบ
เขาพึงปรารถนาออกไป ข้อสอบในลักษณะที่แตกต่างจาก
ครูสอน ในครั้งต่อไปเขาจะไม่
ตอบคําถามในลักษณะนั้นอีก