Page 43 - Psychology
P. 43
หน้ า | 40
1.2 ตัวเสริมแรงทางสังคม ( social reinforce ) ตัวเสริมแรงทางสังคมเป็นตัวเสริมแรง
ที่ไม่ต้องลงทุนซื้อหามีอยู่กับตัวเราและค่อนข้างจะมีประสิทธิภาพสูงในการปรับพฤติกรรม แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
คือ คําพูด ได้แก่ คําชมเชย เช่น ดีมาก น่าสนใจมาก และการแสดงออกทางท่าทาง เช่น ยิ้ม จับมือ
1.3 ตัวเสริมแรงที่เป็นกิจกรรม ( activity reinforce) เป็นการใช้กิจกรรมหรือ
พฤติกรรมที่ชอบไปเสริมแรงกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่ไม่ชอบ
1.4 ตัวเสริมแรงที่เป็นเบี้ยอรรถกร (token reinforce) โดยการนําเบี้ยอรรถกรไปแลก
เป็นตัวเสริมแรงอื่นๆได้ เช่น ดาว คูปอง โบนัส เงิน คะแนน
2. การเสริมแรงทางลบ (negative reinforcement) เป็นการทําให้ความถี่ของพฤติกรรม
คงที่หรือเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเสริมแรงทางลบของผู้สอนควรปฏิบัติ คือ ทําทันทีหรือเร็วที่สุด เมื่อพฤติกรรมที่ไม่
ต้องการเกิดขึ้น ควรให้มีความรุนแรงพอเหมาะไม่มากหรือน้อยจนเกินไป ควรให้ผู้ถูกลงโทษรู้ว่าพฤติกรรมใดที่
ถูกลงโทษและเพราะเหตุใด ควรใช้เหตุผลไม่ใช้อารมณ์ ควรใช้การลงโทษควบคู่กับการเสริมแรงบวก ผู้ลงโทษ
ต้องเป็นตัวแบบที่ดีในทุกๆด้าน และการลงโทษควรเป็นวิธีสุดท้าย ถ้าไม่จําเป็นก็ไม่ควรใช้การลงโทษ
2. การกําจัดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
1. ไม่สนใจ แต่ระวัง การเรียกร้องความสนใจ
2. เสริมแรงทุกพฤติกรรมที่ไม่ใช่พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
3. เสริมแรงพฤติกรรมอื่นแทน
4. เสริมแรงพฤติกรรมที่ไม่ทําให้พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เกิด เช่น เสริมแรงพฤติกรรมนั่ง เพื่อที่
พฤติกรรมลุกจะได้ไม่เกิด (Incompatible Behavior)
3. การเรียนการสอน
1. Observable & Measurement คือ สังเกตและวัดได้ เช่น หลังเรียนคอร์สนี้จบแล้วจะสามารถ
อธิบายทฤษฎีได้
2. Conditions คือ เงื่อนไข เช่น เมื่อกําหนดแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบให้ สามารถอ่านข้อมูลและ
อภิปรายประเด็นต่างๆได้
3. Criterion คือ เกณฑ์ เช่น หลังเรียนคอร์สนี้จบแล้วจะสามารถทําข้อสอบ O-NET ได้ 80%
4. Programmed Instruction and Computer-Assisted Instruction เช่น ใช้โปรแกรมช่วย
สอนสําเร็จรูป
5. Mastery Learning คือ เรียนให้ประสบความสําเร็จไปทีละขั้น เช่น ต้องสอบบทที่ 1 ให้ผ่าน
จึงจะสอนบทต่อไป
สรุปแนวคิดที่สําคัญของ สกินเนอร์ Skinner
“สกินเนอร์” ได้กล่าวไว้ว่า “ การเสริมแรงเป็นสิ่งที่สําคัญที่ทําให้บุคลแสดงพฤติกรรมซ้ําแลพฤติกรรม
ของบุคคลส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรมแบบเรียนรู้ปฏิบัติและพยายามเน้นว่า การตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดๆของบุคคล
สิ่งเร้านั้นจะต้องมีสิ่งเสริมแรงอยู่ในตัว หากลดสิ่งเสริมแรงลงเมื่อใด การตอบสนองจะลดลงเมื่อนั้น ’’