Page 42 - Psychology
P. 42

หน้ า  | 39

                           2.1.  Verbal เป็นคําพูด เช่น การชม (ต้องชมพฤติกรรมที่แสดงออก ไม่ใช่บุคลิกภาพ)
                           2.2.  Nonverbal ภาษากาย เช่น กอด (การกอดเป็น The Best Social Reinforcers ซึ่งต้อง

               ใช้กับ Positive Behavior)
                           หมายเหตุ:    ถ้า Verbal ไม่สัมพันธ์กับ Nonverbal คนเราจะเชื่อ Nonverbal มากกว่า
                      3.  Activity Reinforcers เป็นการใช้กิจกรรมที่ชอบทําที่สุดมาเสริมแรงกิจกรรมที่อยากทําน้อย
               ที่สุด โดยต้องทําตาม Premack Principle คือ ให้ทําสิ่งที่อยากทําน้อยที่สุดก่อน แล้วจึงให้ทํากิจกรรมที่ชอบ

               ที่สุด เช่น เด็กที่ชอบกิน Chocolate แต่ไม่ชอบเล่น Pinball ก็ให้เล่น Pinball ก่อนแล้วจึงให้กิน Chocolate
               หมายเหตุ: ถ้าสิ่งใดเป็นของตาย คือจะทําหรือไม่ทําก็ได้สิ่งนั้นอยู่แล้ว สิ่งนั้นจะเป็นตัวเสริมแรงไม่ได้อีกต่อไป
                      4.  Token Economy จะเป็นตัวเสริมแรงได้เฉพาะเมื่อแลกเป็น Backup Reinforcers ได้ เช่น เงิน
               ธนบัตรก็เป็นแค่กระดาษใบหนึ่ง แต่ว่ามันใช้ชําระหนี้ได้ตามกฎหมาย ดังนั้น ถ้ามันใช้ชําระหนี้ไม่ได้ก็เป็นแค่

               กระดาษใบหนึ่ง เงินมีอิทธิพลสูงสุด
                      5.  Positive Feedback หรือการให้ข้อมูลป้อนกลับทางบวก จับเฉพาะจุดบวก มองเฉพาะส่วนที่ดี
               เช่น บอกเด็กว่า หนูทํางานส่วนนี้ได้ดีมาก แต่ส่วนที่เหลือเอากลับไปแก้นะ
                      6.  Intrinsic Reinforcers หรือตัวเสริมแรงภายใน เช่น การชื่นชมตัวเอง ไม่ต้องให้มีใครมาชม

                      ปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมแรง
                         1.  Timing การเสริมแรงต้องทําทันที เช่น แฟนตัดผมมาใหม่ต้องชมทันที ถ้าช้า จะถูกตําหนิ
                         2.  Magnitude & Appeal การเสริมแรงต้องตอบสนองความต้องการอย่างพอเหมาะ อย่ามาก

               ไปหรือน้อยไป
                         3.  Consistency การเสริมแรงต้องให้สม่ําเสมอ เพราะจะได้รู้ว่าทําแล้วต้องได้รับการเสริมแรง
               อย่างแน่นอน
                      ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทํา  สามารถสรุปได้ดังนี้
                         1.   การกระทําใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นอีก ส่วนการกระทําที่ไม่มี

               การเสริมแรงแนวโน้มที่ความถี่ของการกระทํานั้นจะลดลง และหายไปในที่สุด
                         2.   การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทําให้เกิดการตอบสนองกว่า การเสริมแรงที่ตายตัว
                         3.  การลงโทษทําให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว

                         4.  การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลเมื่อมีการแสดงพฤติกรรมที่ต้องการสามารถช่วยปรับหรือปลูกฝัง
               นิวัยที่ต้องการได้
                      การนําทฤษฎีไปประยุกต์ใช้
                      1.  ใช้ในการปลูกฝังพฤติกรรม (Shaping Behavior) หลักสําคัญของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบ

               การกระทําของสกินเนอร์ คือ เราสามารถควบคุมการตอบสนองได้ด้วยวิธีการเสริมแรง กล่าวคือ เราจะให้การ
               เสริมแรงเฉพาะเมื่อมีการตอบสนองที่ต้องการ เพื่อให้กลายเป็นนิสัยติดตัวต่อไป อาจนําไปใช้ในการปลูกฝัง
               บุคลิกภาพของบุคคลให้มีพฤติกรรมตามแบบที่ต้องการได้การแสดงพฤติกรรมสาธารณะ
                           1.  การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement)  เมื่อมีการแสดงออก ซึ่งพฤติกรรมจิต

               สาธารณะ ซึ่งอาจใช้ตัวเสริมแรงได้เป็น 4 ประเภท คือ
                              1.1  ตัวเสริมแรงที่เป็นสิ่งของ ( material reinforce )  เป็นตัวเสริมแรงที่ประกอบได้
               ด้วยอาหาร ของที่เล่นได้ และสิ่งของต่างๆ เช่น เสื้อผ้า ของเล่น รถยนต์
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47